13172 : โครงการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อพยาธิในเลือดในโคพื้นเมืองและสุนัข
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
น.ส.ภาวิณี ชัยวุฒิ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 29/10/2561 9:51:30
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 10 คนและนักศึกษาสาขาสัตวศาสตร์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 10 คน และสหกรณ์และฟาร์มโคเนื้อและโคนมในอำเภอต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน งบประมาณเงินแผ่นดิน ประจำปี 2562 2562 1,500,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. วศิน  เจริญตัณธนกุล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.7 พัฒนาระบบบริหารงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 23 23. ร้อยละงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 4.1.2 พัฒนาหลักเกณฑ์ในการของบประมาณบริการวิชาการให้เอื้อต่อนักวิจัยรุ่นใหม่ การ บูรณาการ และการทำงานเป็นทีม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อพยาธิในเลือดเป็นโรคที่พบบ่อยในโคพื้นเมืองและสุนัขในประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นโรคที่นำโดยเห็บที่ติดเชื้อริกเกตเซียและโปรโตซัว โรคนี้เกิดจากการที่เห็บที่มีเชื้อดังกล่าวกัดโคและสุนัขและปล่อยเชื้อเข้ากระแสเลือดสัตว์ ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก เกล็ดเลือดต่ำ ซีด หากไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสมและทันเวลา สัตว์มักจะตาย ในโคที่กำลังป่วยจะให้ผลผลิตเนื้อและนมลดลงมาก โคที่กำลังตั้งท้องจะแท้งลูก บางรายฉี่เป็นเลือด ลุกเดินไม่ได้ ต้องคัดทิ้ง โคมักทยอยเป็นในฟาร์มเดียวกัน ในสุนัขมักพบตั้งแต่อาการที่ไม่เด่นชัด มีเพียงอาการซึม กินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหาร จนถึงอาการที่เด่นชัด ได้แก่ อาการเลือดกำเดาออกจมูก หรือขาหลังเป็นอัมพาตฉับพลัน หรือดีซ่าน หรือซีดจัดจนไตวายเฉียบพลัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อก่อโรค การตรวจพบเจอโรคนี้ในช่วงเริ่มต้นของอาการป่วยและให้การรักษามักจะให้ผลการรักษาที่ดี การวินิจฉัยโรคติดเชื้อพยาธิในเลือดของโคพื้นเมืองและสุนัขในปัจจุบันทำโดยการย้อมฟิล์มเลือดบางด้วยสี Wright’s giemsa ซึ่งมีราคาถูก ทำได้รวดเร็ว แต่มีโอกาสเจอเชื้อน้อย (ประมาณร้อยละ 13) และต้องทำโดยผู้ชำนาญการเท่านั้น ในปัจจุบันห้องปฏิบัติการวิจัยเพื่อส่งเสริมภูมิต้านทานในมนุษย์และสัตว์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนาเทคนิค multiplex polymerase chain reaction (PCR) ที่สามารถตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรคพยาธิในเลือดโคหลายชนิดได้พร้อมกันในปฏิกิริยาเดียว ได้แก่เชื้อ Anaplasma marginale, Anaplasma centrale, Babesia bigemina, Babesia bovis, Theileria sp. และ Trypanosoma sp. และเชื้อก่อโรคพยาธิในเลือดสุนัข ได้แก่เชื้อ Anaplasma phagocytophilum, Ehrlichia canis, Babesia sp. และ Hepatozoon sp. ซึ่งเทคนิคที่พัฒนาขึ้นนี้มีความไวสูง ประหยัดเวลาและประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถตรวจได้หลายตัวอย่างพร้อมกัน สามารถให้บริการตรวจตัวอย่างเลือดให้แก่สหกรณ์โคนมและโคเนื้อในทุกอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ และสามารถรายงานผลกลับให้สหกรณ์และเกษตรกรได้ภายใน 3 วันทำการหลังจากที่ได้รับตัวอย่าง ในปัจจุบันให้บริการเพียงฟาร์มโคเนื้อของมหาวิทยาลัยแม่ โจ้เท่านั้น สำหรับสุนัข โครงการนี้จะให้บริการตรวจเลือดแก่สุนัขที่มาทำหมันในโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานฯ และจะให้บริการการรักษาแก่สุนัขพร้อมกันไปด้วย โครงการนี้ส่งเสริมการบูรณาการความรู้ร่วมกันของนักศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการสกัดและการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยเทคนิค multiplex PCR และนักศึกษาในคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ต้องฝึกปฏิบัติการจับบังคับสัตว์และการเจาะเก็บตัวอย่างเลือดสัตว์ ซึ่งนักศึกษาทั้งสองคณะจะได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติงานร่วมกันในภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อให้นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาสาขาสัตวศาสตร์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ฝึกปฏิบัติจับบังคับและเจาะเลือดโค และเก็บตัวอย่างเลือดสุนัข เพื่อนำมาสกัดและเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรคพยาธิในเลือดด้วยเทคนิค multiplex PCR
2.เพื่อให้นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาสาขาสัตวศาสตร์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ฝึกการนำเสนอการให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องโรคติดเชื้อพยาธิในเลือดในโคและสุนัข
3. ลดอัตราการป่วยและตายของโคพื้นเมืองและสุนัข โดยนำเทคนิค multiplex PCR ที่พัฒนาขึ้นให้บริการตรวจโรคพยาธิในเลือดโคพื้นเมืองและสุนัข ในอำเภอต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่ และให้การรักษาและคำแนะนำในการป้องกันโรคดังกล่าวแก่เกษตรกรและผู้เลี้ยงสุนัข
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โคและสุนัขที่ได้รับบริการตรวจโรคพยาธิในเลือด
KPI 1 : จำนวนนักศึกษาปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา สาขาสัตวศาสตร์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 20
KPI 2 : ร้อยละของการดำเนินงานกิจกรรมในโครงการที่เป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับ
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 95
KPI 3 : ความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อพยาธิในเลือดในโคพื้นเมืองและสุนัข
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : ลดการสูญเสียมูลค่าทางการตลาดอันเนื่องมาจากโรคพยาธิในเม็ดเลือด ในกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการอบรม
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ต่ำกว่าร้อยละ 5
KPI 5 : ร้อยละของนักศึกษาที่สามารถปฏิบัติงานในภาคสนามและในห้องปฏิบัติการได้ถูกต้อง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 70
KPI 6 : จำนวนโคและสุนัขที่ได้รับบริการตรวจโรคพยาธิในเลือด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 500
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดการฟาร์มให้ปลอดโรค (ไม่น้อยกว่า 3 ปี)
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 95
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โคและสุนัขที่ได้รับบริการตรวจโรคพยาธิในเลือด
ชื่อกิจกรรม :
โครงการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อพยาธิในเลือดในโคพื้นเมืองและสุนัข

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วศิน  เจริญตัณธนกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างผู้ช่วยวิจัยประจำโครงการคุณวุฒิปริญญาตรี 2 คน (15,000 บาท x 9 เดือน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 270,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถตู้โดยสารเพื่อเก็บตัวอย่าง 1 คัน 9 เดือน 2,800 บาท/ครั้ง 60 ครั้ง 168,000
ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ 10 เชื้อ 2 เดือน 5,000 บาท/ครั้ง 2 ครั้ง 10,000
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 178,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พัก (จำนวน 10 คืน คืนละ 800 บาท/ห้อง จำนวน 6 ห้อง/คืน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 48,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง อาจารย์เจ้าของโครงการและผู้ร่วมโครงการ ( 2 คน คนละ 144 บาท จำนวน 60 วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 17,280.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (30 คน คนละ 100 บาท จำนวน 25 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 75,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม (30 คน คนละ2มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 25 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารเย็น 10คน ๆละ 100.- 25ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท/ครั้ง)25 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ สำหรับการวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์โมเลกุล อุปกรณ์สำหรับเจาะเลือดและยาสำหรับรักษาโรคพยาธิในเม็ด 1 9 เดือน 679,720 บาท 1 ครั้ง 679,720
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หมึกพิมพ์ CD/thumb drive 1 9 เดือน 10,000 บาท 1 ครั้ง 10,000
ค่าวัสดุสำนักงาน ได้แก่กระดาษ ค่าถ่ายเอกสาร 1 9 เดือน 10,000 บาท 1 ครั้ง 57,000
อุปกรณ์การจัดอบรม 2,000 บาท/ครั้ง 25 ครั้ง 50,000
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 796,720.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1500000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ในช่วงไตรมาสแรกของโครงการมีการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยจึงทำให้เกษตรกรมีความกังวลในการเข้าพื้นที่เก็บตัวอย่างเลือดโค
เนื่องด้วยกิจกรรมตรวจวิเคราะห์โรคพยาธิในเม็ดเลือดบริการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย จึงทำให้ปริมาณตัวอย่างเลือดที่รับบริการตรวจหาโรคพยาธิในเม็ดเลือดมีจำนวนมากกว่าที่ประมาณการไว้ ทำให้อุปกรณ์การเก็บตัวอย่างเลือดในช่วงแรกไม่เพียงพอ
เนื่องจากการเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูฝน เป็นอุปสรรค ในวัน เวลา ที่ได้นัดหมายออกพื้นที่ไปเก็บตัวอย่างเลือดมีฝนตก จึงทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่ตรงตามเป้าหมายที่ว่าไว้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
งดเก็บตัวอย่างในช่วงที่มีโรคระบาด
ได้เตรียมอุปกรณ์เจาะเลือดให้เพียงพอกับความต้องการรับบริการ
ได้ขอความร่วมมือจากปศุสัตว์อำเภอผู้รับผิดชอบในพื้นที่เก็บตัวอย่างเลือดในส่วนที่ยังไม่ได้รับบริการมาให้ห้องปฏิบัติการ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล