13829 : โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์มะเกี๋ยงแก่วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และนักเรียน ในจังหวัดแพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/8/2562 15:28:24
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
11/01/2562  ถึง  30/09/2562
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  120  คน
รายละเอียด  นักเรียน/นักศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาชน และเกษตรกรทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2562 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อิศรา  วัฒนนภาเกษม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.1 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐษน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์ม ต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร
เป้าประสงค์ 3.3 เป็นมหาวิทยาลัยที่สนองงานโครงการในพระราชดำริ
ตัวชี้วัด 3.3.1 จำนวนโครงการสนองงานในพระราชดำริ/โครงการอพสธ /โครงการภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ บูรณาการโครงการพระราชดำริ กับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ทิศทางของกระแสการรักสุขภาพเริ่มเพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือเครื่องสำอาง ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งมิได้จำกัดเพียงกลุ่มของผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มของกลุ่มคนทั่วไปที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งมีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น ไปจนถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจในสุขภาพด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่มาจากพืชสมุนไพร หรือวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีการวิจัยการศึกษาถึงคุณสมบัติเชิงหน้าที่ เช่น มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือบทบาทเกี่ยวข้องกับกลไกที่ช่วยป้องกันและลดอัตราเสี่ยงของโรคเรื้อรังนั้น จะได้รับความสนใจนำมาผลิตเป็นอาหารหรือเครื่องสำอางเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบอีกทางหนึ่งด้วย มะเกี๋ยงซึ่งเป็นพืชตัวอย่างที่จะทำการศึกษาจากพืชที่มีโอกาสสูญพันธุ์นำมาศึกษาวิจัย จนแนวโน้มจะเป็นพืชเศรษฐกิจหรือพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมนั้น โดยผลการวิจัยพบว่า ในมะเกี๋ยงมีสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในปริมาณสูง ซึ่งสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารเพื่อสุขภาพได้โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีความพร้อมและมีศักยภาพที่จะดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตมะเกี๋ยงในแก่ชุมชน นอกจากนั้นทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่ เฉลิมพระเกียรติได้ทำการผลิตแยมมะเกี๋ยงเพื่อจัดจำหน่ายแก่ ทาง อ.ส.ค. ซึ่งการต่อยอดจากตัวผลิตภัณฑ์แยมมะเกี๋ยงเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ จะช่วยเพิ่มความหลากหลายแก่ตัวผลมะเกี๋ยง และแยมมะเกี๋ยง ดังนั้นจึงขออนุมัติจัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มะเกี๋ยงทางอาหารและเครื่องสำอาง แก่เกษตรกรและผู้สนใจในจังหวัดแพร่

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อใช้ประโยชน์จากมะเกี๋ยงและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มะเกี๋ยงทางอาหารและเครื่องสำอาง แก่เกษตรกรผู้สนใจ ในพื้นที่จังหวัดแพร่
2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การแปรรูปมะเกี๋ยงในรูปแบบต่างๆ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์มะเกี๋ยงแก่วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และนักเรียน ในจังหวัดแพร่
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปจากมะเกี๋ยง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการต่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 120
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์มะเกี๋ยงแก่วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และนักเรียน ในจังหวัดแพร่
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมสัมมนา อภิปราย และ/ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร ผู้สนใจทั่วไป และนักเรียน ในเขตจังหวัดแพร่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 11/01/2562 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศรา  วัฒนนภาเกษม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายอนุกูล  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายธวัชชัย  ชัยธวัชวิถี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.สุภารัตน์  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.รรินธร  ธรรมกุลกระจ่าง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางสุรัลชนา  มะโนเนือง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายกิติพงษ์  วุฒิญาณ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.บังอร  ปินนะ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,450 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท จำนวน เป็นเงิน 4,900 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 8,400 บาท
4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 80 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 9,600 บาท
5. ค่าจ้างเหมาออกแบบต้นแบบบรรจุภัณฑ์ จำนวน 1 งาน ๆ ละ 35,000 บาท เป็นเงิน 35,000 บาท
6. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
7. ค่าจ้างเหมาแกะผลมะเกี๋ยงสด จำนวน 250 กิโลกรัม ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 17,500 บาท
8. ค่าจ้างเหมารถยนต์ขนสัมภาระในการฝึกอบรม จำนวน 3 ครั้ง ๆ ละ ครั้งละ 2,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
9. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เป็นเงิน 1,450 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 86,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชม. ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 800 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชม. ๆ ละ 600 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 32,400 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 1 ชม. ๆ ละ 600 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 38,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 38,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เป็นเงิน 42,600 บาท
2. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 20,000 บาท
3. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 5,000 บาท
4. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 7,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 75,100.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 200000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล