13441 : โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาโดยวิธีกึ่งเลียนแบบธรรมชาติ”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/11/2561 15:57:15
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกรผู้สนใจในการเพาะเลี้ยงปลาไหลนาที่อยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนเป้าหมายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ทต.สันพระเนตร,ทต.สันทรายหลวง, ทต.สันนาเม็ง, ทม.แม่โจ้, ทต.ป่าไผ่ และ ทต.หนองจ๊อม) รวมถึงนักศึกษา ศิษย์เก่า และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2562 2562 70,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ขจรเกียรติ์  ศรีนวลสม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี  วิระสิทธิ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT.62-4.การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชนและสนองงานโครงการในพระราชดำริ
เป้าประสงค์ FT.62-4.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ
ตัวชี้วัด FT.62-4-1 ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ ของคณะ
กลยุทธ์ FT.62-4.1.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
ตัวชี้วัด FT.62-4-2 ระดับความสำเร็จของการบริการทางวิชาการแก่สังคม
กลยุทธ์ FT.62-4.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคมทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปลาไหลนา (Monopterus albus) (Zuiew, 1796)เป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจได้รับความนิยมนำมาบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เพราะเนื้อปลามีรสชาติอร่อย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู (ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดปัตตานี, 2554) อีกทั้งปัจจุบันปลาไหลนาเป็นปลาที่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการปริมาณเพิ่มสูงขึ้น รวมปริมาณผลผลิตไม่ต่ำกว่า 1,600 เมตริกตันต่อปี มูลค่าไม่ต่ำกว่า 175 ล้านบาทต่อปี (ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมประมง, 2559) ขณะที่การเพาะเลี้ยงปลาไหลนาเชิงพาณิชย์ยังไม่แพร่หลาย ส่วนใหญ่รวบรวมจากธรรมชาติ จึงส่งผลให้ปลาไหลนาเป็นสัตว์น้ำที่มีราคาค่อนข้างสูงตลอดทั้งปี โดยเฉลี่ยกิโลกรัมละ140-320 บาท(ตลาดไท, 2560; ตลาดสี่มุมเมือง, 2560) อย่างไรก็ตามผลผลิตปลาไหลนาที่ได้ยังมีปริมาณที่ไม่แน่นอน การศึกษาที่ผ่านมา(วิรัช, 2551; ศราวุธ และสุวรรณดี, 2536; สุวรรณดี และคณะ, 2536) นักวิจัยได้ทำการศึกษาเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติซึ่งวิธีการนี้ต้องรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลนาจากธรรมชาติและปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองในบ่อที่มีลักษณะเลียนแบบธรรมชาติทั้งนี้การศึกษาประสบผลสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลนาใช้ระยะเวลาในการปรับตัวและเตรียมความพร้อมสมบูรณ์เพศเป็นระยะเวลาค่อนข้างนานกว่าที่พ่อแม่พันธุ์ปลาไหลนาจะมีการผสมพันธุ์วางไข่ภายในบ่อตลอดจนลูกพันธุ์ปลาไหลนาที่ได้มีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรและกระบวนการผลิตลูกพันธุ์ (mass production) เพื่อนำไปสู่การเพาะเลี้ยงปลาไหลนาเชิงพาณิชย์ ด้วยเหตุนี้จึงนำองค์ความรู้ด้านวิทยาต่อมไร้ท่อการสืบพันธุ์ของปลา (Reproductive endocrinology of fish) มาประยุกต์ใช้ในการเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาโดยวิธี “กึ่งเลียนแบบธรรมชาติ” กล่าวคือ มีการประยุกต์ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่มีผลต่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลนา เช่น ฮอร์โมน gonadotropin-releasing hormone analogue (GnRHa) หรือ luteinizing hormone-releasing hormone analogue (LHRHa)(Guan et al., 1996)และ human chorionic gonadotropin (HCG)(Huonget al., 2010)เป็นต้น มาเหนี่ยวนำเร่งความพร้อมสมบูรณ์เพศและการผสมพันธุ์วางไข่ของพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลนาในบ่อที่มีลักษณะเลียนแบบธรรมชาติให้เร็วขึ้นทั้งนี้ยังไม่มีการรายงานข้อมูลการเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาโดยวิธีกึ่งเลียนแบบธรรมชาติในประเทศไทย ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกรหรือผู้สนใจเพาะเลี้ยงปลาไหลนาที่อยู่ในพื้นที่ชุมชนเป้าหมายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาโดยวิธีกึ่งเลียนแบบธรรมชาติจึงจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาโดยวิธีกึ่งเลียนแบบธรรมชาติ ทั้งนี้การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการมีการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนในรายวิชาพล 423 วิทยาต่อมไร้ท่อในสัตว์น้ำ และ/หรือพล 428 วิทยาต่อมไร้ท่อการสืบพันธุ์ของปลาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงปลาไหลนา อีกทั้งเป็นแนวทางการจัดตั้งฐานเรียนรู้หรือฟาร์มต้นแบบการเพาะเลี้ยงปลาไหลนา เพื่อให้คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นแหล่งเรียนรู้ พัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้การเพาะเลี้ยงปลาไหลนาเชิงพาณิชย์ของประเทศไทยในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดเทคนิคการเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาโดยวิธีกึ่งเลียนแบบธรรมชาติในพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย
เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจได้มีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาโดยวิธีกึ่งเลียนแบบธรรมชาติ
เพื่อบูรณาการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกับการเรียนการสอนในรายวิชา พล423 วิทยาต่อมไร้ท่อของปลา และ/หรือ พล428 วิทยาต่อมไร้ท่อการสืบพันธุ์ของปลา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงปลาไหลนา
เพื่อเป็นแนวทางการจัดตั้งฐานเรียนรู้หรือฟาร์มต้นแบบการเพาะเลี้ยงปลาไหลนา คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กลุ่มเกษตรกรผู้สนใจในการเพาะเลี้ยงปลาไหลนาที่อยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนเป้าหมายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ทต.สันพระเนตร,ทต.สันทรายหลวง, ทต.สันนาเม็ง, ทม.แม่โจ้, ทต.ป่าไผ่ และ ทต.หนองจ๊อม) รวมถึงนักศึกษา ศิษย์เก่าและผู้สนใจทั่วไป จำนวนอย่างน้อย 50 คน มีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาโดยวิธีกึ่งเลียนแบบธรรมชาติ
KPI 1 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 3 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 50
KPI 4 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.07
KPI 6 : การบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 พันธกิจ 1
KPI 7 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กลุ่มเกษตรกรผู้สนใจในการเพาะเลี้ยงปลาไหลนาที่อยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนเป้าหมายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ทต.สันพระเนตร,ทต.สันทรายหลวง, ทต.สันนาเม็ง, ทม.แม่โจ้, ทต.ป่าไผ่ และ ทต.หนองจ๊อม) รวมถึงนักศึกษา ศิษย์เก่าและผู้สนใจทั่วไป จำนวนอย่างน้อย 50 คน มีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาโดยวิธีกึ่งเลียนแบบธรรมชาติ
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาโดยวิธีกึ่งเลียนแบบธรรมชาติ”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/11/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์  ศรีนวลสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน สำหรับเจ้าหน้าที่และผู้เข้าอบรม จำนวน 55 คนๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 2 ครั้ง เป็นเงิน 16,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่และผู้เข้าอบรม จำนวน 55 คนๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 ครั้งๆ จำนวนเป็นเงิน7,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม จำนวน 50 เล่มๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ป้ายไวนิล (ขนาด 10 ตารางเมตร) จำนวน 1 ป้ายๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร(ภาครัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 1วันๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร(ภาครัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 1วันๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ300 บาท จำนวน 2 คน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 3 คนๆละ 1วันๆ ละ200 บาท 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น พ่อแม่พันธุ์ปลาไหลนา พลาสติก PE สีดำ ตาข่ายไนล่อนสีฟ้า ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,130.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ฮอร์โมนCinnafact, ฮอร์โมน Chorionic gonadotropin human (HCG)#1vial, ฮอร์โมน 4-Pregnene-17α,20β-diol-3-one #5 mg. ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 21,960.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร กระดาษ A4 80 แกรม แฟ้มซองพลาสติก ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,310.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 70000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
วันและเวลานัดหมายการฝึกอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ทำการประชุมและวางแผนรวมถึงประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้สนใจในการเพาะเลี้ยงปลาไหลนาในเขตพื้นที่ชุมชนเป้าหมายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ถึงระยะเวลาที่เหมาะสมและสะดวกต่อการเข้ารับการอบรม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล