13281 : โครงการศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีสวนสมุนไพรต้นแบบเพื่อความมั่นคงยั่งยืนของชุมชน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 1/11/2561 15:15:39
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  200  คน
รายละเอียด  นักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ ฯ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2562 189,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประดุง  สวนพุฒ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.1 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐษน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์ม ต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร
เป้าประสงค์ 3.1 เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ให้บริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร เป็นที่ยอมรับในสังคมระดับชาติ
ตัวชี้วัด 3.1.1 จำนวนกิจกรรม/โครงการที่ให้บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุน กิจกรรม/โครงการ ที่ให้บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้ส่งผลกระทบต่อการจัดการสุขภาพของคนในชุมชน ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาได้ส่งผลให้วิธีคิดของคนในชุมชนเปลี่ยนตาม การให้ความสำคัญต่อการจัดการสุขภาพภายในชุมชนจึงถูกปฏิเสธการรักษาโรคด้วยสมุนไพรพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่เน้นการรักษาโดยภายนอก โดยการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามหลายปีที่ผ่านมามีหลายชุมชน ที่พยายามจะพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพด้วยตัวเองในการปรับเปลี่ยน และเรียนรู้ในการใช้ภูมิปัญญาด้านสมุนไพร มาปรับใช้ในการจัดการสุขภาพภายในชุมชน การจัดทำสวนสมุนไพรไทย ในชุมชนเพื่อเก็บรวบรวมสมุนไพรให้คนในชุมชนและเยาวชนรุ่น เพื่อสนับสนุนให้ฐานการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีสวนสมุนไพรต้นแบบเพื่อความมั่นคงยั่งยืนของชุมชน กลายเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมองค์ความรู้การพัฒนาภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร แต่ด้วยสมุนไพรที่มีอยู่ต้องอาศัยระบบนิเวศและความสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ในการฟื้นตัว และเพิ่มสรรพคุณในการรักษา มีหลายชุมชนพยายามออกแบบการฟื้นฟูระบบนิเวศดิน น้ำ ป่าไม้ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้และจัดการข้อมูลสมุนไพรเพื่อนำไปสู่การออกแบบการจัดการระบบนิเวศดิน เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร และนำพืชสมุนไพรมาแปรรูป พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน ที่จะส่งผลต่อการสร้างรายได้เศรษฐกิจ ทั้งการพัฒนาสวนสมุนไพรพื้นบ้าน การแปรรูป หรือสกัดสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อใช้ในการรักษาและจำหน่ายให้กับคนในชุมชนและนอกชุมชน ซึ่งนับว่าเป็นการจัดการสภาพแวดล้อมของชุมชนอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม จำเป็นต้องมีการสร้างการศูนย์เรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนในชุมชน คนนอกชุมชน และหน่วยงานสถาบันการศึกษา ร่วมถึงผู้ใช้ประโยชน์จากสมุนไพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ -แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อใช้ในกิจกรรมศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีสวนสมุนไพรต้นแบบ เพื่อความมั่นคงยั่งยืนของชุมชน ด้วยงบลงทุนค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ทำให้ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้รับห้องปฏิบัติการอุทยานสวนสมุนไพร ถือเป็นแหล่งเรียนรู้และบริการวิชาการของคนในชุมชน นักศึกษา บุคลากร ประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาได้รับความรู้และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พืชสมุนไพรไทย ทราบถึงประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพร ตลอดจนการพัฒนาอุทยานสวนสมุนไพร โดยจะเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้และให้บริการด้านต่างๆ เช่นการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรที่มีศักยภาพ การตรวจวิเคราะห์สารสำคัญในพืชสมุนไพร การวิเคราะห์ ดิน น้ำ และพืช เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกสมุนไพรของชุมชน การต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพื่อเสริมสร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อให้เป็นหน่วยในการบริหารจัดการความรู้ด้านสมุนไพรในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ดิน น้ำ ป่าไม้ และส่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
2 เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้วิชาการอุทยานสวนสมุนไพร
3 เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งสร้างรายได้จากผลผลิตด้านพืชสมุนไพร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีสวนสมุนไพรต้นแบบเพื่อความมั่นคงยั่งยืนของชุมชน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 200
KPI 2 : ผู้เข้าศึกษาดูงานมีความรู้ความเข้าใจในพืชสมุนไพรมากขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 70
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีสวนสมุนไพรต้นแบบเพื่อความมั่นคงยั่งยืนของชุมชน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ชื่อกิจกรรม :
ถ่ายทอดเทคโนโลยีสวนสมุนไพรต้นแบบเพื่อความมั่นคงยั่งยืนของชุมชน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประดุง  สวนพุฒ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาผู้ปฏิบัติงานเกษตร จำนวน 1 คน ๆ ละ 9 เดือน ๆ ละ 8,000 บาท เป็นเงิน 72,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมาดูแลห้องปฏิบัติการอุทยานสวนสมุนไพร (วุฒิ ป.ตรี) จำนวน 1 คน ๆ ละ 9 เดือน ๆ ละ 13,000 บาท เป็นเงิน 117,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 189,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 189000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล