15275 : โครงการสำรวจความพึงพอใจต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
นายชุมพลภัทร์ คงธนจารุอนันต์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/9/2563 15:34:17
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/09/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  400  คน
รายละเอียด  ประชาชนในพื้นที่เขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4) 2563 27,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย ชุมพลภัทร์  คงธนจารุอนันต์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ดร. วีร์  พวงเพิกศึก
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.3 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63ECON-3 การบริการวิชาการเพื่อชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ 63ECON 3.2 บูรณาการการมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก
ตัวชี้วัด 63ECON 3.3 จำนวนครั้งในการให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานภายนอก
กลยุทธ์ 63ECON 3.3.1 ให้บริการแก่หน่วยงานภายนอกในการวิเคราะห์ข้อมูล/ สำรวจความคิดเห็น
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น เดิมเป็นการพิจารณาจากส่วนกลาง โดยไม่ได้มีการคำนึงถึงมุมมองความแตกต่างด้านพื้นที่ ภูมิประเทศ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ซึ่งมีสภาพปัญหาที่มีปัจจัยต่างๆ ไม่เหมือนกัน และขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น แต่ปัจจุบันรัฐได้มีการกระจายอำนาจการปกครองโดยสนับสนุนส่งเสริมให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง และตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เองตามรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักร พุทธศักราช 2550 รวมทั้งได้มอบอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเอง และจัดตั้งบริการสาธารณบางประการเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ดังที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 78 และมาตรา 281 ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการดำเนินนโยบายการปกครอง การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง อย่างอิสระตามขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งเป็นไปตามหลักกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มี ส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและความต้องการของตนเองภายใต้กรอบความคิดที่ว่าไม่มีองค์กรราชการใดที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด อยู่กับปัญหาความต้องการมากที่สุด ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงนับว่าเป็นหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง จากประชาชนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการสาธารณะตามกฎหมายเพื่อประโยชน์สุขของชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีความเจริญเติบโตในทุกๆ ด้าน การปกครองในส่วนกลางจึงไม่สามารถดำเนินการได้ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ดังนั้นหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปกครองในการปกครองในระดับท้องถิ่น ซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งมีภารกิจหลักในการบริหารจัดการ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้านการจัดระเบียบชุมชนและด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น (วิทยาลัยนครราชสีมา, 2555) องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยตำบลทุ่งปี้ ตั้งขึ้นเมื่อ 70 ปีล่วงมาแล้ว และได้ขึ้นอยู่กับอำเภอแม (ที่ว่าการตั้งอยู่ที่บ้านเปียง) จนกระทั่งวันที่ 4 มิถุนายน 2482 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการจากบ้านเปียงมาตั้งอยู่ที่เขตตำบลยุหว่า หมู่ 10 และเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็นอำเภอสันป่าตอง ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2533 ได้แบ่งเขตการปกครองตำบลทุ่งปี้ขึ้นอยู่ในเขตการปกครองกิ่งอำเภอแม่วางมาจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และมีวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ครอบคลุมการปกครองและบริหารจำนวน 17 หมู่บ้าน ทั้งในเขตตำบลแม่อายและตำบลมะลิกา มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาคือ 1. สร้างจิตสำนึกของคนให้คุณธรรม จริยธรรม และอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น 2.ประชาชนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงถ้วนหน้า 3.ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นทันสมัย รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เร็วขึ้นและส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต มีความรู้ 4. ดำเนินการให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น 5.ธรรมชาติมีความสมบูรณ์ สวยงาม สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ 6. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของชุมชน มีส่วนร่วม 7.พัฒนาระบบการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 8. ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย 9.การคมนาคมมีความสะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว (ที่มา องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ www. abtdoilang.com/info3/วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์/) โดยองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ได้จัดให้มีการประชาคมหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมของประชาชน และสามารถสรุปยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาได้ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ความยั่งยืน 3. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน 4. ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ ฟื้นฟูและสืบสานศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต 6 .ยุทธศาสตร์การจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย 7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ตามยุทธศาสตร์ข้างต้น และเพื่อให้การการบริหารจัดการสำเร็จลุล่วงและตอบสนองความต้องการประชาชนในท้องถิ่น จึงได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ตลอดจนวิธีการในการประเมินการปฏิบัติงานทั้งหมด 4 ด้าน คือ ด้านประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์ ด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ และด้านการพัฒนาองค์กร การดำเนินงานในครั้งนี้จะเป็นการดำเนินการในเฉพาะมิติที่ 2 คือ ด้านคุณภาพการให้บริการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของประชนชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ ซึ่งจะดำเนินการประเมินประกอบด้วย 4 ส่วนงาน ได้แก่ งานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 2.งานด้านการจัดเก็บภาษีและรายได้ 3.งานด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ 4.งานด้านการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม นอกจากนี้ยังได้มีการประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ จำนวน 4 ส่วนงาน ได้แก่ 1.สำนักปลัด 2.ส่วนการคลัง 3.ส่วนโยธา และ 4.ส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นการศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการและทราบข้อเสนอแนะต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ และนำไปปรับปรุงแก้ไขและเป็นแนวทางในการวางแผนการพัฒนาชุมชนในเขตการปกครองต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ 2. เพื่อทราบข้อเสนอแนะต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : รายงานการประเมินความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
KPI 1 : รายงานผลการประเมินความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เล่ม 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : รายงานการประเมินความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อกิจกรรม :
สำรวจความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ (วันที่จัดกิจกรรม 15/09/2563-30/09/2563)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/09/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายชุมพลภัทร์  คงธนจารุอนันต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายยมนา  ปานันท์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บรวบรวมข้อมูลและบันทึกแบบสอบถาม (จำนวน 400 ชุด ๆ ละ 50 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงาน (จำนวน 5 เล่ม ๆ ละ 300 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถาม (จำนวน 400 ชุด ๆ ละ 5 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 27000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล