14171 : โครงการสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาการพัฒนาเต๋าโล (เตาอั้งโล่) ประสิทธิภาพสูงลดโลกร้อนสำหรับนักศึกษาและชุมชนบ้านโปง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางเพ็ญศิริ หน่อแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 30/4/2562 11:12:37
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
07/05/2562  ถึง  30/09/2562
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยพลังงานทดแทน หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้วิทยาลัยพลังงานทดแทน จำนวน 10,000 บาท 2562 10,000.00
งบประมาณแผ่นดิน วิทยาลัยพลังงานทดแทน หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ได้รับงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2562 จากศูนย์ศิลปวัฒนธรรม จำนวน 30,000 บาท 2562 30,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิกราน  หอมดวง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐวุฒิ  ดุษฎี
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 5 การเป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
เป้าประสงค์ 61-64MJU 5.1 การดำรงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมการเกษตร
ตัวชี้วัด 61MJU5.1.1 ระดับความสำเร็จของแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 61-64MJU 5.1.2 ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร ได้สืบสานประเพณีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมการเกษตร
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 62-ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
เป้าประสงค์ 62-5.1 การดำรงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมการเกษตร
ตัวชี้วัด 5.1.1 ความสำเร็จของแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 62-5.1.1.1 ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร ได้สืบสานประเพณีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมการเกษตร
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เต๋าโลหรือเตาอั้งโล่เป็นภูมิปัญญาไทยที่ได้รับความนิยมในการใช้หุงต้มประกอบอาหาร ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจนมาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในชุมชนชนบท ด้วยความเชื่อที่ว่าการประกอบอาหารด้วยเตาถ่านนั้นให้รสชาติที่อร่อยกว่าการใช้เตาแก๊ส อีกทั้งยังประหยัดเพราะใช้เชื้อเพลิงชีวมวลคือ ฟืน หรือถ่าน ที่หาได้ทั่วไปและมีราคาไม่แพง ทำให้ในชนบทแทบทุกครัวเรือนต้องมีเตาอั้งโล่บ้านละอย่างน้อย 1 ลูก ถือเป็นวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยที่มีมาอย่างยาวนาน ด้วยความนิยมใช้เตาอั้งโล่นี้ จึงทำให้มีการตัดไม้สำหรับมาทำฟืนและถ่านจำนวนมาก ดังนั้นตามนโยบายของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน จึงได้มีการพัฒนาเตาอั้งโล่ในอดีตเป็นเตาซุปเปอร์อั้งโล่ หรือเตาหุงต้มที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 30% กักเก็บพลังงานความร้อนได้ดีเพราะมีฉนวนกันความร้อน อีกทั้งยังมีรูปร่างเพรียวสวยงาม ทนทาน วัสดุมีในการผลิตมีคุณภาพดี จุดไฟติดเร็วขึ้น ไม่มีควันและก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ประหยัดเชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งก็คือฟืนและถ่านได้เป็นอย่างดี และมีอายุการใช้งานเฉลี่ยสูงกว่าเตาอั้งโล่แบบเดิม 2 ปี จึงเหมาะสำหรับการประกอบอาหารในระดับครัวเรือนและร้านค้าที่ประกอบอาหารจำหน่ายในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ด้วยแนวโน้มความนิยมใช้เตาซุปเปอร์อั้งโล่นี้ จะส่งผลให้มีความต้องการใช้ชีวมวลสำหรับนำมาเป็นเชื้อเพลิงมากขึ้น ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงก๊าซหุงต้มที่ใช้กับเตาแก๊ส ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการผลิตชีวมวล เพื่อเป็นพลังงานทดแทน ให้เหมาะสมกับการใช้งานในภาคครัวเรือนในอนาคต ด้วยเหตุนี้ในรายวิชา พง 311 เทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพและชีวมวล และรายวิชา พง 522 วิศวกรรมพื้นฐานชีวมวลและชีวภาพ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการเปลี่ยนรูปชีวมวล การทดสอบและปฏิบัติงานพลังงานชีวมวล จึงได้จัดกิจกรรมการสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาการพัฒนาเต๋าโล (อั้งโล่) ประสิทธิภาพสูงเพื่อลดโลกร้อนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขึ้นซึ่งกิจกรรมนี้จะเป็นการนำเอาปราชน์ท้องถิ่นสมัยใหม่ที่มีองค์ความรู้การปั้นเตาอังโล่มาถ่ายทอดองค์ความรู้และร่วมกิจกรรมปั้นเตาอังโล่ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นระยะเวลาดำเนินการ 5 สัปดาห์ ใช้ชั่วโมงการปฏิบัติในรายวิชาร่วมกับเวลาว่างของนักศึกษาและได้ผลผลิตเตาอังโล่สำหรับการนำไปใช้งานในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มากกว่า 20 ลูก ผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักรู้ซึ้งถึงคุณค่าภูมิปัญญา วัฒนธรรมของบรรพบุรุษที่มีแต่เก่าก่อน โดยมองการบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนการสอดแทรกแนวคิดวัฒนธรรมและมิติของทางด้านความเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ ในรูปแบบการรณรงค์ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและการลดโลกร้อนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้รวมอยู่ด้วย ขณะเดียวกันในด้านการเรียนการสอนนักศึกษาสามารถบูรณาการแนวคิดการใช้ใช้ชีวมวลในรูปแบบพลังงานใกล้ตัว เป็นแนวทางในการลดการใช้แก๊สหุงต้ม (LPG) สำหรับประกอบอาหาร ซึ่งมีแนวโน้มของราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาถึงอาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่จะมีอาชีพด้านเกษตรกรรม ผลผลิตที่เหลือใช้จากการเกษตรมีปริมาณสูงยกตัวอย่างเช่น แกลบ ฟางข้าว ข้าวโพดและเศษไม้ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่จะมีการจัดการวัสดุเหล่านี้โดยการเผา ซึ่งผลที่ตามมาจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องฝุ่น เขม่า และหมอกควัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ดังนั้นถ้าหากมีเทคโนโลยีที่สามารถนำเอาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นพลังงานแล้วสามารถนำไปใช้ทดแทนแก๊สหุงต้มก็จะส่งผลให้ชุมชนสามารถลดรายจ่ายเรื่องแก๊สหุงต้มและลดปัญหาการเกิดหมอกควันในชุมชนได้ สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ในระยะ 15 ปี (พ.ศ.2555-2569) “เป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างความสมดุล เคารพและเป็นมิตรกับธรรมชาติ รักษาวัฒนธรรมและความดีงาม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและยั่งยืน” ที่มีเป้าหมายหลักของการพัฒนาเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต ที่ให้ความสำคัญของการเกษตร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงาม เท่าทันโลกของความเป็นจริง ตามทันและรู้ทันการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และมีธรรมาภิบาล

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเต๋าโลประสิทธิภาพสูงร่วมกับการเรียนการสอนและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ และการปฏิบัติงานในการสร้างเต๋าโลประสิทธิภาพสูงสำหรับการส่งเสริมใช้งานภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนรอบมหาวิทยาลัย
เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาตระหนักถึงการใช้ชีวมวลในรูปแบบพลังงานใกล้ตัวและเป็นแนวทางในการลดการใช้แก๊สหุงต้มในอนาคต
เพื่อทำนุบำรุงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยในการดำรงชีวิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเต๋าโลประสิทธิภาพสูงร่วมกับการเรียนการสอนและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
KPI 1 : องค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสร้างเต๋าโลประสิทธิภาพสูง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนเต๋าโลที่ผลิตได้และพร้อมส่งเสริมให้กับกิจการมหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ลูก 20
KPI 3 : องค์ความรู้บูรณาการด้านทำนุบำรุง ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับศาสตร์สาขาอาชีพตนเอง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเต๋าโลประสิทธิภาพสูงร่วมกับการเรียนการสอนและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมหลัก: การสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาการพัฒนาเต๋าโล (อั้งโล่) ประสิทธิภาพสูงเพื่อลดโลกร้อนมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 07/05/2562 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกราน  หอมดวง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จัดในมหาวิทยาลัย 100 คน ๆ ละ 30 บาท 5 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทำเอกสารอบรม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 15 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าป้ายไวนิล จำนวน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ) 1 คน 3 ชั่วโมง 600 บาท/ชั้วโมง 5 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุก่อสร้าง จำนวน 9,100 บาท
ค่าวัสดุเกษตร จำนวน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,100.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 40000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล