14983 : โครงการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร (หลักสูตรส่งเสริมฯ)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 21/1/2563 13:52:04
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/01/2563  ถึง  30/06/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ชุมชนพัฒนาทรายแก้วและชุมชนใกล้เคียง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและผู้นำชุมชน ในพื้นที่อำเภอสันทรายและผู้เกี่ยวข้อง คณะทำงานโครงการและนักศึกษาสาขา การส่งเสริมและสื่อสารเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้ประจำปีงบประมาณ 2563 หลักสูตรส่งเสริมฯ ปริญญาตรี แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง:แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต:ผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลัก เผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป 2563 20,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. พุฒิสรรค์  เครือคำ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรืองชัย  จูวัฒนสำราญ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.1 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐษน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์ม ต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 ผก 4. การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 63 ผก 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ตัวชี้วัด 63 ผก 4.4 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของคณะ / มหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 63 ผก 4.7 ส่งเสริม สนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคม โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม และปฏิบัติจริง
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ชุมชนพัฒนาทรายแก้ว ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่เกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การปลูกพืชผัก ไม้ผล พืชไร่และอื่นๆ เพื่อการบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นรายได้ในครัวเรือน และจากการพบปะปรึกษาหารือกับผู้นำชุมชนและเกษตรรกรในพื้นที่รวมทั้งการสำรวจความต้องการรับการบริการองค์ความรู้ด้านการเกษตร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ในชุมชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการขยายพันธุ์พืชโดยเฉพาะไม้ผล เช่น มะม่วง ลำไย มะนาว และฝรั่ง เป็นต้น ดังนั้นเกษตรกรจึงมีความต้องการรับบริการองค์ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์ไม้ผลอย่างง่ายที่เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้ จากสภาพปัญหาดังกล่าว คณะผู้จัดทำโครงการบริการวิชาการนี้ซึ่งเป็นบุคลากรในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมและสื่อสารเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงมีความสนใจที่จะจัดทำโครงการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร เรื่อง การส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร“การขยายพันธุ์ไม้ผล” ในชุมชนพัฒนาทรายแก้ว ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่” เพื่อให้เกษตรกรได้รับความรู้และสามารถนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเองตลอดจนสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับไปสู่เกษตรกรรายอื่นๆได้ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนช่วยในการแก้ปัญหาการต้องซื้อกิ่งพันธุ์ไม้ผลที่มีราคาแพงให้กับเกษตรกรในชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำการเกษตรร่วมกัน ตลอดจน การดำเนินงานตามโครงการนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อให้คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาได้มีการปฏิบัติงานแบบบูรณาการร่วมกันในด้านการเรียน การสอน การบริการวิชาการสู่ชุมชน โดยเฉพาะนักศึกษาจะได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงในรายวิชาที่เกี่ยวข้องเช่น สก 301 หลักการส่งเสริมการเกษตร สก 458 มนุษย์สัมพันธ์และการพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับนักส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น เพื่อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ การขยายพันธุ์ไม้ผลให้แก่เกษตรกรในชุมชนพัฒนาทรายแก้วตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายกล้าพันธุ์ไม้ผล ในชุมชนพัฒนาทรายแก้ว ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีพัฒนา หน่วยงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง
เพื่อให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาได้มีการปฏิบัติงานร่วมกันแบบบูรณาการในด้านการเรียน การสอน การวิจัยและการบริการวิชาการแก่ชุมชนและส่งเสริมทักษะการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงของนักศึกษา สาขาวิชาการส่งเสริมและสื่อสารเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กลุ่มเกษตรกรในการผลิตและขยายพันธุ์ไม้ผลมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้จริง
KPI 1 : พัฒนาศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรให้เป็นกลุ่มต้นแบบในการผลิตและขยายพันธุ์ไม้ผลและผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานในระดับดี
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : เครือข่ายในการผลิตและขยายพันธุ์ไม้ผล
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เครือข่าย 1
KPI 3 : เกษตรกรผู้ผลิตและขยายพันธุ์ไม้ผล ที่มีความรู้ความสามารถ และใช้งานได้อย่างถูกวิธี
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนเกษตรกรที่มีความรู้และทักษะในการผลิตและขยายพันธุ์ไม้ผล ในชุมชนพัฒนาทรายแก้ว ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผู้รับบริการ หรือผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการบริการนี้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 5 : โครงการดำเนินการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 6 : บูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการแก่สังคมในรายวิชาอย่างน้อย 1 รายวิชา คือ สก 301 หลักการส่งเสริมการเกษตรและรายวิชา สก 458 มนุษย์สัมพันธ์และการพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับนักส่งเสริมการเกษตร และกลุ่มยุวเกษตรกร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 รายวิชา 2
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 8 : เครือข่ายการพัฒนาการผลิตและขยายพันธุ์ไม้ผลในชุมชนเทศบาลป่าไผ่และเกิดการพัฒนาแบบบูรณาการ และผู้ร่วมโครงการมีระดับความพึงพอใจต่อโครงการในระดับดี
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : นักศึกษามีความพึงพอใจที่ได้รับประโยชน์จากการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการโดยได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : เอกสารเผยแพร่แผ่นพับ เกี่ยวกับ “เทคนิคการขยายพันธุ์ไม้ผลอย่างง่าย”สำหรับใช้ประกอบในกิจกรรมการฝึกอบรมและงานส่งเสริมที่มีคุณภาพและมีความทันสมัยและผู้ใช้ประโยชน์มีความพึงพอใจในเอกสารเผยแพร่
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 11 : เอกสารเผยแพร่ “การผลิตและขยายพันธุ์ไม้ผลอย่างง่าย” แผ่นพับสำหรับงานส่งเสริมเกษตรกร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ชุด 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กลุ่มเกษตรกรในการผลิตและขยายพันธุ์ไม้ผลมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้จริง
ชื่อกิจกรรม :
การส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร “การขยายพันธุ์ไม้ผล” ในชุมชนพัฒนาทรายแก้วอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/01/2563 - 30/06/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์  พวงงามชื่น (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พหล  ศักดิ์คะทัศน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ศรีวรรณ  ดอนวิเศษ (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.สายสกุล  ฟองมูล (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางกนกพร  นันทดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นคเรศ  รังควัต (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางอภิชนา  วงศ์วารเตชะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายธีระชัย  ศรีทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กังสดาล  กนกหงษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ  พละปัญญา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.นภารัศม์  เวชสิทธิ์นิรภัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางภินัณญา  เหมืองคำ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายกานต์พนธ์  ชุมภู (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท จำนวนผู้เข้าอบรม 100 คน เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆ ละ 35 บาท จำนวนผู้เข้าอบรม 100 คน เป็นเงิน 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำเอกสารแผ่นพับ การขยายพันธุ์ไม้ผลอย่างง่าย 100 ชุดๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมมนาคุณวิทยากร (3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท =1,800 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาระดับปริญญาเอกช่วยปฏิบัติงาน 3 คน 1 วันๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุประกอบกิจกรรม เป็นเงิน 2,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ช่วงเวลาการจัดกิจกรรมอาจตรงกับช่วงที่มีกิจกรรมในชุมชนของเกษตรกรอาจมีผู้เข้าร่วมน้อย
รูปภาพประกอบสำหรับการจัดทำแผ่นพับการขยายพันธุ์ไม้ผล อาจมีไม่เพียงพอในช่วงที่ต้องการหรือมีแต่ไม่สมบูรณ์
การเดินทางและคมนาคมขนส่งอาจมีข้อจำกัดสำหรับจำนวนนักศึกษาที่จะเข้าร่วม
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
มีการนัดหมายในช่วงเวลาที่เหมาะสมและอาศัยผู้นำท้องถิ่นประสานงานและมีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าและต่อเนื่อง
มีการประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญและเจ้าของสถานที่/สตูดิโอเพื่อใช้สถานที่และบุคลากรในการปฏิบัติการ
มีการจัดการให้เป็นระบบและจัดสรรตามจำนวนอย่างเหมาะสม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล