15197 : โครงการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร (RUCA)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 4/12/2562 18:28:53
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
04/12/2562  ถึง  30/04/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  15  คน
รายละเอียด  นักศึกษาชั้นปี 3 หรือ 4 ของสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้- ชุมพร จำนวน 10 คน อาจารย์สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จำนวน 5 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 2563 20,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรพิมล  พิมลรัตน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 1.การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64 MJU 1.5 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 63 MJU 1.5.4 จำนวนรางวัลที่นักศึกษาได้รับในระดับชาติ หรือนานาชาติ (Inc-B)
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.5.7 ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันต่าง ๆในระดับชาติหรือนานาชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่เชี่ยวชาญทางด้านวิชาการและวิชาชีพที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
เป้าประสงค์ 1.2 พัฒนานักศึกษาให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ด้วยตนเอง
ตัวชี้วัด 1.2.3 จำนวนผลงานของนักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันในระดับชาติหรือนานาชาติ
กลยุทธ์ 8. ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในระดับชาติหรือนานาชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการประมงและสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มีการพัฒนาการเรียนการสอนด้านการวิจัยให้แก่นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้รายวิชาปัญหาพิเศษ และมีการกำหนดให้นักศึกษาแต่ละคนทำวิจัยในระหว่างการออกไปปฏิบัติสหกิจศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีทักษะพื้นฐานทางด้านการวิจัยทั้ง ทักษะในการกำหนดหัวข้อวิจัยให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของหน่วยงานที่ออกไปสหกิจศึกษา โดยเฉพาะการค้นคว้าข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัยด้านต่างๆ ที่มุ่งเน้นให้มีการรังสรรค์งานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชนและเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ให้งานวิจัยอันมีคุณค่าเหล่านี้ได้นำไปใช้ประโยชน ที่ผ่านมาคณะอาจารย์และนักศึกษาได้มีการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษา ซึ่งการนำเสนอผลงานวิจัย นักศึกษาจะทำการศึกษา และค้นคว้าข้อมูลที่เป็นแนวคิด หลักการ หรือปัญหาสำคัญทางด้านการประมงและการผลิตพืชเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โครงการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร (RUCA) เกิดขึ้นจากการเล็งเห็นความสำคัญของการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งถือได้ว่าเป็นอาชีพหลักของคนไทย และเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน และแก้ไขปัญหาเป็นการเร่งด่วน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทั้งในภาคการผลิตและอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นต้องนำผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีการเกษตร หรือนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาช่วยให้ทั้งการผลิตและอุตสาหกรรมเกษตรมีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืน ซึ่งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจึงเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยในการผลิตบุคลากร สร้างสรรค์ผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการเกษตร สำหรับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบนนั้น มีสถาบันที่เปิดสอนทางด้านเกษตรหลายสถาบัน ได้แก่ 1) คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี 2) คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 3) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร 4) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 5) สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 6) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 7) ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ 8) คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 9) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 10) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ซึ่งทั้ง 10 สถาบันได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษา งานวิจัย การให้บริการทางวิชาการ การพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ด้านเทคโนโลยีการเกษตรและการประกันคุณภาพการศึกษา เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558 เพื่อเป็นกรอบการทำงานร่วมกันในอนาคต ตลอดจนการจัดประชุมวิชาการ “โครงการนาเสนอผลงานทางวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร” ขึ้นประจำทุกปี โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาตรีได้มีเวทีในการนำผลงานวิจัยมาแลกเปลี่ยน ตลอดจนเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งจะช่วยให้นิสิต/นักศึกษามีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศในอนาคต ภายใต้ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนานักศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข โครงการฯ นับว่ามีส่วนช่วยเพิ่มทักษะ และศักยภาพในการทำงานวิจัยของบัณฑิตตั้งแต่ระดับปริญญาตรี อีกทั้งช่วยสนับสนุนให้เกิดทักษะการนำเสนอผลงานวิชาการในที่ประชุมวิชาการระดับชาติอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่กว้างขึ้นจากการเรียนภายในมหาวิทยาลัย โดยเน้นหัวข้อเรื่องที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้งานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษา 5 ด้าน ได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : จำนวนบทคัดย่อจากการนำเสนอผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรจำนวน 10 เรื่อง
KPI 1 : จำนวนบทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกให้ไปนำเสนอผลงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 เรื่อง 10
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : จำนวนบทคัดย่อจากการนำเสนอผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรจำนวน 10 เรื่อง
ชื่อกิจกรรม :
การนำเสนอผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/12/2562 - 30/04/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล  พิมลรัตน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ปณิดา  กันถาด (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ  ศุภวิญญู (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ปิยนุช  จันทรัมพร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์นาตาลี อาร์  ใจเย็น (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ณัชพัฒน์  สุขใส (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ประสาทพร  กออวยชัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา  สว่างอารมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์วีรชัย  เพชรสุทธิ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิรักษ์  ผลเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา  จินดาซิงห์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
เงินสนับสนุนในฐานะเจ้าภาพร่วมในการจัดการประชุมวิชาการ เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
งบประมาณสนับสนุนค่อนข้างน้อย
ไม่สามารถดำเนินโครงการได้เนื่องจากสถานการณ์โควิท19
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เพิ่มงบประมาณสนับสนุนให้มากยิ่งขึ้น
ทางเจ้าภาพจัดงานแจ้งยกเลิกกการจัดงานในปี 2563
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชาปัญหาพิเศษ รายวิชาสัมนา
ช่วงเวลา : 01/06/2562 - 31/05/2563
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล