13438 : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการอนุบาลและเลี้ยงกบนาด้วยอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่าอินทรีย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/11/2561 15:15:09
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกบในพื้นที่ ทม.แม่โจ้ ทต.ป่าไผ่ และ ทต.หนองจ๊อม รวมถึงนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2562 2562 70,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย เทพพิทักษ์  บุญทา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี  วิระสิทธิ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT.62-4.การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชนและสนองงานโครงการในพระราชดำริ
เป้าประสงค์ FT.62-4.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ
ตัวชี้วัด FT.62-4-1 ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ ของคณะ
กลยุทธ์ FT.62-4.1.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
ตัวชี้วัด FT.62-4-2 ระดับความสำเร็จของการบริการทางวิชาการแก่สังคม
กลยุทธ์ FT.62-4.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคมทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

กบ เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนำมาบริโภคเป็นอาหาร เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีรสชาติอร่อย ปัจจุบันความต้องการในการบริโภคกบมีเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ (ภาณุวัฒน์, 2546; พงศ์พัฒน์, 2540) อย่างไรก็ตามผลผลิตกบทั้งจากธรรมชาติ และจากฟาร์มเพาะเลี้ยงไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด รวมทั้งประชากรกบนาในธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศไทยที่มีการขยายพื้นที่อยู่อาศัยและบุกรุกพื้นที่ป่ามากขึ้น กบเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น คือประมาณ 3–4 เดือน/รุ่น จะได้ผลผลิตประมาณ 4–6 ตัว/กก. และจำหน่ายได้ราคาดี (80–120 บาท/กก.) สามารถให้ความคุ้มทุนทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้ปัจจุบันมีผู้สนใจในอาชีพเลี้ยงกบเป็นจำนวนมาก โดยกบที่มีการเพาะเลี้ยงกันมากที่สุด คือ กบนา (Rana rugulosa) แม้จะมีการทำฟาร์มเลี้ยงกบในเชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น แต่พบว่าผู้เลี้ยงยังประสบปัญหาด้านการอนุบาลลูกอ๊อดที่มีการพัฒนารูปร่าง (Metamorphosis) จากไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อจนกระทั่งเป็นตัวสำเร็จจะใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน คือ 40 – 50 วัน (เต็มดวง และคณะ, 2538) โดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศไทย ในฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ (14-22 องศาเซลเซียส) (เทพพิทักษ์, 2556) ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกบเชิงพาณิชย์และส่งผลให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงกบหยุดชะงัก นอกจากนี้ผู้เลี้ยงยังประสบปัญหาลูกพันธุ์กบที่ได้ไม่แข็งแรง โตช้า และไม่ทนต่อโรคและพยาธิ จึงทำให้ผู้เลี้ยงกบมักจะนำยาปฏิชีวนะและสารเคมีมาใช้ในการป้องกันรักษาโรค ซึ่งอาจทำให้เชื้อโรคดื้อยา เกิดการตกค้างของสารเคมีในน้ำและในเนื้อกบ ทำให้ไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค จึงเกิดแนวคิดในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมี เพื่อตอบสนองความต้องการทางตลาดต่างประเทศและในประเทศ โดยเฉพาะผู้บริโภคที่เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก การหาแนวทางการเพาะเลี้ยงกบโดยเน้นหลักการเลี้ยงแบบอินทรีย์เพื่อเป็นอาหารปลอดภัยจึงเกิดขึ้น โดย จงกล (2557) กล่าวว่าองค์กรระดับสากลที่มีมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ชัดเจน คือ สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements, IFOAM) ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ (IFOAM Basic Standards, IBS) หน่วยรับรอง (Certification Body, CB) มาตรฐาน IFOAM ที่ใช้ในปัจจุบัน คือ Version 2005 ซึ่งวัตถุประสงค์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ คือเพื่อให้ได้ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์จากกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยมีหลักการการผลิตแบบเกษตรผสมผสาน รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ หมุนเวียนการใช้ทรัพยากรภายในฟาร์มให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ จงกล (2557) ได้ศึกษาถึงการเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าจากน้ำทิ้งโรงอาหารอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่าสูตรที่ใช้น้ำทิ้งจากโรงอาหารอินทรีย์ 90% ผสมกับน้ำประปา 10% ทำให้สาหร่ายสไปรูลิน่าเจริญเติบโตดีที่สุดเมื่อเทียบกับหน่วยทดลองอื่นๆ และเทพพิทักษ์ (2556) ได้ศึกษาถึงผลของอาหารที่เหมาะสมสำหรับการผลิตกบนา พบว่าอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า 5% ทำให้กบนามีค่าน้ำหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ ประสิทธิภาพการใช้โปรตีน FCR อัตราการรอดตาย ค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศของเพศเมีย และค่าการจับกินสิ่งแปลกปลอมของเซลล์เม็ดเลือดขาว มีค่าสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับชุดการทดลองอื่น และ Watanuki et al. (2006) รายงานว่าปลาคาร์พที่ได้รับอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า มีความสามารถในการกำจัดเชื้อโรคสูงขึ้นและเพิ่มความต้านทานต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas hydrophila ได้ นอกจากนี้ยังมีกรดไขมันจำเป็นไม่อิ่มตัว เช่น Arachidonic acid และ Gamma-linolenic acid (GLA) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในกระบวนการสร้าง Prostaglandin มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมปริมาณฮอร์โมนเพศที่ช่วยในการพัฒนาการสร้างไข่และอสุจิได้ทั้งในสัตว์น้ำและในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (เกรียงศักดิ์, 2547; นิวุฒิ, 2547; Jongkol, 2008 และเทพพิทักษ์, 2556) ดังนั้น ผู้รับผิดชอบโครงการจึงมีแนวคิดที่จะนำสาหร่ายสไปรูลิน่าที่เลี้ยงจากน้ำทิ้งจากโรงอาหารอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ตามวิธีการของ จงกล, 2556) ซึ่งถือได้ว่าเป็นสาหร่ายสปรูลิน่าที่มีความปลอดภัยมาทดแทนปลาป่น โดยนำมาผสมอาหารให้กบกิน อีกทั้งยังเป็นการลดการจับปลาขนาดเล็กจากธรรมชาติ (By catch) ส่งผลทำให้เกิดการทำประมงแบบยั่งยืน ลดปัญหาการทำประมงมากเกินควร (Over fishing) และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งยังเป็นแนวทางการลดการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีในการป้องกันโรคกบ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเลี้ยงกบอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตกบนา ทั้งนี้ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีประสบการณ์ในด้านการศึกษา การทำงานวิจัย และเป็นวิทยากรบรรยายและฝึกอบรมในด้านการเทคนิคการอนุบาลและการเพาะเลี้ยงกบ โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นการใช้ประโยชน์จากสาหร่ายสไปรูลิน่าที่เลี้ยงจากน้ำทิ้งโรงอาหารอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจการเลี้ยงกบ นักศึกษาและผู้สนใจ ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและเพิ่มมูลค่าของกบ ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดเทคนิคการอนุบาลลูกอ๊อด การเพาะเลี้ยงกบนา และการทำอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่าที่เลี้ยงจากน้ำทิ้งโรงอาหารอินทรีย์ เพื่อเป็นอาหารกบให้กลุ่มเกษตรกร นักศึกษาและผู้ที่สนใจ
เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการประกอบอาชีพ รวมถึงเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตกบนาให้เกษตรกร นักศึกษา และผู้ที่สนใจ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกบในพื้นที่ ทม.แม่โจ้ ทต.ป่าไผ่ และ ทต.หนองจ๊อม รวมถึงนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ
KPI 1 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.07
KPI 2 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 50
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกบในพื้นที่ ทม.แม่โจ้ ทต.ป่าไผ่ และ ทต.หนองจ๊อม รวมถึงนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการอนุบาลและเลี้ยงกบนาด้วยอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่าอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/11/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวันสำหรับเจ้าหน้าที่ และผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 55 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 16,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ และผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 55 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 7,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม จำนวน 55 เล่ม ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,850 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,850.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย จำนวน 2 วัน ๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ จำนวน 2 คน ๆ 2 วัน ๆ ละ 4 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร ได้แก่ วัตถุดิบผลิตอาหารกบ อาหารเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า และวัสดุเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกบ เช่น ปลาป่น รำละเอียด เกลือป่น ปุ๋ย ผ้าพลาสติก ท่อ PVC ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 26,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ถ้วยบดยา ฮอร์โมน Cinnafact, Motilium-M และ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ แฟ้ม ปากกา ถ่ายเอกสาร และ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,550.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 70000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
วันและเวลานัดหมายการฝึกอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ทำการประชุมและวางแผน รวมถึงประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกบในพื้นที่ ทม.แม่โจ้ ทต.ป่าไผ่ และ ทต.หนองจ๊อม ถึงระยะเวลาที่เหมาะสมและสะดวกต่อการเข้ารับการอบรม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
บริการวิชาการ อ.เทพพิทักษ์.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล