13891 : โครงการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ : การสร้างเสริมด้านโภชนาการอาหารกลางวันและสนับสนุนการเรียนการสอนสำหรับสถานศึกษาบนพื้นที่สูง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 9/1/2562 11:30:10
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์ (Go Eco U.)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
10/01/2562  ถึง  31/01/2562
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สโมสรนักศึกษา และนักศึกษา คณะเทคโนโลยีประมงฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประชาชน เยาวชน และผู้นำหมู่บ้านในพื้นที่บ้านแม่ลามาน้อย และบ้านแม่ลามาหลวง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณเงินรายได้ของคณะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่สังคม กองทุนบริการ วิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ จำนวน 15,000 บาท 2562 15,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์  สุวรรณรักษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี  วิระสิทธิ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT.62-4.การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชนและสนองงานโครงการในพระราชดำริ
เป้าประสงค์ FT.62-4.2 เป็นคณะที่สนองโครงการในพระราชดำริ
ตัวชี้วัด FT.62-4-7 ระดับความสำเร็จในการดำเนินโครงการตามพระราชดำริ
กลยุทธ์ FT.62-4.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนองค์ความรู้ จากการบูรณาการร่วมกับโครงการปัญญาอาสา: ดิน น้ำ ป่า ปัญญา อาชีพ ตอนสร้างอาหารกลางวัน สร้างอาชีพ และสร้างการศึกษา เพื่อพี่น้องบนที่สูง โดยได้กำหนดให้จัดกิจกรรมการสร้างห้องสมุดชุมชน คอกไก่ เล้าหมู บ่อเลี้ยงปลา และพัฒนาถนนสำหรับเข้า-ออกหมู่บ้าน เพื่อรองรับการใช้งานของผู้สัญจร รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม และยังส่งผลต่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดี่ยวกันของคณะนักศึกษา บัณฑิตศึกษา คณาจารย์และหน่วยงานเอกชนอีกด้วย โดยในการดำเนินโครงการประกอบไปด้วยกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดการระบบนิเวศวิทยาแหล่งน้ำ โดยคณาจารย์และนักศึกษานำองค์ความรู้ด้านการประมง เพื่อวางรากฐานความรู้ให้แก่เยาวชนเพื่อการเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน และให้มีความตระหนักและมีความหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนของตัวเอง อันจะเป็นจุดเริ่มต้นของความยั่งยืนของการพัฒนาที่เป็นตัวเริ่มต้นจากความสามารถของการดำเนินการของชุมชนเอง สร้างอาหาร อาชีพ ไปสู่การสร้างปัญญา และพัฒนาสังคมทุกระดับอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ศูนย์การเรียนรู้หญ้าแพรกสาละวิน เป็นพื้นที่สำนักงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (สพป.) เขต 2 จังหวัดแม่ฮ่องสอน ครอบคลุมพื้นที่บ้านแม่ลามาน้อย และบ้านแม่ลามาหลวง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนบ้านแม่ลิด โรงเรียนห้วยวอก โรงเรียนห้วยห้า โรงเรียนอุมลอง โรงเรียนห้องกระต่าย โรงเรียนบ้านแม่กองคา และโรงเรียนบ้านสบเมย ปัจจุบันใช้หลักสูตรวิถีชีวิตปกาเกอะญอลุ่มน้ำสาละวิน“อาหาร ยา ผ้า บ้าน” สำหรับจัดการเรียนรู้หลักให้กับผู้เรียน โดยนำเอาองค์ความรู้ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาของชุมชนเป็นต้นทุน ในการออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ และการประเมินผลตามสภาพจริงของพัฒนาการผู้เรียนเป็นรายบุคคล ด้วยกลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ (เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางฯ พ.ศ.2551 สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ) เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาผู้เรียนทุกคน ให้เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ให้มีความพร้อมด้านคุณภาพของจิตใจ มีความรู้ มีคุณธรรม มีจิตสำนึกสาธารณะในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก อันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของชุมชน ศูนย์การเรียนรู้หญ้าแพรกสาละวิน เริ่มก่อตั้งในปีการศึกษา พ.ศ. 2556 โดยสำนักงานการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยตลอดชีวิต (กศน.อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน) ได้ยุติการจัดการเรียนการสอนต่อกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชน ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ส่งผลให้เด็กนักเรียนในบ้านแม่ลามาน้อย และบ้านห้วยมะโอ ในระดับประถมศึกษาจำนวน 35คน (อายุ 7ปี ถึง 12 ปี) ต้องออกจากชุมชนไปเรียนหนังสือนอกหมู่บ้านโดยอาศัยอยู่ในหอพัก หรืออาศัยอยู่กับญาติ ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อ แม่ พี่ และน้อง และมีเด็กระดับปฐมวัย จำนวน24คน(อายุ 3 ปี ถึง7ปี) ที่ขาดโอกาสในการพัฒนาการเรียนรู้โดยสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นทั่วไปทั้งตำบลอย่างฉับพลัน ผู้ปกครองและโรงเรียนในกำกับดูแลของ สนง.เขตพื้นที่การศึกษา ไม่ได้รับรู้มาก่อน จึงเกิดความเดือดร้อนจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวในพื้นที่ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีอยู่ 6 ตำบล ตำบลละ 10 หย่อมบ้านโดยประมาณ เด็กผู้เรียนได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงหย่อมบ้านละประมาณ 20 คน (200 คน ต่อ 1 ตำบล) ทั้งอำเภอ ไม่น้อยกว่า 1,000 คน ปัจจุบันรูปแบบการสอนสำหรับเยาวชนในพื้นที่ซึ่งอยู่ในวัยนักเรียน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคลากรที่สำคัญของครอบครัว และชุมชน โดย “นุ้ย” อำภา ธวัชวิฑูรย์ (2558) ได้กำหนดคำในภาษากะเหรี่ยง ร่วมกับผู้รู้ ผู้ปกครอง ว่า “ต่ามาโละ ต่าโอมู” หมายถึง “การเรียนรู้ เพื่อ การมีชีวิตที่ดีงาม” ซึ่ง พะตีจอนิ (2558) ปราชญชาวกะเหรี่ยง ได้ระบุถึงความหมายอีกอย่าง คือ “การมีชีวิตที่ดีงาม อันเนื่องด้วยการเรียนรู้” ซึ่งผู้รู้ ผู้ปกครองได้ระบุถึงขอบเขตเชิงเป้าหมายต่อการจัดการเรียนรู้ เพื่อการมีชีวิตที่ดีงาม สำหรับเด็กผู้เรียนในระดับประถมศึกษา เป้าหมายคือ จัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างความสามารถในการดูแลตนเองได้ และสำหรับเด็กผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษา เป้าหมายคือ จัดการเรียนรู้ เพื่อ สร้างความสามารถในการดูแลครอบครัวได้ ส่วนการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา เป้าหมายการเรียนรู้ คือ การสร้างความสามารถในการดูแลชุมชน ต้องการเรียนรู้อย่างมีความสุข ในวิถีชีวิตของตน เพื่อสร้างโอกาสสำคัญของชีวิตในการเรียนรู้เข้าถึงความจริง ความสำคัญของการจัดการศึกษา คือ คุณค่าแท้ในการพัฒนาตนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ที่กระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย ไม่สามารถทำได้ เป็นสิ่งสำคัญ ที่ที่มีค่าที่สุดเท่าทีชีวิตได้รับรู้มา ผมจึงยอมแลกด้วยเลาทั้งหมดในชีวิตที่เหลือ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและสร้างโอกาสเรียนรู้ และฝึกตนอย่างสุดกำลังความรู้ความสามารถ ให้เกิดโอกาสในการสัมผัสรู้ถึง “อิสรภาพและใจสงบ” ตามคำแนะนำของ ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ดังคำกล่าวที่ว่า “เพราะสัมผัสรู้ได้ด้วยใจ ในโอกาสที่เด็กๆ เอื้อให้ด้วยความตั้งใจของเขาเหล่านั้นอย่างไม่รู้ตัว” คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับบริษัทในเครือ NK group นำโดยบริษัทไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยหน่วยงานราชการภายในพื้นที่อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้กำหนดจัดโครงการ “ไทยลักซ์-แม่โจ้ ปันน้ำใจต้านภัยหนาว ปีที่ 10” ระหว่างวันที่ 10-16 มกราคม 2562 ณ ศูนย์การเรียนรู้หญ้าแพรกสาละวิน ในพื้นที่บ้านแม่ลามาน้อย และบ้านแม่ลามาหลวง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมและพัฒนาสิ่งปลูกสร้างที่จำเป็นแก่ประชาชนผู้ยากไร้ในถิ่นทุรกันดาร โดยการจัดหาผ้าห่ม เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรคและเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นพื้นฐานแก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือในด้านสาธารณูปโภคบริโภคและเพื่อแสดงออกถึงความมีน้ำใจแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง เกิดความยั่งยืนต่อชุมชน และเนื่องในวาระครบรอบปีที่ 10 ของการดำเนินงานสนับสนุนงานโครงการในพระราชดำริ จึงมีกำหนดการสร้าง “อาคารเรียน 10 ปี ไทยลักซ์-แม่โจ้” เพื่อเป็นสถานที่ดำเนินงานด้านต่างๆ และให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสืบสานโครงการในพระราชดำริ
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการทางด้านการประมงด้วยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและปลูกพืชอย่างถูกวิธี
สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรของมหาวิทยาลัยกับองค์กรเอกชนในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย คือ ในพื้นที่บ้านแม่ลา มาน้อย และบ้านแม่ลามาหลวง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่เป็นนักปฏิบัติที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ
เพื่อสร้างความตระหนักในวิชาชีพประมงสำหรับนักศึกษาด้านการใช้ประโยชน์ของชุมชนจากงานวิชาการอย่างยั่งยืน
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและจัดหากิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการที่มีการนำความรู้ของอาจารย์และบุคลากรมาให้บริการทางวิชาการ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้รับบริการจากโครงการ/กิจกรรมมีความรู้ทางด้านการประมงแบบบูรณาการและสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างยั่งยืน
KPI 1 : จำนวนเอกสารประกอบกิจกรรม (รวมแบบประเมินผล)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ชุด 100
KPI 2 : ระดับคะแนนของการใช้ประโยชน์ของผู้ร่วมกิจกรรมหลังจากการจัดกิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คะแนน 3.51
KPI 3 : ร้อยละของกิจกรรมเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดรรม
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 4 : จำนวนคู่มือสำรวจชนิดพรรณปลาเชิงนิเวศ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ฉบับ 50
KPI 5 : ระดับคะแนนของความรู้ของผู้ร่วมกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นหลังจากการจัดกิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คะแนน 3.51
KPI 6 : จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ครั้ง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้รับบริการจากโครงการ/กิจกรรมมีความรู้ทางด้านการประมงแบบบูรณาการและสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างยั่งยืน
ชื่อกิจกรรม :
การสร้างเสริมด้านโภชนาการอาหารกลางวันและสนับสนุนการเรียนการสอนสำหรับสถานศึกษาบนพื้นที่สูง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/01/2562 - 31/01/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์  สุวรรณรักษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายประเสริฐ  ประสงค์ผล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าจ้างเหมารถยนต์ในอัตรารวมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 2 คัน ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การเดินทางเป็นหมู่คณะอาจไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาเนื่องด้วยสภาพการสัญจรบนภูเขาไม่อำนวย
เยาวชนหรือบุคคลทั่วไปในชุมชนมีช่องทางการเข้าถึงงานประชาสัมพันธ์กิจกรรม/โครงการต่างๆ ค่อนข้างจำกัดจึงอาจจะไม่ได้เข้าร่วมอย่างทั่วถึง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
คณะดำเนินงานต้องมีประสบการณ์และความชำนาญในการใช้ยานพาหนะเพื่อป้องกันอุบัติเหตุระหว่างการดำเนินกิจกรรม
เพิ่มการประชาสัมพันธ์ช่องทางการให้บริการแก่ชุมชนผ่านผู้นำชุมชนและตัวบุคคลเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเตรียมความพร้อมก่อนการดำเนินงาน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล