14202 : การพัฒนาพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 24/7/2562 13:49:30
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
21/05/2562  ถึง  30/09/2562
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  150  คน
รายละเอียด  นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณภายนอก (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม) 2562 25,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 5 การเป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
เป้าประสงค์ 61-64MJU 5.1 การดำรงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมการเกษตร
ตัวชี้วัด 61MJU5.1.1 ระดับความสำเร็จของแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 61-64MJU 5.1.1 พัฒนาแผนและกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4.การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ 4.1 ฟื้นฟูอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 4.1.1 ระดับความสำเร็จของแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 1. พัฒนาแผนและกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในฐานะที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นมหาวิทยาลัยฯ ที่เปิดการเรียนการสอนด้านการเกษตรและด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน ประกอบด้วย สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการประมง (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชและสาขาวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตบุคลากรออกสู่ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวนมาก ขณะที่มหาวิทยาลัยฯ มีการวางเป้าหมายทิศทางการพัฒนาระยะ 15 ปี พ.ศ. 2555-2569 เป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” ที่เคารพและให้ความสำคัญกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ปรัชญา : “มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความรุ่งเรื่องวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน” กอปรกับได้รับความไว้วางใจจากชุมชนสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ให้เป็นเลขานุการเครือข่ายฯ และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาขีดความสามารถการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจังหวัดชุมพร ทั้งในระดับพื้นที่จนถึงระดับเครือข่ายภายในจังหวัด ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มนักศึกษาโดยกองกำลัง “เที่ยว” รับใช้สังคม ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกฯ เครือข่ายฯเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการนำพาพลังจิตอาสาจากสถาบันการศึกษา ไปหนุนเสริมพลังการขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ภายใต้ปณิธานร่วม : “เพื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม มุ่งเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวางทิศทางเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัย” ทั้งนี้เพื่อการกระตุ้นเตือนและส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกแก่นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้เกิดการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนการสอน เช่น 1) ปัญหาขยะอินทรีย์ภายในโรงอาหารมหาวิทยาลัยฯ 2) การใช้พลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า) สำหรับการเรียนการสอน 3) ปริมาณขยะแห้งและขยะอื่นๆ ภายในมหาวิทยาลัยฯ 4) คุณภาพน้ำจากกิจกรรมด้านการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ 5) ปริมาณต้นไม้ลดลงจากการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น จึงควรเริ่มต้นจากการจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยฯ ด้วยการน้อมนำศาสตร์พระราชา มาปรับใช้ และการบูรณาการความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของนักศึกษาและบุคลากรประจำสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอนและเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในชุมชนสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชากับการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ได้แก่การจัดการคุณภาพน้ำ การจัดการขยะมูลฝอย การจัดการพลังงาน และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างควบคู่กับการต่อยอดความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย ให้แก่นักศึกษา บุคคลากร ประชาชนภายในท้องถิ่น และบุคคลทั่วไป ผ่านรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในพื้นที่ป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ซึ่งสอดคล้องกับ ศ.ดร. วันดี ทาตระกูล คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้นิยามความมั่นคงทางอาหารว่า “การเข้าถึงอาหารที่มีอย่างเพียงพอ สำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศ อาหารมีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ เหมาะสมตามความต้องการตามวัย เพื่อการมีสุขภาวะที่ดี รวมทั้ง การมีระบบการผลิตที่เกื้อหนุน รักษาสมดุลของระบบนิเวศวิทยา และความคงอยู่ของฐานทรัพยากรทางธรรมชาติของประเทศ ทั้งในภาวะปกติหรือเกิดภัยพิบัติ สาธารณภัยหรือการก่อการร้ายอันเนื่องจากอาหาร” แต่ทั้งนี้ความมั่นคงทางอาหารไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ว่าการมีอาหารอย่างเพียงพอ แต่ความมั่นคงทางอาหารนั้นสัมพันธ์กับมิติต่างๆ อย่างเป็นองค์รวม โดยต้องมองไปถึงความมีอธิปไตยทางอาหารของเกษตรกร ต้องสัมพันธ์กับมิติความมั่นคงด้านต่างๆ เช่น ความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางสังคม และความมั่นคงในการดำรงชีวิต ดังนั้นความมั่นคงทางอาหารจะต้องครอบคลุมความหมายเหล่านี้คือ (อ้างถึงใน อุบล, 2558) ซึ่งคาดว่ากระบวนการของกิจกรรมดังกล่าวจะส่งเสริมให้เกิดประโยชน์กับพื้นที่มหาวิทยาลัยฯ ให้สามารถรวบรวมพืชพรรณอาหารท้องถิ่นประจำจังหวัดควบคู่กับการส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ ให้แก่บุคลากรและนักศึกษา ซึ่งจะสามารถขยายผลสู่การนำกลับไปใช้ที่บ้าน และในชีวิตประจำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสำรวจและรวบรวมผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร และสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ตามศาสตร์พระราชาในการจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้อย่างเป็นระบบครบวงจร
2. เพื่อพัฒนาพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. จำนวนผู้มีส่วนร่วมศึกษาและสำรวจผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเรียนการสอนและการบริหารภายในมหาวิยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร
KPI 1 : ปริมาณการใช้ทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 เรื่อง 4
KPI 2 : นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยศาสตร์พระราชา
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 เรื่อง 4
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : นักศึกษามีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลภายในมหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 20
KPI 5 : เนื้อหาสาระภายในแหล่งเรียนรู้การจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 จุด 4
KPI 6 : จำนวนผู้เข้ามาใช้ประโยชน์
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 150
ผลผลิต : 2. พื้นที่ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในพื้นที่ป่าสามาอย่างประโยชน์สี่อย่าง ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
KPI 1 : บุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 150
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เข้ามาใช้ประโยชน์
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 150
KPI 4 : องค์ความรู้ตามแนวทางศาสตร์พระราชาที่นำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการผลกระทบ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 เรื่อง 4
KPI 5 : พื้นที่ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในพื้นที่ป่าสามาอย่างประโยชน์สี่อย่าง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 จุด 1
ผลผลิต : 3ปฏิบัติการร่วมกันกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในพื้นที่ป่าสามาอย่างประโยชน์สี่อย่างและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน
KPI 1 : การปฏิบัติการร่วมการจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ครั้ง 2
KPI 2 : จำนวนคนที่เข้าร่วมปฏิบัติการร่วมกันกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในพื้นที่ป่าสามาอย่างประโยชน์สี่อย่างและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้เข้ามาใช้ประโยชน์
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. จำนวนผู้มีส่วนร่วมศึกษาและสำรวจผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเรียนการสอนและการบริหารภายในมหาวิยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร
ชื่อกิจกรรม :
สัมมนา "ธรรม" ความจริงให้ปรากฎ : การนำเสนอผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/05/2562 - 30/08/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วีรภรณ์  โตคีรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์  ทองสง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 4 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 14000.00
ผลผลิต : 2. พื้นที่ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในพื้นที่ป่าสามาอย่างประโยชน์สี่อย่าง ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ชื่อกิจกรรม :
ผลผลิต 2 : ปฏิบัติการร่วมในการพัฒนาพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในพื้นที่ป่าสามาอย่างประโยชน์สี่อย่างและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
กิจกรรม
1. การพัฒนาพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในพื้นที่ป่าสามาอย่างประโยชน์สี่อย่างและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/05/2562 - 30/08/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วีรภรณ์  โตคีรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์  ทองสง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าพันธุ์ไม้ท้องถิ่น จำนวน 100 ต้น ๆละ 40 บาท เป็นเงิน 4000 บาท
2. ค่าวัสดุเกษตร เช่น จอบ เสียม คราด มีดพร้า เป็นเงิน 2000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 6000.00
ผลผลิต : 3ปฏิบัติการร่วมกันกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในพื้นที่ป่าสามาอย่างประโยชน์สี่อย่างและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
ผลผลิตที่ 3 : ปฏิบัติการร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในพื้นที่ป่าสามาอย่างประโยชน์สี่อย่างและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และชมรมกองกำลัง “เที่ยว” รับใช้สังคมและชมรมMJU Chumphon Water Activities Club
กิจกรรม
1. กิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในพื้นที่ป่าสามาอย่างประโยชน์สี่อย่างและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/05/2562 - 30/08/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วีรภรณ์  โตคีรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์  ทองสง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาพัฒนาพื้นที่จัดกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในพื้นที่ป่าสามาอย่างประโยชน์สี่อย่างและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การจัดกิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ "ธรรม" ความจริงให้ปรากฏ
ช่วงเวลา : 01/08/2562 - 30/09/2562
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล