13954 : โครงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
อาจารย์พีรดา ประจงการ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/1/2562 14:04:20
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
28/01/2562  ถึง  31/05/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  260  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมายภายนอก จำนวน 180 คน ประกอบด้วย ประชาชนทั่วไปและเกษตรกรก่อนวัยสูงอายุ เจ้าหน้าที่องค์กรบริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลป่าไผ่ รวมทั้ง เด็กและเยาวชน สภาเด็กและเยาวชนตำบลป่าไผ่ (กิจกรรมที่ 1 จำนวน 100 คน กิจกรรมที่ 3 จำนวน 30 คน กิจกรรมที่ 4 จำนวน 30 คน กิจกรรมเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคีเครือข่าย จำนวน 20 คน) ส่วนกลุ่มเป้าหมายภายใน จำนวน 80 คน คือ นักศึกษาในรายวิชาที่เกี่ยวข้องที่สนใจเข้าร่วมดำเนินโครงการ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะศิลปศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4) 2562 5,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ พีรดา  ประจงการ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.1 ร้อยละของงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA62-4 การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ LA62-4.1 การบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่พัฒนาและตอบสนองความต้องการของชุมชน
ตัวชี้วัด LA62-4.1 1.จำนวนโครงการ/ กิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชนที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
กลยุทธ์ LA62-4.1 ส่งเสริมความร่วมมือการจัดทำโครงการบริการวิชาการระหว่างคณะและชุมชนเพื่อตอบสนองและพัฒนาชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนผ่านของสังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยของไทยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และคาดว่าประเทศไทยจะเป็น “สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์” (Complete Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 และเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) ภายในปี พ.ศ. 2578 โดยประมาณการว่า จะมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ของจำนวนประชากรทั้งหมดซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนระดับที่รวดเร็วมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่ผลจากการศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย พบว่า ประชาชนไทยส่วนใหญ่ขาดการเตรียมพร้อม ในขณะที่ประชาชนบางส่วนมีความต้องการที่จะเตรียมความพร้อมแต่ก็ยังไม่สามารถจะปฏิบัติการได้เนื่องจากต้องมุ่งจัดการกับปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันและปัญหาในการประกอบอาชีพซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะหน้าส่งผลทำให้การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยถูกละเลยและลดความสำคัญโดยเฉพาะประชาชนที่เป็นแรงงานในภาคการผลิตและบริการต่างๆ จะทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับการทำงานหรือการประกอบอาชีพเป็นสำคัญ โดยขาดความตระหนักถึงการวางแผนเข้าสู่วัยสูงวัยเพราะคิดว่าการสูงอายุเป็นสิ่งยังมาไม่ถึงและเป็นเรื่องไกลตัวจึงไม่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อม ทว่าในสถานการณ์ปัจจุบันกลับพบว่าผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุต้องประสบปัญหาในการดำรงชีวิตในหลายด้านซึ่งมีสาเหตุจากการขาดการเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเงินส่วนบุคคล ปัญหาสุขภาพ ปัญหาที่อยู่อาศัยและความสัมพันธ์ในครอบครัว ในขณะเดียวกันก็พบว่าหนุ่มสาววัยแรงงานเจนเนอเรชั่นวายก็กำลังประสบปัญหาหนี้สินเพราะยึดถือค่านิยมวัตถุและการบริโภคนิยมและการเผชิญกับเงื่อนไขในการทำงานที่ทำให้ไม่มีความมั่นคงในการทำงาน จากสภาพปัญหาดังกล่าวทำให้ภาครัฐมีความตื่นตัวในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุและมีการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปในวงกว้าง โดยประเด็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุถูกหนดไว้ในแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 -2564) ซึ่งมีเป้าหมายที่ต้องการสร้างจิตสำนึกให้กับคนในสังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สููงอายุและความสำคัญของการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพและเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี สามารถพึ่งตนเองได้ รวมถึงมีหลักประกันในชีวิตที่มั่นคงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ดังที่กล่าวไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 1 ของแผนผู้สูงอายุแห่งชาติดังกล่าวที่ต้องการให้ประชากรได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุจึงมีความสำคัญเพราะถือเป็นการสร้างหลักประกันและสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุในอนาคต ซึ่งการเตรียมความพร้อมประกอบด้วยหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านสุขภาพทั้งกายและจิตใจ ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านสังคม และด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว เป็นต้น โครงการเตรียมความพร้อมของประชาชนก่อนวัยสูงอายุ มุ่งเน้นให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุตามความต้องการของประชาชนกลุ่มเป้าหมายภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะศิลปศาสตร์กับภาคีเครือข่ายต่างๆ ในชุนชนนำร่องของโครงการจะได้ร่วมมือกันดำเนินการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยให้แก่ประชาชนก่อนวัยสูงอายุ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. ให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแก่ประชาชนก่อนวัยสูงอายุ
2. ให้ความรู้และเสริมพลังให้ภาคีเครือข่ายในชุมชนในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
3. ให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุให้แก่นักศึกษา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
KPI 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
ผลผลิต : 2. ภาคีเครือข่ายในชุมชนได้รับความรู้ เห็นความสำคัญ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
KPI 1 : จำนวนภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมและให้การสนับสนุนกิจกรรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 จำนวนเครือข่าย 5
ผลผลิต : 3. นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
KPI 1 : นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ ร้อยละ 80 ขึ้นไป
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1 การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย 100 คน (บูรณาการบริการวิชาการกับการวิจัย) ณ รพ.สต ศรีบัญเรือง และ รพ.สต. ป่าเหมือด

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/01/2562 - 01/02/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอร  ศิริสัญลักษณ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์พีรดา  ประจงการ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่มีเบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้การเตรียมความพร้อม ครั้งที่ 2 ความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยสำหรับการเป็นผู้สูงอายุในอนาคต (บูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 80 คน)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/02/2562 - 15/02/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอร  ศิริสัญลักษณ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์  ชายทวีป (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์พีรดา  ประจงการ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่มีเบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การเตรียมความพร้อม ครั้งที่ 3 เตรียมความพร้อมเพื่อการสูงวัยเชิงบวก (กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน) ณ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลป่าไผ่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/02/2562 - 28/02/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอร  ศิริสัญลักษณ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์  ชายทวีป (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์พีรดา  ประจงการ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (30 คนx20 บาท x2 มื้อ )
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (30 คนx 40 บาท x 1มื้อ )
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ (ปากกา,กระดาษ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2500.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการในการเตรียมความพร้อม ครั้งที่ 4 เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสำหรับแก่เยาวชน สภาเด็กและเยาวชน จำนวน 30 คน ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลป่าไผ่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2562 - 08/03/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอร  ศิริสัญลักษณ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์  ชายทวีป (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์พีรดา  ประจงการ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (30 คนx20 บาท x2 มื้อ )
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (30 คนx 40 บาท x 1มื้อ )
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ (กระดาษ,ปากกา)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2500.00
ผลผลิต : 2. ภาคีเครือข่ายในชุมชนได้รับความรู้ เห็นความสำคัญ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ชื่อกิจกรรม :
เสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคีเคริอข่ายในชุมชนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลป่าไผ่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2562 - 16/03/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอร  ศิริสัญลักษณ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์  ชายทวีป (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์พีรดา  ประจงการ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่มีเบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ผลผลิต : 3. นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ชื่อกิจกรรม :
บูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/01/2562 - 31/03/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอร  ศิริสัญลักษณ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์  ชายทวีป (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์พีรดา  ประจงการ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่มีเบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
กลุ่มเป้าหมายมีข้อจำกัดด้านเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปรับเปลี่ยนเวลาในการดำเนินกิจกรรมให้มีความยืดหยุ่นและนัดหมายให้ตรงกับกิจกรรมการประชุมในชุุมชน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล