14365 : โครงการเศรษฐศาสตร์ขยะเหลือศูนย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.อำภา วิรัตน์พฤกษ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/8/2562 13:48:57
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์ (Go Eco U.)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
13/08/2562  ถึง  30/09/2562
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  347  คน
รายละเอียด  บุคลากรสังกัดคณะเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วย พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราวเงินรายได้ ลูกจ้างจ้างเหมา แม่บ้าน และนักศึกษาสังกัดคณะเศรษฐศาสตร์ จำนวน 347 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานบริหารมหาวิทยาลัย งานบริหารทั่วไป กองทุนทั่วไป งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป (โครงการตามประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6) (เงินเหลือจ่าย) 2562 120,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
น.ส. อำภา  วิรัตน์พฤกษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ  จรรยาสุภาพ
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. สุรชัย  กังวล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริหารจัดการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 6 การบริหารจัดการสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 6.4 มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานและเป็นสากล
ตัวชี้วัด 61MJU6.4.2 ผลการจัดอันดับ Green University ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ 61-64MJU 6.4.5 ส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานภายในเข้าสู่มาตรฐาน Green Office
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 62ECON-5 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
เป้าประสงค์ 62ECON 5.3 เป็นองค์กรที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานและเป็นสากล และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด 62ECON 5.5 ร้อยละความสำเร็จของโครงการ/ กิจกรรมด้านเศรษฐกิจสีเขียวที่ได้ดำเนินการตามแผน
กลยุทธ์ 62ECON 5.5.1 สร้างจิตสำนึก และการมีส่วนร่วมของบุคลากร
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศ ปีงบประมาณ 2561 ประมาณ 27.8 ล้านตัน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีเนื่องจากการขยายตัวของชุมชนเมือง และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมเมือง การเพิ่มขึ้นของประชากร การส่งเสริมการท่องเที่ยว การบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยในหลายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าปริมาณขยะมูลฝอยจะเพิ่มขึ้น แต่การจัดการขยะมูลฝอยในปี 2561 มีแนวโน้มดีขึ้น ขยะมูลฝอยชุมชนได้ถูกคัดแยก ณ ต้นทาง และนำกลับไปใช้ประโยชน์ 9.58 ล้านตัน (ร้อยละ 34) เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 13 ส่วนใหญ่เป็นการใช้ประโยชน์จากขยะรีไซเคิลและทำปุ๋ยอินทรีย์ ขยะมูลฝอยชุมชนอีกจำนวน 10.88 ล้านตัน (ร้อยละ 39) ถูกกำจัดอย่างถูกต้อง ส่วนที่เหลือเป็นขยะที่ถูกกำจัดอย่างไม่ถูกต้องประมาณ 7.36 ล้านตัน (ร้อยละ 27) แนวโน้มการจัดการจยะที่ดีขึ้นเป็นผลมาจากนโบายของรัฐบาลที่มู่งสู่การเป็นสังคมปลอดขยะ (Zero Waste Society) บนแนวคิด 3R ประชารัฐมุ่งเน้นการจัดการขยะมูลฝอย ณ ต้นทาง โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐและประชาชน(รายงานสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561 : สถานการณ์ขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย หน้า 36) จากปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศ รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย และได้ประกาศให้การจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติ และได้กำหนด Road Map การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย เพื่อให้เกิดการดำเนินงานในทิศทางเดียวกันและหนุนเสริมการดำเนินงานซึ่งกันและกัน ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) เร่งการจัดการขยะมูลฝอยสะสมในสถานที่กำจัดขยะพื้นที่วิกฤติ 2) ให้มีรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อจัดการกับขยะที่เข้ามาใหม่ โดยเน้นการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ต้นทางและแปรรูปพลังงานจากขยะ 3) จัดระเบียบมาตรการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 4) การสร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำแผนแม่บทการบริหาร จัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) ซึ่งเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติ 5 ด้าน ได้แก่ 1) การลดปริมาณขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 2) เพิ่มศักยภาพการจัดเก็บและขนส่งขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 3) เพิ่มศักยภาพการกำจัดและการใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 4) พัฒนาและปรับปรุง กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ในการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 5) สนับสนุนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินการสร้างวินัยในการจัดการขยะ คณะเศรษฐศาสตร์ จึงจัดทำโครงเศรษฐศาสตร์ขยะเหลือศูนย์ (Econ Zero Waste) ปี 2562 ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของบุคลากรของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการดำเนินงานด้านการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร โดยนำแนวคิด “Zero Waste” หรือ “การจัดการขยะเหลือศูนย์” ตามหลัก 1A3Rs คือ Avoid หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะที่ยากต่อการกำจัด Reduce ลดการซื้อ การใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะ Reuse การนำวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วนำกลับมาใช้งานใหม่ และ Recycle การนำวัสดุเหลือใช้มาแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งเสริมให้บุคลากรมีการจัดการขยะจากต้นทางแหล่งกำเนิดขยะ การจัดการกลางทางโดยผ่านระบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และการจัดการปลายทางคือการกำจัดที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นต้นแบบการจัดการขยะในมหาวิทยาลัย
เพื่อพัฒนาและบูรณาการความรู้การลด คัดแยกและการจัดการของเสียและขยะอันตราย
เพื่อสร้างค่านิยม Zero Waste และความตระหนักของบุคลากรในคณะเศรษฐศาสตร์ให้เห็นความสำคัญของการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง และเป็นตัวอย่างให้คณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : มีระบบการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายที่สามารถเป็นต้นแบบการจัดการขยะในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ระบบการจัดการขยะ หมายถึง การดำเนินมาตรการลดการเกิดขยะ ระบบการคัดแยกขยะ ระบบการเก็บรวบรวมและระบบการจัดการจขยะปลายทางอย่างถูกหลักวิชาการ)
KPI 1 : ต้นแบบระบบการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตราย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ระบบ 1
ผลผลิต : บุคลากรในคณะเศรษฐศาสตร์มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักเรื่องการลดและการคัดแยกขยะ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะตามหลัก 1A3Rs (Avoid Reduce Reuse Recycle)
KPI 1 : จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ (347 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : บุคลากรคณะเศรษฐศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และสามารถแยกขยะได้อย่างถูกต้อง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : บุคลากรคณะเศรษฐศาสตร์มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : มีระบบการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายที่สามารถเป็นต้นแบบการจัดการขยะในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ระบบการจัดการขยะ หมายถึง การดำเนินมาตรการลดการเกิดขยะ ระบบการคัดแยกขยะ ระบบการเก็บรวบรวมและระบบการจัดการจขยะปลายทางอย่างถูกหลักวิชาการ)
ชื่อกิจกรรม :
kick off "Econ Zero Waste"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/09/2562 - 04/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.อำภา  วิรัตน์พฤกษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำกิจกรรม Kick off "Econ Zero Waste" จำนวน 100,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท 100,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
ผลผลิต : บุคลากรในคณะเศรษฐศาสตร์มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักเรื่องการลดและการคัดแยกขยะ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะตามหลัก 1A3Rs (Avoid Reduce Reuse Recycle)
ชื่อกิจกรรม :
สำรวจพฤติกรรมของบุคลากรคณะเศรษฐศาสตร์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 13/08/2562 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ดร.วีร์  พวงเพิกศึก (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายยมนา  ปานันท์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.เบญจวรรณ  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.อนุพันธุ์  สมบูรณ์วงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายชุมพลภัทร์  คงธนจารุอนันต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บรวบรวมแบบสอบถาม จำนวน 347 ชุด ๆ ละ 15 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,205.00 บาท 5,205.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบันทึกข้อมูลแบบสอบถาม จำนวน 347 ชุด ๆ ละ 15 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,205.00 บาท 5,205.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์และเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงาน จำนวน 2 เล่ม ๆ ละ 150 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 300.00 บาท 300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 347 ชุด ๆ ละ 15 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,205.00 บาท 5,205.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,585.00 บาท 1,585.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล