13680 : โครงการการขยายพันธุ์ต้นเคี่ยมโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมการปลูกเคี่ยมในภาคใต้ตอนบน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
น.ส.ตรีชฎา สุวรรณโน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 6/12/2561 16:00:32
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมายจำนวน อย่างน้อย 50 คน ประกอบด้วย เกษตรกร และประชาชนทั่วไป (เน้นชุมชนในเขตภาคใต้ตอนบน เป็นโครงการนำร่องโดยเฉพาะจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี) และนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2562 40,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.1 ร้อยละของงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.การบริการวิชาการด้านการเกษตรสุขภาวะเพื่อสังคมชุมชน
เป้าประสงค์ 3.1 เป็นโครงการบริการวิชาการที่ยกระดับความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ตัวชี้วัด 3.1.1 ร้อยละงบประมาณบริการวิชาการ ที่ได้รับการสนับสนุนที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 1. กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เคี่ยม Cotylelobium lanceolatum Craib. เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงโปรดพระราชทานกล้าไม้มงคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นำไปปลูกในงานรณรงค์โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 จึงนับเป็นพันธุ์ไม้ที่สมควรอนุรักษ์และขยายพันธุ์ให้มีปริมาณมาก เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในชุมชน และเขตภาคใต้ตอนบนซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นเคี่ยม เคี่ยม จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบทรงเจดีย์ต่ำๆ ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ เนื้อใบหนา ปลายใบสอบเรียวหยักเป็นตุ่มยาว โคนใบมน หลังใบเรียบมัน ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเหลืองเป็นกระจุก ดอกสีขาว ออกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบรองดอก 5 กลีบ รูปหอกเรียว มีขนสั้นปกคลุม ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ผลกลมเล็ก มีขนนุ่ม มีปีกยาว 2 ปีก ปีกสั้น 3 ปีก พบขึ้นทั่วไปตามป่าดงดิบในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ตามที่สูงจากระดับน้ำทะเล 10 - 100 เมตร เนื้อไม้มีความละเอียด แข็ง หนัก และเหนียว มีความทนทานสูงมาก ใช้ในน้ำมีความทนทานดี เช่น การใช้ทำเป็นเรือ หรือจะใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงมาก ๆ เหมาะสำหรับใช้ทำไม้พื้น ไม้กระดาน เสาเรือด รอดตง อกไก่ หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่ต้องตากแดดตากฝน การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรและภูมิปัญญาใช้เปลือกเคี่ยมใส่ในกระบอกน้ำตาลโตนดเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาน้ำตาล ลดการบูดของน้ำตาลโตนด เนื่องจากเปลือกของเคี่ยมมีสารแทนนินในปริมาณมาก ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์บางชนิด มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดจากเปลือกเคี่ยม ดังนี้ การยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของสารสกัดจากไม้เคี่ยม พบว่า ความเข้มข้นของสารสกัดจากไม้เคี่ยมที่ 300 พีพีเอ็ม เป็นความเข้มข้นต่ำสุด (Minimal Bactiricidal concentration, MBC) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้อย่างมีนัยสำคัญ (เถวียน , 2554) กานต์สิรีและคณะ (2559) พบว่าสารสกัดจากกิ่งเคี่ยมสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ทั้ง 2 ชนิด คือ เชื้อ Pestalotiopsis sp. และเชื้อ Phomopsis sp.โดยสารสกัดที่ระดับความเข้มข้น 2,000 ไมโครลิตร ต่อมิลลิลิตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Pestalotiopsis sp. ได้ดีที่สุด สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ 29.54 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในเชื้อ Phomopsis sp. พบว่า สารสกัด ความเข้มข้น 4,000 พีพีเอ็ม ยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ดีที่สุด 37 เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญคือ ปัจจุบันต้นเคี่ยมได้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพื้นที่ป่าลดลง พื้นที่บ้านเรือนและอุตสาหกรรมมากขึ้น มีการตัดเคี่ยมไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง การปลูกขยายพันธุ์ทำได้ยาก เนื่องจากลักษณะเป็นไม้เนื้อแข็ง มีปัญหาในการปักชำกิ่งได้ยาก และเพาะเมล็ดงอกได้ช้า จึงต้องหาวิธีขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อให้ได้ปริมาณมาก ในเวลาอันรวดเร็ว และได้ต้นกล้าเคี่ยมที่ปลอดโรคด้วย ดังนั้น หากสามารถวิจัยและพัฒนาเทคนิควิธีในการขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นเคี่ยมโดยใช้ส่วนต่างๆของเนื้อเยื่อและเมล็ดอ่อนนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์พันธุกรรมเคี่ยม ทั้งนี้ เคี่ยมเป็นพืชประจำถิ่นและพบในเขตภาคใต้ตอนบน ซึ่งปัจจุบันประสบภาวะลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งนำต้นกล้าไปส่งเสริมให้เกษตรในเขตภาคใต้ตอนบน ทั้งในชุมพร สุราษฎร์ธานี รวมทั้งชุมชนอื่นๆ ได้ตระหนักในการอนุรักษ์เคี่ยมและเห็นความสำคัญ และนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ต้นเคี่ยม เพื่อให้ต้นเคี่ยมยังคงอยู่ไม่สูญหายไปจากสภาพป่าธรรมชาติ รวมทั้งนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2.เพื่อศึกษาแนวทางการขยายพันธุ์เคี่ยมโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แล้วนำไปปลูกในป่าอนุรักษ์ในเขตชุมชนต่างๆ
3.เพื่อส่งเสริมการปลูกต้นกล้าเคี่ยม และลดปัญหาการลักลอบตัดต้นเคี่ยมออกจากป่าธรรมชาติและป่าชุมชน
4.เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์เคี่ยมให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะชุมชนเขตจังหวัดชุมพร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. ต้นกล้าเคี่ยมที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเพาะเมล็ดอ่อนในสภาพปลอดเชื้อ พร้อมย้ายปลูกต้นกล้า 2. จัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ (แผ่นพับ) และสร้างเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ต้นเคี่ยมและป่าไม้เคี่ยม 3. แผ่นไวนิลให้ความรู้ทางวิชาการ จำนวน 2 แผ่น และป้ายชื่อโครงการฯ จำนวน 1 ป้าย
KPI 1 : ไวนิลเผยแพร่ผลงานที่มีคุณภาพดี และป้ายชื่อที่สื่อความหมายชัดเจน มีความทนทานและสวยงาม เชิงเวลา เสร็จภายใน 12 เดือน
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 เดือน 12
KPI 2 : จำนวนแผ่นพับเผยแพร่ผลงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 แผ่น 400
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายในการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 40000
KPI 4 : จำนวนต้นกล้า
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ต้น 500
KPI 5 : แผ่นพับมีคุณภาพดีเสร็จทันภายในระยะเวลา
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 เดือน 12
KPI 6 : ต้นกล้าปลอดโรคมีความแข็งแรงสมบูรณ์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนแผ่นไวล์นิวและป้ายชื่อโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 แผ่น 3
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. ต้นกล้าเคี่ยมที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเพาะเมล็ดอ่อนในสภาพปลอดเชื้อ พร้อมย้ายปลูกต้นกล้า 2. จัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ (แผ่นพับ) และสร้างเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ต้นเคี่ยมและป่าไม้เคี่ยม 3. แผ่นไวนิลให้ความรู้ทางวิชาการ จำนวน 2 แผ่น และป้ายชื่อโครงการฯ จำนวน 1 ป้าย
ชื่อกิจกรรม :
1. เก็บตัวอย่างส่วนต่างๆของต้นเคี่ยมในพื้นที่ป่าธรรมชาติจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี
2. ศึกษาสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นเคี่ยมและขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ
3. ปลูกทดสอบต้นกล้าเคี่ยมที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและดูแลรักษาต้นกล้าเคี่ยม



4. เอกสารแผ่นพับเผยแพร่ความรู้และป้ายชื่อโครงการฯ ดังนี้
- เอกสารแผ่นพับ
- จัดทำแผ่นไวนิล
- จัดทำป้ายชื่อโครงการฯ


- จัดทำแผ่นไวนิล
- จัดทำป้ายชื่อโครงการฯ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2562 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารแผ่นพับ จำนวน 400 ชุดๆละ 3.0 บาท/ชุด เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำไวนิล จำนวน 2 แผ่นๆ ละ 900 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายชื่อโครงการ จำนวน 1 ป้ายๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์
1. แมงกานีสซัลเฟต (MnSO4) ขนาด 500 กรัม จำนวน 1 ขวดๆ ละ 900 บาท เป็นเงิน 900 บาท
2. โคบอลต์คลอไรด์ ขนาด 100 กรัม จำนวน 1 ขวดๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
3. เฟอร์รัสซัลเฟต (FeSO4) ขนาด 500 กรัม จำนวน 1 ขวดๆ ละ 700 บาท เป็นเงิน 700 บาท
4.Naphthaleneacetic acid (NAA) ขนาด 25 กรัม จำนวน 1 ขวดๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
5. Benzyl aminopurine (BA) ขนาด 1 กรัม จำนวน 2 ขวดๆ ละ 1,600 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
6. 2,4-D ขนาด 100 มล. จำนวน 1 ขวดๆละ 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
7. แอมโมเนียมไนเตรท (NH4NO3) ขนาด 500 กรัม จำนวน 1 แพ็คๆ ละ 1,300 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท
8. เอธิลแอลกอฮอล์ 95% ขนาด 18 ลิตร จำนวน 2 แกลลอนๆ ละ 1,300 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท
9. ผงวุ้น (Agar) ขนาด 25 กรัม จำนวน 70 ซองๆละ 70 บาท เป็นเงิน 4,900 บาท
10. ไคเนติน (kinetin) ขนาด 1 กรัม จำนวน 1 ขวดๆละ 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
11. Thidiazuron (TDZ) ขนาด 250 มก. จำนวน 1 ขวดๆละ 5,500 บาท เป็นเงิน 5,500 บาท
12. แคลเซียมไนเตรท ขนาด 500 กรัม จำนวน 1 ขวดๆละ 650บาท เป็นเงิน 650 บาท
13. โพแทสเซียมไนเตรท (KNO3) ขนาด 1 กก. จำนวน 1 ขวดๆ ละ 1,150 บาท เป็นเงิน 1,150 บาท
14. Gamborg B-5 Basal Medium จำนวน 2 ขวดๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท
15. แมงกานีสคลอไรด์ (MnCl2) ขนาด 500 กรัม จำนวน 1 ขวดๆ ละ 900 บาท เป็นเงิน 900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุเกษตร
1. มูลวัว จำนวน 70 กระสอบละๆ 40 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
2. ขุยมะพร้าว จำนวน 40 กระสอบๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
3. ถุงเพาะชำ จำนวน 10 กก.ๆละ 60 บาท เป็นเงิน 600 บาท
4. ตะกร้าพลาสติกสี่เหลี่ยม จำนวน 30 อันๆละ 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 40000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล