13757 : สวนสมุนไพรเพื่อการถ่ายทอดความรู้และบริการวิชาการแก่สังคมในลักษณะการบูรณาการ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
อาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/2/2562 14:46:17
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
10/12/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  กลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลละแม, นักศึกษา บุคลากร คณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และบุคคลทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 บริการวิชาการฯ 2562 4,200.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.4 พัฒนาโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการศาสตร์พระราชา และเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างสังคมเชิงนิเวศต้นแบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.การบริการวิชาการด้านการเกษตรสุขภาวะเพื่อสังคมชุมชน
เป้าประสงค์ 3.1 เป็นโครงการบริการวิชาการที่ยกระดับความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ตัวชี้วัด 3.1.2 จำนวนโครงการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน
กลยุทธ์ 2. มีการสำรวจความต้องการของชุมชนในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การใช้สมุนไพรเพื่อบำบัดรักษาโรค ในกรณีที่เจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ของคนไทยในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมาก จากภูมิปัญญาไทยตามการพัฒนาของแพทย์แผนไทย สู่การนำสมุนไพรมาพัฒนาเป็นยาสามัญประจำบ้าน เพื่อเข้าสู้บัญชียาหลักแห่งชาติ และนำเข้ามาจ่ายยาในโรงพยาบาลรัฐ ทำให้สามารถช่วยลดรายจ่ายค่ายาในเเบื้องต้นได้ อีกทั้งสามารถนำสมุนไพรมาปลูกไว้ใช้สอยเป็นยาสามัญประจำบ้านในครัวเรือน อ้างจากข้อมูลของ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เปิดเผยสมุนไพรไทยถือเป็นทางเลือกที่คนทั่วไปนิยมใช้ดูแลสุขภาพในเบื้องต้น คือ 10 พืชสมุนไพรประจำบ้าน เพื่อใช้ดูแลสุขภาพเบ้องต้น ซึ่งประกอบด้วย 1. กระเพราแดง 2. ขิง 3. ตะไคร้ 4. ช้าพลู 5. บัวบก 6. ฟ้าทะลายโจร 7. มะกรูด 8. มะระขี้นก 9. ว่านหางจระเข้ และ10.สะระแหน่ นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรที่ควรปลูกไว้เป็นยาสามัญประจำบ้านอีก เช่น ขมิ้นชัน ไพล ขิง ขี้เหล็ก ช้าพลู ชุมเห็ดเทศ ใบเตย พลู เพชรสังฆาต บอระเพ็ด ตำลึง มะแว้งเครือ รางจืด สาระแหน่ เสดพังพอนตัวเมีย หญ้าหนวดแมว หนุมานประมานกาย อบเชยเถา ว่างหางจระเข้ และอื่นๆ จากการสำรวจความต้องการของชุมชนในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน พบว่า ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลละแม มีความประสงค์ “ปลูกสมุนไพรประจำบ้าน” แต่ประสบปัญหาขาดแคลนต้นพันธุ์สมุนไพร และข้อมูลสนันสนุนเกี่ยวกับสมุนไพร เพื่อนำไปส่งเสริมให้มีการนำสมุนไพรมาปลูกและการใช้ให้เกิดประโยชน์ในครัวเรือน ตามนโยบายรัฐบาลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีสวนสมุนไพรที่เริ่มดำเนินการตามที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 และปี 2560 เป็นเวลา 2 ปีต่อเนื่อง จึงได้เป็นฐานการเรียนรู้ฐานหนึ่งในการปลูกสมุนไพรที่มีศักยภาพในการรักษาโรคตามภูมิปัญญาท้องถิ่นและปลูกพืชสมุนไพรตามตำรับยาหมอพร และจากวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มุ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการเกษตรสุขภาวะระดับชาติ เพื่อให้การดำเนินการโครงการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนให้มหาวิยาลัยไปสู่เป้าหมาย การดูแลฐานการเรียนรู้สวนสมุนไพรได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และการดำเนินการของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน บูรณาการกับการเรียนการสอน คณะทำงานจึงวางแผนโครงการเป็นแบบบูรณาการ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและนำนักศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาช่วยในการดูแล ปลูก เพาะ ขยายพันธุ์สมุนไพร ผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษพืชและมูลสัตว์เพื่อนำมาใช้เป็นปุ๋ยในฐานการเรียนรู้สวนสมุนไพร อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษา ส่งเสริมให้นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากศาสตร์สาขาของตนมาใช้ในการบูรณาการการบริการวิชาการด้านการเกษตรสุขภาวะแก่สังคมชุมชน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่เป็นยาสามัญประจำบ้านกับการบริการวิชาการแก่สังคมและการเรียนการสอน
2.เพื่อแจกจ่ายต้นพันธุ์สมุนไพรประจำบ้านแก่กลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลละแม และบุคคลทั่วไป
3.เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้จัดการนำความรู้ศาสตร์สาขาของตนมาบูรณาการกับกิจกรรมการบริการวิชาการ
4.เพื่อให้การดูแลฐานการเรียนรู้สวนสมุนไพรเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. มีเอกสารแผ่นพับเกี่ยวกับสมุนไพร อย่างน้อย 3 เรื่อง 2. มีต้นพันธ์สมุนไพรเพื่อแจกจ่าย อย่างน้อย 150 ต้น
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 40
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. มีเอกสารแผ่นพับเกี่ยวกับสมุนไพร อย่างน้อย 3 เรื่อง 2. มีต้นพันธ์สมุนไพรเพื่อแจกจ่าย อย่างน้อย 150 ต้น
ชื่อกิจกรรม :
1.ดูแลสมุนไพรในสวนเดิม และจัดสวน ผู้รับผิดชอบ คุณรังสิวุฒิ สิงห์คำ
2.ทำปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ ผู้รับผิดชอบ คุณชัยวิชิต เพชรศิลา
3.เพาะต้นพันธุ์สมุนไพร ผู้รับผิดชอบ อาจารย์จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์
4.จัดทำเอกสารแผ่นพับ
5.จัดกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วม/ฝึกอบรมระยะเวลาสั้น
6.แจกจ่ายต้นพันธุ์สมุนไพรและเอกสารแผ่นพับ
7.บูรณาการกับการเรียนการสอน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/12/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 25 บาท × 40 คน × 1 ครั้ง) รวมเป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ถุงเพาะชำ (กิโลกรัมละ 80 บาท × 3 กิโลกรัม) รวมเป็นเงิน 240 บาท
- ค่าถุงหูหิ้ว (แพคละ 50 บาท × 3 แพค) รวมเป็นเงิน 150 บาท
- ค่าดินปลูก (ถุงละ 25 บาท × 10 ถุง) รวมเป็นเงิน 250 บาท
- ค่ามูลสัตว์ (กระสอบละ 50 บาท × 10 กระสอบ) รวมเป็นเงิน 500 บาท
- ค่าขุยมะพร้าว (กระสอบละ 50 บาท × 10 กระสอบ) รวมเป็นเงิน 500 บาท
- ค่าพลาสติกดำพีวีซี 1 ผืน เป็นเงิน 340 บาท

- ค่าเอกสารแผ่นพับ 500 บาท
- ค่าป้ายโครงการ 300 บาท
- ค่าสติ๊กเกอร์ 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 4200.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
1.การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การจัดสวนสมุนไพรและการนำสมุนไพรไปใช้ประโยชน์ ในรายวิชาการพัฒนาวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลโยี วท 102 ประกอบบทเรียนเรื่อง สมุนไพร ฯ ปีการศึกษา 2561 รหว่าง 10/12/61-31/05/62 2.เรื่องสารสำคัญจากพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในสวนสมุนไพรทีศักยภาพในการรักษาโรค ปีการศึกษา 2561 รหว่าง 10/12/61-31/05/62 3.เรื่องสารสำคัญจากสมุนไพรที่ถูกนำไปเติมในอาหารเสริม หรือผลิตัณฑ์ยา เครื่องสำอางค์ ปีการศึกษา 2562 รหว่าง 01/06/62-31/10/62
ช่วงเวลา : 10/12/2561 - 31/10/2562
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล