13690 : โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกลูกผสมในร่องสวนปาล์มน้ำมันด้วยวัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น เพื่อ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และ ผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับบริโภค
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
น.ส.ตรีชฎา สุวรรณโน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 27/12/2561 9:53:26
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  60  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน60คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมายหลัก : ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ สวนผลไม้ และการประมง) กลุ่มเป้าหมายรอง : ประชาชนทั่วไปทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการ 2562 80,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุทธนา  สว่างอารมย์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.1 ร้อยละของงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.การบริการวิชาการด้านการเกษตรสุขภาวะเพื่อสังคมชุมชน
เป้าประสงค์ 3.1 เป็นโครงการบริการวิชาการที่ยกระดับความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ตัวชี้วัด 3.1.1 ร้อยละงบประมาณบริการวิชาการ ที่ได้รับการสนับสนุนที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 1. กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โดยจังหวัดในแถบภาคใต้ตอนบนของประเทศไทยส่วนใหญ่เกษตรกรจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก โดยพืชเศรษฐกิจหลักจะเป็นปาล์มน้ำมันและยางพารา และเกษตรกรนิยมปลูกบ้านพักอาศัยอยู่ในสวนของตนจึงมีวิถีชีวิตแบบชาวชนบททั่วไปที่มีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย โดยอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อจะหาได้จากในท้องถิ่น โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่ถือว่าวัตถุดิบอาหารที่ขึ้นชื่ออีกชนิดนี้หนึ่งที่อยู่เคียงคู่สำรับอาหารของเกษตรกรมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสัตว์น้ำต่างๆ เหล่านี้เกษตรกรสามารถหาได้ง่ายตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อครั้งอดีตแต่ปัจจุบันกลับไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป จึงทำให้ปัจจุบันวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายต่างๆ เหล่านี้ ถูกทำให้เปลี่ยนไปอย่างน่าตกใจ เนื่องจากวัตถุดิบอาหารที่ใช้ในการปรุงอาหารในแต่ละมื้อเกษตรกรกลับจำเป็นต้องไปตลาดเพื่อจับจ่ายซื้อหากลับมา ส่งผลให้การดำรงชีวิตลำบาก เนื่องจากมีต้นทุนในการดำรงชีวิตในแต่ละวันมีค่าสูงขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีความเป็นเลิศทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะสาขาวิชาการประมง อีกทั้งยังอยู่ในพื้นที่จึงมีความรู้ ความเข้าใจ ปัญหาต่างๆ ที่เกษตรกรประสบอยู่ จึงได้มีความพยายามเร่งศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องของเกษตรกร โดยการน้อมนำเอาแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ โดยเน้นใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการรวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสมเข้าด้วยกันเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ สภาพแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และบริบทของภาคใต้ตอนบน ซึ่งจากการลงพื้นที่พบเกษตรกรและตรวจเอกสารต่างๆ ได้พบว่าพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ในปี 2556 จังหวัดชุมพรมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากจังหวัดกระบี่ และสุราษฎร์ธานี ตามลำดับ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันประมาณ 838,758 ไร่ และให้ผลผลิตประมาณ 2,243,630 ตัน ซึ่งสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรส่วนใหญ่จะมีการวางตำแหน่งการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นแนวรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า(ระยะปลูก 9 x 9 x 9 เมตร) จึงทำให้สวนปาล์มน้ำมันโดยทั่วไปมีพื้นที่ว่างระหว่างแถวปาล์มถูกปล่อยทิ้งเป็นพื้นที่กว้างซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่ว่างเปล่าเหล่านี้เป็นเพียงที่ทิ้งทางใบปาล์มน้ำมันหรือขุดร่องน้ำภายในสวนปาล์มน้ำมันเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง ซึ่งจากการสังเกตพบว่าภายในร่องน้ำนั้นจะมีน้ำอยู่ในระดับสูงเกือบตลอดทั้งปี ดังนั้น ทางคณะทำงานจึงควรนำร่องน้ำดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งจะเป็นการใช้พื้นที่ภายในสวนปาล์มน้ำมันไปในทางให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปลาดุกลูกผสม (Clariasmacrocephalus x C. gariepinus) เป็นปลาน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิดที่ประชาชนในแถบจังหวัดภาคใต้ตอนบนให้การยอมรับและนิยมนำมาใช้ในการปรุงอาหาร นอกจากนี้ปลาชนิดนี้ยังเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย สามารถกินอาหารได้เกือบทุกชนิด มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว โดยเลี้ยงเพียง 60 - 75 วัน ปลาจะมีขนาดน้ำหนักตัวสูง 200-300 กรัม ซึ่งเป็นขนาดที่สามารถนำบริโภคหรือจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ อีกทั้งไม่ค่อยมีโรคและพยาธิมาเบียดเบียน และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี จึงสามารถเลี้ยงด้วยอัตราความหนาแน่นสูงได้ จึงจัดเป็นปลาชนิดต้นๆ ที่ควรส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยง แต่จากการพูดคุยพบว่า ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งนั้นในการส่งเสริมการเลี้ยงปลา เกษตรกรส่วนใหญ่จะประสบปัญหาในเรื่องเดียวกันนั้นก็คือ อาหารปลาสำเร็จรูปที่ขายกันในท้องตลาดมีราคาสูงถึง 25 -30 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวทำให้ ยุทธนาและคณะ (2551) และพยายามศึกษาแนวทางในการลดต้นทุนค่าอาหารปลาด้วยการใช้กากสลัดปาล์มมาเป็นส่วนผสมในสูตรอาหาร ในการเลี้ยงปลาดุกลูกผสมในร่องสวนปาล์มน้ำมัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก เครือข่ายการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน สกอ. ภาคใต้ตอนบน ปีงบประมาณ 2551 และพบว่า หากเกษตรกรสามารถผลิตอาหารขึ้นใช้เอง โดยการใช้อาหารปลาดุกสำเร็จรูปร่วมกับกากสลัดปาล์มในปริมาณอัตราส่วน 1 ต่อ 2 จะมีต้นทุนในการผลิตอาหารเหลือเพียง 14-15 บาทต่อกิโลกรัม โดยไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตที่เกษตรกรได้รับ เมื่อเลี้ยงปลาได้ประมาณ 90 วัน ปลาดุกชนิดนี้จะมีน้ำหนักประมาณ 250 กรัมต่อตัว และให้ผลผลิตสูงถึง 23-51 กิโลกรัมต่อกระชัง โดยอัตรารอดตายประมาณ 69- 95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งองค์ความรู้ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีส่วนช่วยทำให้การเลี้ยงปลาดุกลูกผสมมีความง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเกษตรกรยังมีค่าอาหารปลาถูกลง และพบว่าโครงการดังกล่าวมีศักยภาพในการสนับสนุนคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น จึงมีเกษตรกรและผู้นำท้องถิ่นจำนวนหนึ่งให้ความสนใจและพร้อมยินดีที่จะให้ความร่วมมือและการสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่น นายแสงทอง ชนกเศรณี นายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตำบลสวนแตง อำเภอละแม จ.ชุมพร สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 10,000 บาท เพื่อดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ดังนั้น โครงการนี้จึงเห็นควรจัดให้มีการอบรมถ่ายทอดผลการวิจัยออกไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพใหม่หรืออาชีพเสริม เพื่อนำปลาดุกลูกผสมที่ได้มาใช้เป็นอาหารภายในครอบครัวหรือนำไปขายเป็นรายได้เสริม ส่วนการเลี้ยงปลาดุกลูกผสมควบคู่กับการทำสวนปาล์มน้ำมันยังเป็นการพัฒนาตามแนวทางการทำเกษตรแบบผสมผสานซึ่งเป็นการเกื้อกูลกันระหว่างพืชกับปลา ทำให้ต้นทุนในการผลิตทั้ง 2 ระบบลดลง อีกทางหนึ่ง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้วยการส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกลูกผสมในร่องน้ำสวนปาล์มน้ำมันด้วยวัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น
2. เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพใหม่หรืออาชีพเสริม ในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกลูกผสมในร่องสวนปาล์มน้ำมันด้วยวัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น เพื่อ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และ ผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับบริโภค
KPI 1 : -ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : -เกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาดุกลูกผสมในร่องน้ำสวนปาล์มน้ำมันด้วยวัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : -ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : -จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 60
KPI 5 : -ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 6 : -เกษตรกรสามารถใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพใหม่หรืออาชีพเสริม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 7 : -ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.08
KPI 8 : -ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกลูกผสมในร่องสวนปาล์มน้ำมันด้วยวัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น เพื่อ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และ ผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับบริโภค
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1.การจัดอบรมการเลี้ยงปลาดุกลูกผสมในร่องสวนปาล์มน้ำมันด้วยวัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา  สว่างอารมย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน X120 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน X35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
-ค่าจ้างเหมาทำคู่มือฝึกอบรม (สี) จำนวน 60 เล่ม x70 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
-ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย จำนวน 1 คน x4 ชม x600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ จำนวน 2 คน x3 ชม x300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
-ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน x200 บาท เป็นเงิน 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-ค่าวัสดุเกษตร เช่น กากสลัดปาล์ม, ลูกพันธุ์ปลาดุก,อาหารปลา และสารเคมีป้องกันโรคสัตว์น้ำ ฯลฯ เป็นเงิน 33,800 บาท
-ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา กระดาษ ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 4,000 บาท
-ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น CD-ROM, Mouse, หมึกปริ้น และเมนบอร์ดฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
-ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น น้ำยาทำความสะอาด แปรงขัด และ ฟองน้ำ ฯลฯ เป็นเงิน 2,800 บาท
-ค่าวัสดุไฟฟ้า เช่น สายไฟฟ้า เบรกเกอร์ สวิตซ์ไฟฟ้า และปลักไฟฟ้า ฯลฯ เป็นเงิน 4,000 บาท
-ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ฟอร์มาลีน และเคมีภัณฑ์ ฯลฯ เป็นเงิน 4,800 บาท
-ค่าวัสดุก่อสร้าง เช่น ท่อน้ำ PVC, สายยาง, กาวทาท่อ PVC เลื่อย และ ตลับเมตร ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 59,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 80000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล