13642 : โครงการการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์สีเขียวตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
น.ส.ตรีชฎา สุวรรณโน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/12/2561 15:00:24
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน20คน ประกอบด้วย ชุมชนอำเภอละแมจังหวัดชุมพร และนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการ 2562 70,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ชรินทร  ศรีวิฑูรย์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.1 ร้อยละของงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.การบริการวิชาการด้านการเกษตรสุขภาวะเพื่อสังคมชุมชน
เป้าประสงค์ 3.1 เป็นโครงการบริการวิชาการที่ยกระดับความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ตัวชี้วัด 3.1.1 ร้อยละงบประมาณบริการวิชาการ ที่ได้รับการสนับสนุนที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 1. กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง มีใจความว่า “ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัด ระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานเกิดความมั่นคงพอควรแล้วจึงค่อยเสริมสร้างความสามัคคีให้สูงขึ้นตามลำดับต่อไป การถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับ...ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาด ล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์”และเพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืน แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาในระยะยาว จึงต้องตระหนักถึงกระบวนการพัฒนาต้องสร้างความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เสียก่อน เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยเสริมความเจริญและฐานทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืน และจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดีสังคมไม่มีปัญหา การพัฒนาก็จะยั่งยืน ผู้คนจำนวนมากจากหลายแวดวงอาชีพเข้ามาร่วมกันจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นในการพิทักษ์ความบริสุทธิ์ของสภาพแวดล้อมรวมถึงการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมด้วยการผลิตสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือ ผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product) “สีเขียว” เป็นสีที่นำมาใช้ในความหมายของ การอนุรักษ์น้ำ การอนุรักษ์พลังงาน การลดขยะ การลดสารพิษ การมีมาตรฐานการรับรองสินค้าที่ผลิตออกมาเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทำให้กระบวนการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นจริงได้แนวความคิดของคำว่า “สีเขียว” เมื่อถูกนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ ก็เรียกว่า “ผลิตภัณฑ์สีเขียว” (Green Product) ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษกว่าผลิตภัณฑ์อื่นในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กล่าวคือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตให้พอดีกับความต้องการของผู้บริโภค โดยปราศจากความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้สารพิษที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้อีกไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์จากวัสดุเดิมหรือกรรมวิธีย่อยสลายแล้วดัดแปลงมาใช้ใหม่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่อนุรักษ์พลังงานธรรมชาติ ผลิตแล้วต้องไม่เปลืองพลังงาน เริ่มตั้งแต่การผลิต การใช้ ไปถึงการสิ้นสภาพ กระบวนการผลิตจะไม่ทำให้เสียสินค้าโดยไม่จำเป็นหรือเมื่อผลิตออกมาเป็นสินค้าแล้วควรจะมีอายุ การใช้งานนาน เพิ่มหรือเติมพลังงานเข้าไปใหม่ได้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภาชนะหีบห่อน้อยที่สุด การออกแบบกล่องหรือหีบห่อบรรจุต้องไม่ฟุ่มเฟือย กระบวนการผลิตสินค้าในโรงงานต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการนำทรัพยากรมาใช้ หรือทิ้งของเสียลงสู่ธรรมชาติ โดยสรุป “ผลิตภัณฑ์สีเขียว” จะต้องประกอบหลักการ 4R คือ การลดของเสีย (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำมาปรับใช้ใหม่ (Recycle) และการซ่อมบำรุง (Repair) การดำเนินการสินค้าชุมชนผลิตภัณฑ์สีเขียวต้องยอมรับว่าการประกอบกิจการของชาวบ้านไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีหลายกลุ่มที่เริ่มต้นดำเนินงานแล้วทำได้ไม่นานก็ต้องล้มเลิก ดังนั้นโครงการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์สีเขียวตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาสินค้าชุมชนผลิตภัณฑ์สีเขียวควบคู่ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนอกจากนี้จัดให้มีการถ่ายทอดจากชุมชนสู่เยาวชน การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถในสาขาอาชีพเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนตลอดจนสามารถสร้างงาน เพิ่มรายได้ให้กับนักเรียนและนักศึกษา ที่ต้องการมีอาชีพเสริมระหว่างการศึกษา หรือระหว่างการหางานทำ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และชุมชน เป็นการส่งเสริมเยาวชนให้ทำงานในท้องถิ่นบ้านเกิดของตัวเอง ซึ่งเท่ากับเป็นการขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพของชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ในระยะยาว เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกรมพัฒนาฝีมือแรงงานต่อไป โดยการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย การพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการพัฒนาตราสินค้า โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียวโดยผู้ประกอบการในชุมชนจะต้องมีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการผลิต ดูแลสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำการผลิตให้สะอาด มีมาตรการกำจัดของเสียออกจากแหล่งที่ผลิตไม่ให้ออกมาทำลายสิ่งแวดล้อมนอกจากนี้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องมีการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco Design) จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการผลิตสินค้า โดยเป็นกระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในขั้นตอนการออกแบบ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์สมรรถนะทางด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ การจัดการซากที่หมดอายุ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกช่วงของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยควบคู่ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพิ่มความหลากหลายและสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง สามารถสร้างขีดความสามารถให้กับชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.เพื่อจัดฝึกอบรมให้เยาวชนรู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง สามารถหาทางเลือกใหม่ๆ ในการเลือกประกอบอาชีพ เพื่อรับผิดชอบตนเองและไม่เป็นภาระกับครอบครัวและสังคม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมตลาดสินค้าชุมชน
KPI 1 : -ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงของชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 2 : -ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 70000
KPI 3 : -ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : -เยาวชนใช้เวลาให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองจากการเข้าร่วมการอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 20
KPI 5 : -จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 20
KPI 6 : -ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 7 : -ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 8 : -ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมตลาดสินค้าชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
1.การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ชรินทร  ศรีวิฑูรย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆละ 2 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000บาท
-ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 40 กิโลเมตรๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 160 บาท
-ค่าเอกสารอบรม จำนวน 20 ชุดๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,560.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
-ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย จำนวน 1 คน 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
-ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ แผ่นซีดี ฯลฯ เป็นเงิน 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 23160.00
ชื่อกิจกรรม :
2.การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และตราสินค้า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ชรินทร  ศรีวิฑูรย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารกลางวน จำนวน 20 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆละ 2 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000บาท
-ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 40 กิโลเมตรๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 160 บาท
-ค่าเอกสารอบรม จำนวน 20 ชุดๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
-ค่าจัดทำสติ๊กเกอร์ตราสินค้า จำนวน 1 ตรา 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,560.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
-ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (ภาครัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชม. ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (ภาครัฐ) จำนวน 2คน ๆ ละ 3 ชม. ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุง ขวด กล่องบรรจุภัณฑ์ ฯลฯเป็นเงิน 20,680 บาท
-ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา ฯลฯเป็นเงิน 5,000 บาท
-ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ แผ่นซีดี ฯลฯเป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,680.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 46840.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1.เวลาว่างระหว่างสมาชิกชุมชน/ เยาวชน / ผู้จัดทำโครงการ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1.จัดสรรเรื่องของเวลาให้ลงตัวกับทุกฝ่าย
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล