13384 : โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการระบบการผลิตสัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจแบบอะควาโปนิคส์ให้ได้มาตรฐานสัตว์น้ำอินทรีย์ตามแนวพระราชดำริของการทำเกษตรเชิงนิเวศอย่างพอเพียงและยั่งยืน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/11/2561 14:44:57
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
20/11/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  70  คน
รายละเอียด  เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กลุ่มผู้บริโภค ชุมชน นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ว่างงาน บัณฑิตจบใหม่และประชาชนที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2562 จำนวน 70000 บาท 2562 70,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจวบ  ฉายบุ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. จงกล  พรมยะ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT.62-4.การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชนและสนองงานโครงการในพระราชดำริ
เป้าประสงค์ FT.62-4.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ
ตัวชี้วัด FT.62-4-1 ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ ของคณะ
กลยุทธ์ FT.62-4.1.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
ตัวชี้วัด FT.62-4-2 ระดับความสำเร็จของการบริการทางวิชาการแก่สังคม
กลยุทธ์ FT.62-4.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคมทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าอาหารสัตว์น้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีความเหมาะสมและมีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งผลิตอาหารในระบบสัตว์น้ำอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ ประกอบกับแนวโน้มความต้องการสินค้าสัตว์น้ำอินทรีย์ ทั้งในและต่างประเทศเริ่มมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเริ่มคำนึงถึงสุขอนามัย ความปลอดภัยและมลพิษในสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทำให้การได้มาซึ่งสินค้าและผลิตผลทางการเกษตรต่างๆ ต้องมีระบบการผลิตแบบอินทรีย์ที่มีการยอมรับในระดับชาติและระดับสากล ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนเมื่อต้องสร้างมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำอินทรีย์ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลดังกล่าว เพราะในปัจจุบันสินค้าสัตว์น้ำส่งออกของไทยมักประสบวิกฤตการกีดกันสินค้า เช่น สินค้าและผลิตภัณฑ์จากกุ้ง มักถูกปฏิเสธการนำเข้าอยู่บ่อยครั้งจากคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป(EU) จากสินค้าที่ปนเปื้อนสารเคมีต้องห้ามที่เกินมาตรฐาน ทำให้เกิดความเสียหายและก่อผลกระทบต่อนโยบายรัฐบาลที่พยายามส่งเสริมการส่งออกอาหารไทยไปต่างประเทศเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก แนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวนั้นนำมาซึ่งกระบวนการผลิตสัตว์น้ำอินทรีย์ที่ระบบการผลิตทั้งหมดต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ ที่อาจก่อให้เกิดมลพิษในสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันความสับสนในวิธีการผลิตและการพิจารณายอมรับวิธีการต่างๆ ที่มีความหลากหลายในการผลิตให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน การเลี้ยงสัตว์น้ำให้ได้ตามมาตรฐานแล้ว จะต้องมีการถูกตรวจสอบและรับรองการผลิตเกษตรอินทรีย์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์และการจัดการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพื่อนำไปสู่การรับรองที่น่าเชื่อถือได้จากสถาบันของรัฐ/เอกชนหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือในท้องถิ่นเพื่อให้ได้ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมงอินทรีย์ที่ปลอดภัย เหมาะสมต่อการบริโภค ระบบการผลิตของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบหมุนเวียนเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน การเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบอะควาโปนิคส์เป็นการเลี้ยงปลาในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดร่วมกับระบบการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิคส์ เป็นระบบการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากปริมาณธาตุอาหารที่เกิดจากการขับถ่ายของเสียในปลา มาเป็นธาตุอาหารของพืช เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่มีพื้นที่ทำกินขนาดเล็กหรือมีปัญหา พื้นที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งปัจจุบันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีแนวโน้มเปลี่ยนจากการเลี้ยงในระดับความหนาแน่นต่ำซึ่งนิยมทำในระบบเปิดโดยใช้น้ำจากธรรมชาติเข้าสู่การเลี้ยงแบบพัฒนา (ระดับความหนาแน่นสูง) และในระบบปิดซึ่งมีการบำบัดและหมุนเวียนน้ำอยู่ภายในระบบแบบปิดมีข้อดีคือสามารถเพิ่มผลผลิต ป้องกันการติดโรค และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐในและเป็นแหล่งองค์ความรู้ มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถหลากหลายทางด้านการเกษตรและประมง ทั้งยังเป็นสถาบันที่พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรต่างๆ ไว้มากมาย จึงน่าจะเป็นแกนนำในการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเกษตรและการผลิตสัตว์น้ำของภาคเหนือตอนบน โดยมีลักษณะจัดทำเป็นเครือข่ายที่ประสานกลุ่มต่างๆ ของเกษตรกรที่ประกอบอาชีพกับกลุ่มประกอบธุรกิจอื่นที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงรวบรวมและจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านวิชาการธุรกิจอุตสาหกรรมสัตว์น้ำเพื่อใช้ในการตัดสินใจของเกษตรกร นักลงทุน และผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบอันเป็นภารกิจหลักที่สำคัญที่บริการและตอบสนองต่อชุมชนตามแนวทางยุทธศาสตร์ของมหาวิยาลัย มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางการเกษตร และ Roadmap การพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็น University of Life ภายใต้กรอบการพัฒนาด้าน organic university, ด้าน Green University และด้าน Eco university ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบการผลิตสัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจแบบอะควาโปนิคส์ให้ได้มาตรฐานสัตว์น้ำอินทรีย์ตามแนวพระราชดำริของการทำเกษตรเชิงนิเวศอย่างพอเพียงและยั่งยืน
สร้างเครือข่ายระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย เกษตรกร ผู้บริโภค บุคลากรทั้งระดับบุคคล และองค์กรเครือข่ายทางประมง
เพื่อนำองค์ความรู้จากการบริการวิชาการบูรณาการเข้ากับพันธกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กลุ่มผู้บริโภค ชุมชน นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ว่างงาน บัณฑิตจบใหม่และประชาชนที่สนใจ
KPI 1 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.07
KPI 2 : ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนเครือข่ายระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย เกษตรกร ผู้บริโภค บุคลากรทั้งระดับบุคคล และองค์กรเครือข่ายทางประมง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 เครือข่าย 1
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : การบูรณาการองค์เข้ากับพันธกิจด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 พันธกิจ 1
KPI 6 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 70
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 8 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กลุ่มผู้บริโภค ชุมชน นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ว่างงาน บัณฑิตจบใหม่และประชาชนที่สนใจ
ชื่อกิจกรรม :
จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการระบบการผลิตสัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจแบบอะควาโปนิคส์ให้ได้มาตรฐานสัตว์น้ำอินทรีย์ตามแนวพระราชดำริของการทำเกษตรเชิงนิเวศอย่างพอเพียงและยั่งยืน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/11/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจวบ  ฉายบุ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน วิทยากร เจ้าหน้าที่และผู้เข้าอบรม 2 วันๆ ละ 40 คน 1 มื้อๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม วิทยากร เจ้าหน้าที่และผู้เข้าอบรม (1 วัน ต่อ 1 รุ่นๆ ละ 40 คน จำนวน 2 วันๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรภาครัฐ ภาคบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 2 วัน รวม 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรภาครัฐ ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 2 คน 2 วัน รวม 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรเอกชน ภาคบรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 1,200 บาท 2 วัน รวม 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน (แฟ้ม ปากกา ดินสอ ยางลบ กระดาษA4 ปากกาเคมี กระดาษการ์ด ค่าถ่ายเอกสาร มีดคัตเตอร์ ปลั๊กพ่วง เป็นต้น) จำนวน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว (กะละมัง ถังน้ำ กล่องฝาล๊อค ตะกร้า-ถาดพลาสติก ตะกร้า ถุงซิปล๊อค เป็นต้น) จำนวน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ (น้ำยาทดสอบคุณภาพน้ำ กระดาษวัดพีเอช เทอร์โมมิเตอร์ เป็นต้น) 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร (ตาข่ายพลาสติก อวนไนล่อน อาหารปลา วัตถุดิบอาหารสัตว์ วิตามินผง สายยางใส เมล็ดพืช ถาดเพาะ ฟองน้ำเพาะกล้า เป็นต้น ) จำนวน 32,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 32,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 70000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
บริการวิชาการ อ.ประจวบ.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล