13562 : การส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
น.ส.ศรีวรรณ ดอนวิเศษ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/8/2562 8:32:40
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/07/2562  ถึง  31/07/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  เกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ผู้นำชุมชนบ้านแม่เตาไห อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่และนักศึกษาสาขาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้และนักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชา สก 301 หลักการส่งเสริมการเกษตร ภาคการศึกษาที่ 1/2562
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้ประจำปี 2562 หลักสูตรการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร
แผนงานพื้นฐาน
แผนงานรอง: แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
ผลผลิต : ผลงานการให้บริการวิชาการ
กิจกรรมหลัก : เผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์
แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม : งานบริการวิชาการแก่ชุมชน
กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป
2562 20,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. พุฒิสรรค์  เครือคำ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พหล  ศักดิ์คะทัศน์
น.ส. ศรีวรรณ  ดอนวิเศษ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรืองชัย  จูวัฒนสำราญ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 1 การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 61-64 MJU 1.5 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 61MJU1.5.1 ร้อยละของโครงการพัฒนานักศึกษาที่ใช้เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษา เช่น ภาษาอังกฤษ IT/ ทักษะวิชาชีพ และทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.5.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านภาษา IT และทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 62 ผก. 1 การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 62 ผก. 1.1 นักศึกษามีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 62 ผก. 1.1 ร้อยละของโครงการพัฒนานักศึกษาทีมีการบูรณาการด้านทักษะ ไอที ภาษา วิชาชีพ และทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 62 ผก. 1.14 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาภาษา ทักษะด้าน IT และทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การพัฒนาชุมชนในปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางและใช้ความเข้มแข็งของชุมชนเป็นฐานสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ โดยใช้วิธีการของชุมชน และคนในท้องถิ่นได้เข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพื่อกำหนดแผนงาน โครงการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ร่วมกับภาคีอื่นๆ ทั้งในและนอกชุมชน การแสวงหาความรู้ทักษะการคิด วิธีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทำได้โดยการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจ การเรียนรู้ร่วมกัน และพัฒนาศักยภาพผู้นำในชุมชน เป็นการสร้างแกนนำเพื่อการทำงานในชุมชนโดยมีหลักการสำคัญ ซึ่งเชื่อว่าชาวบ้านหรือประชาชนเป็นหลักในการแก้ไขปัญหาของตนเอง องค์กรภายนอกเป็นผู้กระตุ้นหรือสนับสนุนเท่านั้นเอง ชุมชนแม่เตาไห ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่เกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล พืชไร่และอื่นๆ เพื่อการบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นรายได้ อย่างไรก็ตามจากการสำรวจปัญหาทางการเกษตรของชุมชนที่ผ่านมา พบว่า เกษตรกรประสบกับปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชระบาดยากต่อการดูแลรักษาได้อย่างทั่วถึง จึงทำให้ปริมาณผลผลิตของเกษตรกรน้อยลง นอกจากนี้ยังพบว่า เกษตรกรมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างไม่ถูกต้องและเหมาะสม และที่สำคัญสภาพการผลิตของเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ ไม่มีการรวมกลุ่มในการประกอบกิจกรรมทางการเกษตรต่างๆ ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตทางการเกษตรในปัจจุบัน จากสภาพปัญหาดังกล่าว คณะผู้จัดทำโครงการบริการวิชาการนี้ซึ่งเป็นบุคลากรในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงมีความสนใจที่จะทำโครงการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ เรื่อง “การผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช ในชุมชนแม่เตาไห อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่” เพื่อให้เกษตรกรได้รับความรู้และสามารถนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเองตลอดจนสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับไปสู่เกษตรกรรายอื่นๆได้ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนช่วยในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชให้กับเกษตรกรในชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกษตรกรได้ผลิตสินค้าที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทางการเกษตรและส่งเสริมการตลาดสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในผลผลิตให้เกิดขึ้นในชุมชนและสามารถจำหน่ายผลผลิตภายใต้โครงการกาดแม่โจ้ 2477 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ ตลอดจน การดำเนินงานตามโครงการนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อให้คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาได้มีการปฏิบัติงานแบบบูรณาการร่วมกันในด้านการเรียน การสอน การบริการวิชาการสู่ชุมชน โดยเฉพาะนักศึกษาจะได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงในรายวิชาที่เกี่ยวข้องเช่น สก 301 หลักการส่งเสริมการเกษตร กลุ่มยุวเกษตรกร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นต้น เพื่อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ การผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช ในชุมชนแม่เตาไห อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร
2. เพื่อส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างทางการเกษตร ในชุมชนแม่เตาไห อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
3. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีพัฒนา หน่วยงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมการผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช ในชุมชนแม่เตาไห เทศบาลตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการเผยแพร่องค์ความรู้ เทคนิคการผลิต และการใช้สารชีวภัณฑ์ในในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
KPI 1 : ร้อยละการใช้จ่ายตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : ร้อยละของผู้เข้าอบรมที่มีความรู้อยู่ในระดับมาก
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 100 คน 100
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าอบรมที่ได้รับเอกสารแผ่นพับ เรื่อง “การผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช”
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 5 : จำนวนเครือข่ายเกษตรกรผู้ใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เครือข่าย 1
KPI 6 : จำนวนรายวิชาที่ได้รับบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 รายวิชา 2
KPI 7 : ร้อยละของการดำเนินการโครงการตามเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 8 : จำนวนเอกสารเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ชุด 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมการผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช ในชุมชนแม่เตาไห เทศบาลตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการเผยแพร่องค์ความรู้ เทคนิคการผลิต และการใช้สารชีวภัณฑ์ในในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและการเผยแพร่องค์ความรู้ เทคนิคการผลิต และการใช้สารชีวภัณฑ์ในในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/09/2562 - 04/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (1 มื้อๆ ละ 60 บาท จำนวนผู้เข้าอบรม 100 คน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (2 มื้อๆ ละ 35 บาท จำนวนผู้เข้าอบรม 100 คน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม เรื่อง การผลิตสารชีวภัณฑ์ในในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช จำนวน 100 ชุดๆ ละ 15 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากร (จัดอบรม 1 ครั้งๆละ3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน 3 คน 1 วัน ๆ ละ 240 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 720.00 บาท 720.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำหรับดำเนินงานฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,980.00 บาท 1,980.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1. ช่วงเวลาการจัดกิจกรรมอาจตรงกับช่วงที่มีกิจกรรมในชุมชนของเกษตรกรอาจมีผู้เข้าร่วมน้อย
2. การเดินทางและคมนาคมขนส่งอาจมีข้อจำกัดสำหรับจำนวนนักศึกษาที่จะเข้าร่วม
3. รูปภาพประกอบสำหรับการจัดทำแผ่นพับการผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชอาจมีไม่เพียงพอในช่วงที่ต้องการหรือมีแต่ไม่สมบูรณ์
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. มีการนัดหมายในช่วงเวลาที่เหมาะสมและอาศัยผู้นำท้องถิ่นประสานงานและมีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าและต่อเนื่อง
2. มีการจัดการให้เป็นระบบและจัดสรรตามจำนวนอย่างเหมาะสม
3. มีการประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญและเจ้าของแปลงผักหรือขอใช้พื้นที่สาขาพืชผัก/แปลงผักของเกษตรกรเพื่อใช้สถานที่และบุคลากรในการปฏิบัติการ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล