14634 : โครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ปีการศึกษา 2562 (สำนักงานคณบดี)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
น.ส.กัลย์ชิสา นามวงศ์พรหม (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/10/2563 21:33:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
20/03/2563  ถึง  23/03/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  400  คน
รายละเอียด  นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย จำนวน 400 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้จากเงินพัฒนานักศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (สโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร) แผนงานพื้นฐาน ผลผลิต ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมสนับสนุนบริหารจัดการทั่วไป แผนงาน การเรียนการสอน งานสนับสนุนการจัดการศึกษา กองทุนกิจการนักศึกษา งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป รายการโครงการตามภารกิจพัฒนางานเดิม (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1) 2563 10,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. กอบลาภ  อารีศรีสม
น.ส. กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม
น.ส. อัยวริญ  แก้วชิต
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรืองชัย  จูวัฒนสำราญ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 1.การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64 MJU 1.5 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 63 MJU 1.5.1 ร้อยละของโครงการพัฒนานักศึกษาที่มีการบูรณาการด้านทักษะ IT ภาษาอังกฤษ วิชาชีพ และทักษะในศตวรรษที่ 21 ฯลฯ
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.5.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านภาษา IT และทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 ผก. 1. การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 63 ผก 1.2 บัณฑิตมีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 63 ผก. 1.6 ร้อยละของบัณฑิตที่มีงานทำและศึกษาต่อภายในระยะเวลา 1 ปี
กลยุทธ์ 63 ผก 6. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนยุคใหม่ และพร้อมก้าวสู่การปฏิบัติงานในระดับนานาชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในสภาวการณ์ปัจจุบัน มีนักศึกษาคุณภาพที่จบการศึกษาด้านการเกษตร เป็นจำนวนมากในประเทศไทย จึงทำให้เกิดการแข่งขันเข้าสมัครงานในบริษัทชั้นนำต่างๆค่อนข้างสูง หากนักศึกษาไม่สามารถวิเคราะห์ตนเองว่าชอบการทำงานลักษณะใด ถนัดงานในส่วนไหน อาจทำให้ไม่สามารถเลือกงานที่ตนเองมีความสามารถและชื่นชอบได้อย่างแท้จริง ทำได้แค่เพียงมุ่งเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตกเป็นทาสของบริษัทเพียงเท่านั้น คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งหวังให้บัณฑิตที่จบการศึกษาในปีการศึกษา พ.ศ.2562 นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงานแล้ว ยังเป็นคนที่อดทน สู้งาน สามารถบูรณาการด้านทักษะ IT ภาษาอังกฤษ วิชาชีพทางการเกษตร และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการทำงานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังต้องมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองถนัด พร้อมพัฒนาตนเองและพัฒนางาน มีความรู้เท่าทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง มีทัศนคติที่ดี สามารถเรียนรู้ ปรับประยุกต์ใช้ทักษะต่างๆในการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม และเป็นคนที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่สำคัญในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนที่ดี สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ คุณภาพของคณาจารย์และบุคลากร โครงการปัจฉิมนิเทศต้องการพัฒนานักศึกษา โดยการให้ความรู้ด้านการศึกษาต่อ ด้านการพัฒนาเตรียมความพร้อมของตนเอง เข้าสู่โลกแห่งการทำงานอย่างทันสมัย รู้เท่าทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงและสามารถปรับตัวได้ดีในสภาวะของการแข่งขันในยุคปัจจุบัน แนะแนวความคิดที่สร้างสรรค์ในการคัดเลือกงานที่ตัวเองชอบและสามารถทำได้ดีจริง แต่เนื่องจากปัญหาสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 "ไวรัสโคโรน่า" สายพันธุ์ใหม่นี้ (COVID-19)" ที่แพร่ระบาดหนักในประเทศจีน และอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มาจนถึงเดือนมีนาคม 2563 ยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลง และมีประกาศจากสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องว่ายังพบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น คณะผลิตกรรมการเกษตรจึงปรับรูปแบบการจัดโครงการ จากรูปแบบการนัดรวมนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายเข้าห้องสัมมนาพร้อมกัน ไปเป็นการนัดแยกสาขาเพื่อลดการพบปะกันในจำนวนมาก โดยนักศึกษาจะได้รับชมคลิปวิดิโอที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน พร้อมแจ้งภาพ QR code ให้นักศึกษา download เอกสารองค์ความรู้ของวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ซึ่งมีความรอบรู้และผ่านประสบการณ์ สามารถแนะแนวทางที่ทันสมัยให้แก่นักศึกษาได้ ทั้งนี้นักศึกษาจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการเลือกงานที่เหมาะสมแก่ตนเองได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการแนะแนวทางสร้างความมั่นใจในการเตรียมตนเองให้พร้อมก้าวเข้าสู่วัยทำงาน นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมข้อมูลการสมัครงานด้านการเกษตร ตำแหน่งงานต่างๆ และการศึกษาต่อ พอสังเขป ให้นักศึกษาได้สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง พร้อมแจกแบบสอบถามให้นักศึกษาได้ประเมินการบริการของคณะผลิตกรรมการเกษตร เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนพัฒนาการจัดบริการนักศึกษาให้ตรงกับความต้องการและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจการพัฒนาศักยภาพของตนเองในทักษะการดำเนินชีวิต ตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ได้มีความรู้เกี่ยวกับการศึกษาต่อและข้อมูลของแหล่งงาน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง การศึกษาต่อ และการสมัครงาน
KPI 1 : ระดับที่นักศึกษาเข้าใจการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ในทักษะการดำเนินชีวิตตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ 5 ข้อ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.5 ระดับ 3.5
KPI 2 : ร้อยละผู้เข้าร่วมโครงการ จากกลุ่มเป้าหมาย 400 คน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ระดับที่นักศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับการศึกษาต่อและข้อมูลของแหล่งงาน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.5 ระดับ 3.5
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง การศึกษาต่อ และการสมัครงาน
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ อบรมชี้แนะแนวทางการพัฒนาตนเองให้พร้อมในการทำงานจากวิทยากร , คลิปวิดิโอจากผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน และให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาต่อและการสมัครงานผ่าน การdownloadเอกสาร โดยสแกน QR cord เพื่อเตรียมความให้แก่นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายในการก้าวสู่ตลาดแรงงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/03/2563 - 23/03/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กอบลาภ  อารีศรีสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อัยวริญ  แก้วชิต (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม นักศึกษา จำนวน 400 คน คนละ 25 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานการณ์ "ไวรัสโคโรน่า" สายพันธุ์ใหม่ 2019 (Covid-19) ช่วงเดือน ก.พ. - มี.ค.2563 ในประเทศไทยไม่สามารถควบคุมได้ดี ทำให้ต้องยกเลิกการจัดงานปัจฉิมนิเทศ เพื่อป้องกันการระบาดของโรค
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปรับรูปแบบการจัดงานจากการสัมมนา รวมนักศึกษา 600 คน ไปเป็นการจัดแยกสาขา ให้นักศึกษารับชมคลิปวิดิโอและรับการอบรมจากวิทยากร รอบละ 30 - 50 คน (1.30 ชม. : 1 ครั้ง) และรับ QR code downloadเอกสารข้อมูลการศึกษาต่อ การพัฒนาตนเอง ตำแหน่งงานที่บริษัทรับสมัครงาน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล