15250 : โครงการการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ สู่อาชีพในศตวรรษที่ 21 : การพัฒนาทักษะวิชาชีพและประสบการณ์งานบริการเรือสำราญ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
อาจารย์ ดร.วีรภรณ์ โตคีรี (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 23/12/2562 10:35:03
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/01/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 2563 10,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. วีรภรณ์  โตคีรี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 1.การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 1.2 บัณฑิตมีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 63 MJU 1.2.1 จำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ทำงานในองค์กรระดับนานาชาติทั้งในและต่างประเทศ หรือประกอบอาชีพอิสระในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.2.1 พัฒนาคุณภาพของบัณฑิตเพื่อรองรับหรือเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในตลาดแรงงานระดับอาเซียนหรือนานาชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่เชี่ยวชาญทางด้านวิชาการและวิชาชีพที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
เป้าประสงค์ 1.2 พัฒนานักศึกษาให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ด้วยตนเอง
ตัวชี้วัด 1.2.2 ร้อยละความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนานักศึกษา
กลยุทธ์ 2. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน การพัฒนาคนให้มีทักษะหลากหลาย ต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้มีอาชีพและธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ผลที่ตามมา คือความต้องการแรงงานที่มีองค์ความรู้ยุคใหม่และมีทักษะ หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจ ในยุคการแข่งขันเข้มข้น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปัจจุบันโดยภาพรวมนั้นถือได้ว่ามีส่วนสำคัญในการพัฒนาและเกิดการหมุนเวียนรายได้ในระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจบริการเรือสำราญซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เห็นได้ชัดว่าเริ่มบทบาทความสำคัญในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวได้อย่างชัดเจน เนื่องจากธุรกิจบริการเรือสำราญเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีสถิติเพิ่มขึ้นทุกปี ประเทศไทยควรที่จะต้องมีการสนับสนุนเพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพในการให้บริการด้านธุรกิจบริการบนเรือสำราญให้มากขึ้น เพื่อรองรับอัตราการเติบโตของความต้องการที่กำลังขยายตัว ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีปัจจัยดึงดูด และปัจจัยเอื้ออำนวยหลายอย่างในการเป็นประเทศเป้าหมายของการให้บริการแก่ธุรกิจบริการเรือสำราญในปัจจุบัน ทั้งในด้านแหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม รวมถึงการให้บริการที่มีมิตรไมตรีซึ่งเป็นที่ประทับใจของหลายชาติในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา lสาขาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นความเฉพาะด้านวิชาการและทักษะมากขึ้น โดยแบ่งตามความสนใจและความถนัดของนักศึกษา ซึ่งหนึ่งในวิชาเอกของนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในธุรกิจเรือสำราญ ซึ่งนักศึกษากำลังจะถูกผลิตออกไปสู่ตลาดอุตสาหกรรมบริการเหล่านั้น และกระบวนการศึกษานั้นได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนานักศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ให้นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ในการลงมือปฏิบัติเพื่อฝึกกระบวนการคิด วางแผนและการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ได้และเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาที่กำลังจะออกไปสู่ตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ จึงเกิดแนวคิดที่จะนำนักศึกษาไปศึกษาดูงานในสถานที่จริง ณ จังหวัดกรุงเทพฯ เพื่อเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ตรง เพื่อนำมาปรับใช้ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบโครงงานในลักษณะต่างๆ ผ่านการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้และประสบการณ์ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อออกแบบโครงงานต่างๆ ตามความสนใจต่อไป ดังนั้นจึงต้องมีการส่งเสริมและดำเนินการทางด้านทักษะต่างๆ ของนักศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถและทักษะในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ด้วยตัวเองและการแก้ไขปัญหา ทั้งทักษะด้านภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะความชำนาญที่สอดคล้องกับการปรับตัว และการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม รวมทั้งการปรับตัวกับมาตรฐานการทำงานที่เป็นสากล ซึ่งทักษะด้านภาษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ และการคิดวิเคราะห์เป็นสมรรถนะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อเสริมสร้างความรู้ ทางวิชาการและวิชาชีพ ที่จะนำไปพัฒนาและต่อยอดไปสู่การสร้างรายได้และอาชีพ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาด้านการเรียนรู้ ทั้งทางวิชาการ ทางอาชีพและทักษะในศตวรรษที่ 21
2. เพื่อให้นักศึกษาได้เปิดประสบการณ์โดยการทัศนศึกษาดูงานเรือสำราญ
3. เพื่อเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ให้นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ในการลงมือปฏิบัติเพื่อฝึกกระบวนการคิด วางแผนและการแก้ไขปัญหาต่างๆ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษามีความรู้ ประสบการณ์และได้ฝึกทักษะการปฏิบัติงานบริการบนเรือสำราญและได้ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 2 : โครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 3 : ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้เรื่องการทักษะการบริการเรือสำราญ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้เรื่องภาษาอังกฤษในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษามีความรู้ ประสบการณ์และได้ฝึกทักษะการปฏิบัติงานบริการบนเรือสำราญและได้ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
ชื่อกิจกรรม :
การจัดอบรมให้ความรู้งานบริการเรือสำราญ และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.บุญศิลป์  จิตตะประพันธ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วีรภรณ์  โตคีรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์  ทองสง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่ากระดาษสี จำนวน 10 แผ่น ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5500.00
ชื่อกิจกรรม :
ทัศนศึกษาดูงานเพื่อเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ด้านการปฏิบัติงานบนเรือสำราญ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.บุญศิลป์  จิตตะประพันธ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วีรภรณ์  โตคีรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์  ทองสง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าของที่ระลึก จำนวน 1 ชิ้น เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 4500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล