13612 : โครงการ การผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษใบไม้แห้งโดยหมักร่วมกับสาหร่าย
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวลี อันพาพรม (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 30/11/2561 15:15:35
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/01/2562  ถึง  30/08/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักศึกษา บุคคลทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ทุนอุดหนุนโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 2562 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุวลี  อันพาพรม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.1 ร้อยละของงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 23 23. ร้อยละงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 4.1.2 พัฒนาหลักเกณฑ์ในการของบประมาณบริการวิชาการให้เอื้อต่อนักวิจัยรุ่นใหม่ การ บูรณาการ และการทำงานเป็นทีม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ก๊าซชีวภาพ (biogas) หมายถึง ก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการหมักย่อยสลายของสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะที่ปราศจากออกซิเจน (anaerobic digestion) โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ต่างๆ เช่น แบคทีเรีย อาร์เคีย องค์ประกอบส่วนใหญ่ของของก๊าซชีวภาพเป็นมีเทน(CH4) ประมาณ 50-75% และคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)ประมาณ 25-50% ส่วนที่เหลือเป็นแก๊สชนิดอื่น ๆ เช่น ไฮโดเจน(H2) ออกซิเจน(O2) ไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) ไนโตรเจน(N) และไอน้ำ คุณสมบัติของมีเทน (Methane) เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ ดังนั้นจึงมีการนำก๊าซชีวภาพนี้มาทำเป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนได้ หรือนำก๊าซชีวภาพนี้ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์เพื่อให้ร้อยละของมีเทนเพิ่มสูงขึ้นจะสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงกับรถยนต์ได้ การผลิตก๊าซชีวภาพสามารถทำได้โดยการหมักของเหลือทิ้งหรือมูลสุกร มูลวัว น้ำเสียต่างๆ เนื่องจากในของเหลือทิ้งหรือน้ำเสียนั้นมีสารอินทรีย์ในปริมาณสูงและมีจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนอาศัยอยู่ร่วมด้วย ดังนั้นจุลินทรีย์ต่างๆ เหล่านี้จะทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพได้ โดยเฉพาะภูมิอากาศในประเทศไทยเป็นภูมิอากาศร้อนชื้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ดังนั้นจึงเหมาะสมในการผลิตก๊าซชีวภาพอย่างยิ่ง ข้อเสียของการผลิตหรือการหมักของเสียจากมูลสัตว์คือจะทำให้ได้องค์ประกอบของไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) หรือก๊าซไข่เน่ามาก เนื่องจากในมูลสัตว์มีองค์ประกอบของโปรตีนสูง ซึ่งในโปรตีนบางชนิดนี้มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ จึงทำให้เกิดกลิ่นเหม็น นอกจากนี้ยังเป็นอันตรายกับเครื่องยนต์ด้วย ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาใช้สาหร่ายหรือวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่ได้จากพืชมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นในการหมักแทนของเหลือทิ้งที่ได้จากสัตว์ หรืออาจมีการหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างวัสดุเหลือทิ้งที่ได้จากพืชและสัตว์ (Co-digester) ในการหมัก การผลิตก๊าซชีวภาพโดยใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่เป็นพืช เช่น ก้อนเชื้อเห็ด ตอซังข้าวโพด ฟางข้าว ต้นถั่วเหลือง วัตถุดิบที่สำคัญและหาได้ง่ายอีกอย่างหนึ่งคือเศษใบไม้แห้งที่ร่วงหล่นตามฤดูกาลหรือการตัดแต่งกิ่ง ในการใช้วัตถุดิบต่างๆ เหล่านี้ ขั้นตอนการย่อยสลายเบื้องต้น (pretreatment) นั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากจะต้องทำลายโครงสร้างพืชให้เล็กลงก่อน จากนั้นต้องทำการย่อยสลายผนังเซลล์พืชจึงจะทำให้ได้สารอินทรีย์ที่อยู่ภายในเซลล์ ซึ่งผนังเซลล์พืชนี้ประกอบเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน จะต้องอาศัยเอนไซม์ที่ได้จากเชื้อราหรือแบคทีเรียบางชนิดในการย่อย โดยใช้วิธีการหมักให้เป็นไซเลจ (silage) ซึ่งเป็นวิธีทางชีวภาพ หรืออาจใช้กรด หรือเบสย่อยสลายซึ่งเป็นวิธีทางเคมี ส่วนในการย่อยสลายผนังเซลล์ เซลล์นั้นผลที่ได้เพื่อมาเป็นสารตั้งต้นอีกตัวหนึ่งคือ น้ำตาลกลูโคส และน้ำตาลอื่นๆ ที่ประกอบกันอยู่ในเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส สารประกอบต่างๆ ที่อยู่ในเซลล์พืชและน้ำตาลต่างๆ จะเป็นสารตั้งต้นหรือเป็นอาหารให้แก่จุลินทรีย์ (inoculum หรือ seed) ในกระบวนการหมัก ซึ่งผลผลิตสุดท้ายที่ได้ก็คือ ก๊าซชีวภาพ ข้อดีคือ มีการปนเปื้อนของไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) น้อย นอกจากนี้น้ำเขียวที่มีสาหร่ายเจริญอยู่มากก็สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตก๊าซชีวภาพได้เพราะในสามารถมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์มากมายต่อการเจริญของจุลินทรีย์ในระบบ ดังนั้นการผลิตก๊าวชีวภาพจากเศษใบไม้แห้งและสาหร่ายตามธรรมชาติจะเป็นการลดต้นทุนและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตก๊าซชีวภาพให้กับเกษตรกรหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ
เพื่อเป็นแนวทางนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ผลิตก๊าซชีวภาพได้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลผลิตการจัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษใบไม้แห้งโดยหมักร่วมกับสาหร่าย
KPI 1 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.05
KPI 2 : ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 4 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 30
KPI 5 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลผลิตการจัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษใบไม้แห้งโดยหมักร่วมกับสาหร่าย
ชื่อกิจกรรม :
การจัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษใบไม้แห้งโดยหมักร่วมกับสาหร่าย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/01/2562 - 30/08/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวลี  อันพาพรม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน 2 มื้อ x 30 คน x 150 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 4 มื้อ x 30 คน x 35 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 1 คัน x 2 วัน x 2500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทำแผ่นพับ 100 แผ่น x 3 บ. = 300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทำป้ายไวนิล ขนาด 2.5 x 4 เมตร 1 แผ่น = 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ภาครัฐ) - ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 600 บ. x 2 คน x 2 ชั่วโมง x 2 วัน = 4,800 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรปฏิบัติการ 300 บาท x 4 คน x 4 ชั่วโมง x 2 วัน = 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 10 คน x 2 วัน x 200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ (ถุงมือวิทยาศาสตร์ หน้ากาก สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ กรดซัสฟูริก น้ำตาลกลูโคส สาร DNS ฯลฯ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล