13316 : กลั่นน้ำมันหอมระเหยจากยูคาลิปตัสเพื่อทำสเปรย์ไล่ยุง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/11/2561 11:31:22
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
16/11/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกร กลุ่มชุมชน เยาวชน และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2562 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นักรบ  นาคประสม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.3 พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นให้ทันสมัย เพื่อให้เอื้อสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่นผู้สูงอายุ หรือคนรุ่นใหม่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด EN62-4.2.1 จำนวนโครงการ/แหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์หรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของคณะฯ
กลยุทธ์ พัฒนาโครงการ/แหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์การแปรรูปอาหารอินทรีย์ ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ยุงเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ มันชอบวางไข่ในน้ำนิ่ง สะอาด เช่น แหล่งน้ำในครัวเรือน จึงต้องมีการควบคุมทั้งแหล่งกำเนิด และทำลายยุง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคต่างๆ ซึ่งปัจจุบันนี้มีการระบาดของภัยจากยุงลายในภาคเหนือ คือ ไข้เลือดออก และไวรัสซิกา โดยกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสซิกามากที่สุดคือ กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งหากติดเชื้อแล้วจะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตรายด้วย คือจะทำให้เด็กมีศีรษะเล็กกว่าปกติ ดังนั้นจึงมีคำเตือนหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดของโลก หรือหากเป็นประชากรในประเทศที่มีการระบาดก็ขอให้ชะลอการตั้งครรภ์ออกไปก่อน แต่หากหญิงตั้งครรภ์มีอาการไข้ ผื่นขึ้น ตาแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ต้องรีบพบแพทย์ เพื่อทำการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อ สำหรับสถานการณ์ไวรัสซิกาของจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2559 พบว่าสถานการณ์ไวรัสซิกาของจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ติดเชื้อจากเดิม 7 คน และมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก 2 รายในวันที่ 1 กันยายน59 ในพื้นที่ตำบลหนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ซึ่งผู้ป่วยรายใหม่ เป็นนักศึกษา ม.แม่โจ้ เพศหญิง อายุ 18 ปี เริ่มป่วยเมื่อ 28 สิงหาคม 59 เข้ารับการตรวจด้วยอาการ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ เมื่อ 30 สิงหาคม 59 กระทั่งพบผลการติดเชื้อไวรัสซิกา และอีกรายเป็นเพศหญิง อายุ 74 ปี เริ่มป่วยเมื่อ 31 สิงหาคม 9 เข้ารับการตรวจวันเดียวกัน ด้วยอาการออกผื่น ตาแดง และขณะนี้ทั้งสองรายรายมีอาการหายเป็นปกติแล้ว (สยามรัฐ, 2559) โรคที่มียุงเป็นพาหะดังกล่าวนอกจากจะทําให้เกิดการเจ็บป่วยและตาย ยังก่อให้เกิดการสูญเสียอย่างมากในทางเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และการหยุดทํางาน โดยทั่วไปการรักษามักจะรักษาตามอาการเท่านั้น เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนในการฉีดป้องกัน ฉะนั้นการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ประหยัดและคุ้มค่าที่สุดในการป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ การป้องกันไม่ให้ยุงกัดที่นิยมใช้กัน คือ การใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ไล่ยุง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารสังเคราะห์และเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งทำลายสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันจึงมีการศึกษาและใช้สารจากธรรมชาติในการป้องกันยุงกัดมากขึ้น ได้แก่ สารสกัดจากสมุนไพรที่มีกลิ่นจากน้ำมันหอมระเหย (essential หรือ volatile oils) สารป้องกันยุงที่ได้จากธรรมชาติมีข้อดีกว่าสารเคมีสังเคราะห์ที่ไม่สะสมเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นเวลานาน และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาของพืชและสัตว์ สารจากธรรมชาติจึงปลอดภัยต่อผู้ใช้ นอกจากนี้มักมีความจำเพาะกับชนิดของยุงด้วย ยูคาลิปตัสนั้นเป็นไม้ที่โตเร็วสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมเกือบทุกประเภท และยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น (2-3 ปี) โดยในช่วงรอให้ต้นยูคาลิปตัสโตเต็มที่ เกษตรกรจะต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งใบ และในช่วงตัดป้อนบริษัทจะตัดแยกระหว่างกิ่งกับต้นทำให้เกิดของเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก ซึ่งใบของยูคาลิปตัสนั้นอุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย สามารถนำมาสกัดเพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สุคนธบำบัด (aromatherapy) ที่กำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายตามศูนย์สุขภาพต่างๆในโรงพยาบาล โรงแรม ศูนย์สุขภาพกึ่งรีสอร์ท มีงานวิจัยรายงานว่าน้ำมันหอมระเหยจากยูคาลิปตัสมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินหายใจ นอกจากนั้นยังใช้ลดอาการปวดศีรษะจากความเหนื่อยล้า ลดอาการหลอดลมอักเสบ หวัด ไอ ไซนัส และอาการติดเชื้อในคอให้ทุเลาลงได้ ผสมกับน้ำมันตะไคร้หอม ฉีดไล่แมลง ยุง กำจัดรังแคบนหนังศีรษะ กำจัดหมัดสุนัข ใช้ทำความสะอาดคราบน้ำมันบน เสื้อผ้า เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ยูคาลิปตัสสายพันธุ์ที่น้ำมันมีคุณภาพดีและมีสารออกฤทธิ์ในปริมาณสูง เช่น Eucalyptus globulus และ E. elaeophora ใช้มากทางการแพทย์ E. citriodora และ E. macarthurii ใช้มากใน อุตสาหกรรมน้ำหอมและสารแต่งกลิ่น จากข้อมูลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับข้อมูลพื้นฐานของคณะผู้วิจัยในการวิจัยเรื่องการศึกษาและพัฒนาการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมด้วยน้ำและไอน้ำเป็นงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2559 เรื่องการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากใบยูคาลิปตัสโดยวิธีไมโครเวฟร่วมเป็นงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2560 และงานวิจัยเรื่องการพัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยแบบไอน้ำและผลิตภัณฑ์จากน้ำมันตะไคร้หอมได้รับเงินสนับสนุนจาก Industrial Research and Technology Capacity Development Program: IRTC และ ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีของการพัฒนากระบวนการกลั่นโดยการผลิตเครื่องกลั่นด้วยไอน้ำต้นแบบเพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรต่างๆ ในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบหลัก แล้วนำน้ำมันหอมระเหยที่ได้นั้นมาทำผลิตภัณฑ์สเปรย์ไล่ยุง และเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรไทยที่มีความปลอดภัยต่อร่างกาย ลดอันตรายจากการใช้สารเคมี และเป็นการช่วยลดการแพร่กระจายของโรคต่างๆ ที่มียุงเป็นพาหะนำโรค

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากยูคาลิปตัส และการทำผลิตภัณฑ์สเปรย์ไล่ยุง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยและสเปรย์ไล่ยุง
KPI 1 : ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยและการทำสเปรย์ไล่ยุง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 50
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 6 : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และแนวทางในการป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.05
KPI 8 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยและสเปรย์ไล่ยุง
ชื่อกิจกรรม :
การจัดการอบรมโครงการการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากยูคาลิปตัสเพื่อทำสเปรย์ไล่ยุง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/11/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักรบ  นาคประสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน คนละ 150 บาท จำนวน 1 มื้อ = 7,500 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน คนละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ = 3,500 บาท
ค่าจ้างเหมาทำเอกสารประชุม จำนวน 50 เล่ม เล่มละ 70 บาท = 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร
- ภาคบรรยาย 2 คน คนละ2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท = 2,400 บาท
- ภาคปฏิบัติ 2 คน คนละ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท = 1,200 บาท
ค่าจ้างนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน 2 คน คนละ 200 บาท จำนวน 1 วัน = 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์
-ขวดสเปรย์ ขนาด 30 ml ขวดละ20 บาท จำนวน 200 ขวด รวมเป็นเงิน 4,000 บาท
-การบูร 20 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 6,000 บาท
- เอทิลแอลกอฮอล์ 40 ลิตร ลิตรละ 200 บาท รวมเป็นเงิน 8,000 บาท
วัสดุสำนักงาน ได้แก่ กระดาษ ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ 5,000 บาท
วัสดุคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หมึก แผ่น CD หรือ DVD ฯลฯ 5,500 บาท
วัสดุเกษตร ได้แก่ ใบยูคาลิปตัส 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 31,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล