13541 : โครงการ "การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูง ในพื้นที่จังหวัดแพร่"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 29/11/2561 13:38:35
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
21/12/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  เกษตรกรผู้ปลูกพืชเชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูงในจังหวัดแพร่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2562 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย ธวัชชัย  ชัยธวัชวิถี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.1 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐษน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์ม ต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร
เป้าประสงค์ 3.1 เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ให้บริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร เป็นที่ยอมรับในสังคมระดับชาติ
ตัวชี้วัด 3.1.1 จำนวนกิจกรรม/โครงการที่ให้บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุน กิจกรรม/โครงการ ที่ให้บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 ยึดทางสายกลางบนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักประมาณอย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทันโลก เน้นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลปัจจุบัน ได้น้อมนำมาเป็นนโยบายและพัฒนาให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของเกษตรกร ให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เป็นหน่วยงานที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มีพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน เป็นหน่วยงานที่สามารถตอบสนองและแก้ไขปัญหาของชุมชน การเกษตรในพื้นที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ส่วนใหญ่เป็นการทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยวคือการปลูกข้าวโพดบนพื้นที่สูง โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการประกอบทำทำเกษตรขาดความรู้ในการวางแผนการปลูกพืช การใช้พื้นที่เพาะปลูกพืชและใช้พันธุ์พืชซ้ำๆ ไม่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ ส่งผลทำให้ประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง เกษตรกรขาดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ภัยธรรมชาติ และปัญหาหมอกควัน จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ ฯ ได้เล็งเห็นปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิต ของเกษตรกร สังคม และประเทศ ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวควรเริ่มต้นโดยให้การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เกษตร โดยยึดการเกษตรที่ไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้ และยึดหลักความยั่งยืนเป็นหลัก ดังนั้น การส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น เพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้แก่เกษตรให้ทราบถึงผลเสียของการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นระยะเวลายาวนาน และให้ทราบถึงประโยชน์ของการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นเพื่อสร้างรายได้ทดแทน เมื่อเกษตรกรมีความรู้และเห็นถึงประโยชน์ของการปลูกพืชชนิดอื่นที่สามารถสร้างรายได้เช่นเดียวหรืออาจสร้างรายได้มากกว่าการปลูกข้าวโพดเพียงอย่างเดียว โดยมุ่งเน้นให้เกษตรปฏิบัติอย่างถูกต้อง ซึ่งความรู้ที่ได้หลังจากการอบรมจะส่งผลทำให้เกษตรกรนำความรู้ที่ได้รับมาเป็นแนวทางให้การประกอบอาชีพของตนเองเพื่อสร้างรายได้ เกิดการรวมกลุ่ม พัฒนาการเกษตรเชิงเศรษฐกิจระดับจังหวัด นำไปสู่การพัฒนาในด้านอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่ออบรมและส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่สูง เพื่อเพิ่มรายได้/เป็นอาชีพเสริม ให้แก่เกษตรผู้สนใจ
2 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่สูงผลิตพืชแบบอินทรีย์ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีทุกชนิด
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการ "การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูง ในพื้นที่จังหวัดแพร่"
KPI 1 : ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนเกษตรกรในพื้นที่สูงที่ได้รับการอบรมส่งเสริมการผลิตพืชแบบอินทรีย์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 30
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 5 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 30
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 50000
KPI 7 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการ "การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูง ในพื้นที่จังหวัดแพร่"
ชื่อกิจกรรม :
อบรมและส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูง ในพื้นที่จังหวัดแพร่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/12/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายธวัชชัย  ชัยธวัชวิถี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 2 วัน ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล ขนาด 3*5 เมตร จำนวน 4 ป้าย ๆ ละ 750 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน ๆ ละ 4 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
5. ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 2 เล่ม ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยายที่เป็นบุคคลภาครัฐ จำนวน 1 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 19,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,700.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การนัดหมายเวลาในการอบรมกับเกษตรกร
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ทำการประสานงานกับหัวหน้ากลุ่มอย่างต่อเนื่องเพื่อทำการนัดหมายเน้นย้ำวันเวลา สถานที่ ในการอบรม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล