13644 : โครงการสร้างอาชีพผู้ประกอบการธุรกิจดำน้ำ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
อาจารย์ ดร.วีรภรณ์ โตคีรี (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 27/12/2561 14:06:04
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
27/12/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมายจำนวน100คน ประกอบด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้/บุคคลทั่วไป จำนวน 5 รุ่น รุ่นละ 20 คน รวมจำนวน 100 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการภายใต้แผนงานยุทธศาตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อความยั่งยืน (บัณฑิตสายพันธ์ใหม่ Project base) 2562 1,000,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. วีรภรณ์  โตคีรี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 1 การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 61-64MJU 1.2 บัณฑิตมีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 61MJU1.2.3 คุณภาพบัณฑิตทุกระดับการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต)
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.2.3 สนับสนุนให้นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายของมหาวิทยาลัยได้พบปะตลาดแรงงาน หรือพัฒนาระบบการจัดหางานให้แก่นักศึกษาเชิงรุก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.การผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทางด้านวิชาการและวิชาชีพตรงตามความต้องการของสังคม
เป้าประสงค์ 1.1 การจัดการศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้สาระ,ปฏิบัติจริง, ทักษะทางสังคม, ทักษะทางชีวิต ทักษะการคิดขั้นสูง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
ตัวชี้วัด 1.1.2 ระดับความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการเสริมทักษะ
กลยุทธ์ 2. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและตรงต่อความต้องการของหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการได้ปรับกระบวนการศึกษารูปแบบใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ในการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่โดยใช้หลักการ “อาชีพนำการผลิตตอบสนองต่อความต้องการของตลาด”โดยได้รับความร่วมมือทั้งจากภาคเอกชนภาครัฐในปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนโดยเน้นเรียนรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติในสภาพจริงที่สามารถตอบสนองตลาดยุทธศาสตร์ประเทศรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาชีพอะไรที่ตลาดต้องการซึ่งเป็นการตอบโจทย์การพัฒนาประเทศโดยจะเน้นความต้องการด้านอาชีพที่เป็นจริงการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ตอบสนองตลาดเป็นการเรียนทั้งในห้องเรียนเรียนในสถานที่ประกอบการจริงและเพื่อเป็นการสานต่อการสร้างหลักสูตรบัณฑิตพันธ์ใหม่ขณะเดียวกันจะต้องพัฒนาศักยภาพคนไทยทั้งบัณฑิตและคนวัยทำงานให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มการแข่งขันของประเทศนำไปสู่การเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) พร้อมที่จะก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นมาอย่างมากเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่สวยงามเป็นจุดมุ่งหมายในการเดินทางมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะทรัพยากรการท่องเที่ยวทางทะเล อาชีพไกด์ดำน้ำหรือDive Leader เกี่ยวเนื่องกับมูลค่าการท่องเที่ยวและการรักษาทรัพยากรในท้องทะเลหากเราต้องการมีมรดกธรรมชาติทางทะเลที่สามารถสร้างรายได้ในระยะยาวการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจึงเป็นทางออกที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องดังที่เคยกล่าวเอาไว้ว่าการพัฒนาศักยภาพบัณฑิตให้สามารถเข้าสู่งานบริการธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลด้วยระบบการศึกษาพร้อมปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์จะเป็นการวางรากฐานเพื่อทำการจัดการด้านการท่องเที่ยวทางทะเลได้อย่างมีทิศทาง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพรสาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยวได้จัดทำโครงการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง “โครงการสร้างอาชีพผู้ประกอบการธุรกิจดำน้ำ”เพื่ออบรมทักษะการเรียนดำน้ำลึกเพื่อการท่องเที่ยวโดยการฝึกอบรมการปฏิบัติงานด้านการดำน้ำลึกตามมาตรฐานสากลทักษะการการกู้ชีพทางทะเลเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรให้มีความสามารถและมีความพร้อมในการปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวทางทะเลสร้างผู้ประกอบการมืออาชีพด้านการดำน้ำลึกผลิตนักดำน้ำที่ตลาดมีความต้องการสูงเพื่อส่งเสริมอาชีพไกด์ดำน้ำให้เป็นของคนไทยเจ้าของประเทศและเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งการตลาดอุตสาหกรรมดำน้ำประเทศไทยให้เป็นของคนไทยอย่างสมดุลการส่งเสริมและฝึกสอนอาชีพไกด์ดำน้ำให้กับคนไทยรุ่นใหม่ด้วยค่าเรียนที่ถูกลงเพื่อให้ “อาชีพไกด์ดำน้ำ”มีโอกาสที่เท่าเทียมกันของคนไทยทุกคน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้และผู้เข้าร่วมอบรมสามารถประกอบอาชีพไกด์ดำน้ำได้
2.เพื่อผลิตนักดำน้ำลึกที่ได้มาตรฐานสามารถดำน้ำลึกได้ตามหลักสากล
3.เพื่อส่งเสริมการประกอบธุรกิจดำน้ำให้เป็นโอกาสของคนไทยรุ่นใหม่ที่มีความสนใจ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ฝึกอบรมหลักสูตรดำน้ำระดับOpen water ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับใน ระดับสากลที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯสามารถนำบัตรที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้ทั้งในไทยอาเซียนและทั่วโลก
KPI 1 : -ร้อยละผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับบัตรดำน้ำขั้นOpen water
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 2 : -ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 1000000
KPI 3 : -จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
KPI 4 : -ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ฝึกอบรมหลักสูตรดำน้ำระดับOpen water ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับใน ระดับสากลที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯสามารถนำบัตรที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้ทั้งในไทยอาเซียนและทั่วโลก
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมฝึกอบรมหลักสูตรดำน้ำ Open Water

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/12/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.ฐิตาภรณ์  ปิโม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วีรภรณ์  โตคีรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางภัทร์ธนกัลย์  เตี่ยไพบูลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์  ทองสง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายชาญวิทย์  ขุนทองจันทร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าพาหนะเดินทาง จำนวน 5 ครั้งๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 12,500 บาท
- ค่าอาหารเช้า จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 25 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 12,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 25 คนๆ ละ 4 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 35,000 บาท
- ค่าอาหารเย็น จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 25 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 17,500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 25 คนๆ ละ 8 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 25,000 บาท
- ค่าที่พัก (ผู้เข้ารับการฝึกอบรม) จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 20 คนๆ ละ 2 คืนๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 60,000 บาท
- ค่าที่พัก (วิทยากรและคณะทำงาน) จำนวน 3 ห้องๆ ละ 5 ครั้งๆ ละ 2 คืนๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
- ค่าจ้างเหมารถตู้ จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 2 วันๆ ละ 2 คันๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 50,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาเรือ จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 2 วันๆ ละ 6,000 บาท เป็นเงิน 60,000 บาท
- ค่าเช่าชุดอุปกรณ์ดำน้ำ จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 4 วันๆ ละ 20 ชุดๆ ละ 740 บาท เป็นเงิน 296,000 บาท
- ค่าเช่าสระว่ายน้ำ จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 20 คนๆ ละ 1 วันๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 608,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (ภาคบรรยาย) จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 1 คนๆ ละ 1 วันๆ ละ 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (ภาคปฏิบัติแบ่งเป็นกลุ่มย่อยรุ่นละ 3 กลุ่ม) จำนวน 5 รุ่นๆ 6 คนๆ ละ 3 วันๆ ละ 6 ชม.ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 162,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 180,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าบัตรดำน้ำ (ระดับ Open Water Diver) จำนวน 100 ใบๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 200,000 บาท
- ค่าสมุดจดบันทึกการดำน้ำ (Log Book) จำนวน 100 เล่มๆ ละ 77 บาท เป็นเงิน 7,700 บาท
- ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืนๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 208,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 997000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมการอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/12/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.ฐิตาภรณ์  ปิโม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วีรภรณ์  โตคีรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางภัทร์ธนกัลย์  เตี่ยไพบูลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์  ทองสง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายชาญวิทย์  ขุนทองจันทร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (ภาคบรรยาย) จำนวน 5 รุ่นๆ 1 คนๆ ละ 1 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ฤดูกาลจะมีผลต่อการจัดการฝึกอบรมภาคปฎิบัติในทะเลโดยเฉพาะช่วงมรสุมของฝั่งอ่าวไทย
อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำน้ำของมหาวิทยาลัยฯ เช่น ถังอากาศ, ชุด BCD และอุปกรณ์อื่นๆ ชำรุด เก่า ไม่สามารถใช้งานได้ และไม่มีความปลอดภัยต่อผู้อบรม
มหาวิทยาลัยไม่มีสระว่ายน้ำสำหรับฝึกปฎิบัติการดำน้ำในสระก่อนออกสู่การปฏิบัติจริงในทะเล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1.เลือกจัดกิจกรรมภาคปฏิบัติในพื้นที่ที่ไม่มีมรสุม เช่นย้ายไปลงฝึกปฏิบัติในฝั่งทะเลอันดามัน
การหาเช่าจากสถานประกอบการธุรกิจดำน้ำที่ได้มีมาตรฐานในระดับสากล
โดยการเช่าสะว่ายน้ำจากสถานประกอบการเอกชนภายนอก
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล