12785 : โครงการยกระดับกระบวนการผลิตผักอินทรีย์ในโรงเรือนอัจฉริยะแบบแม่นยำและการเพิ่มมูลค่าการตลาดผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.ปรัชวัน อ่อนคง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 30/8/2561 17:49:25
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
30/08/2561  ถึง  30/08/2561
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  220  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักศึกษา กลุ่ม Startup และ Young smart farmer จำนวน 120 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 2561 800,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โชติพงศ์  กาญจนประโชติ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.4 พัฒนาโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการศาสตร์พระราชา และเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างสังคมเชิงนิเวศต้นแบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ผลิตภัณฑ์พืชผักที่ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ปัจจุบันถือว่าเป็นธุรกิจใหม่ที่มีอนาคต มีแนวโน้มความต้องการจากผู้บริโภคสูงขึ้นเรื่อยๆในทุกๆวันทั้งจากผู้บริโภคภายในประเทศและนอกประเทศ ข้อมูลจากบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด (2560) ผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์มีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 20-30 ต่อปี ซึ่งผลผลิตในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ แต่อย่างไรก็ตามการผลิตผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์ในปัจจุบันมีการปนเปื้อนสารเคมีต่าง ๆ มากมายทั้งทางตรงซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในแต่ละกระบวนการเพาะปลูกทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ หรือทางอ้อมจากการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมพื้นที่เพาะปลูก เป็นสาเหตุทำให้สินค้าผักอินทรีย์ขาดความน่าเชื่อมั่นจากผู้บริโภคและไม่สามารถทำการตลาดได้อย่างที่ควรจะเป็น กระแสการบริโภคอาหารปลอดภัย อาหารกรีน อาคารคลีน อาหารอินทรีย์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่การผลิตอาหารดังกล่าวต้องใช้ทั้งความเชี่ยวชาญ และความใส่ใจเป็นอย่างสูง ทำให้เกษตรกรจำนวนมากยังคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการผลิตแบบเดิม ๆ การยกระบบการเพาะปลูกพืชผักเพื่อผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ด้วยวัตกรรมและเทคโนโลยีการทำฟาร์มด้วยระบบการเกษตรแบบแม่นยำ (Precision Agriculture) และเทคโนโลยีการทำฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farming) ที่เหมาะสมกับบริบทของเกษตรกรไทยด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อาทิเช่น เทคโนโลยีเซ็นเซอร์เพื่อการเกษตร เทคโนโลยี IOT ระบบควบคุมปัจจัยการเพาะปลูกอัตโนมัติ ระบบบันทึกข้อมูลฟาร์มอิเล็กทรอนิกส์และการตรวจสอบย้อนกลับที่มีความน่าเชื่อถือและแม่นยำ ระบบการเฝ้าติดตามแปลงเพาะปลูกเข้ามาบูรณาการเข้ากับกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมที่เกษตรกรมีองค์ความรู้และความชำนาญอยู่ก่อนแล้ว ครอบคลุมทุกกระบวนการในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เริ่มตั้งแต่จากขั้นตอนการเตรียมพื้นที่ การบริหารจัดการปัจจัยการเพาะปลูก การอารักขาพืช การเก็บเกี่ยว ระบบมาตรฐาน และระบบตรวจสอบย้อนกลับ ตลอดจนถึงการจำหน่ายออนไลน์ (online market) และการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมจึงเป็นแนวทางสำหรับการยกระดับกระบวนการผลิตพืชผักอินทรีย์ให้ได้คุณภาพที่มีความน่าเชื่อถือและช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถขยายตลาดผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์เพื่อสร้างความยั่งยืนในอาชีพได้ นโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลที่มีต่อภาคการผลิตทางด้านการเกษตร เป็นการขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมด้วยนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการทำการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในขณะนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอาการ อาทิ อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ประสบภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง เกิดภาระขาดแคลนอาหาร ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพจากโรคและแมลงพาหนะ ดังนั้นหากการผลิตพืชผลเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและตอนล่างมีการทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดก็จะเป็นการส่งเสริมการขาย เพิ่มศักยภาพในการส่งออกไปยังประเทศที่มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรปลอดภัยที่สามารถพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่าการนำเทคโนโลยีการทำการเกษตรแบบแม่นยำ (Precision Agricultural) และฟาร์มอัจฉริยะ (Smart farming) ตลอดจนเครื่องมือทางการเกษตรสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตสินค้าพืชผักอินทรีย์เป็นการตอบสนองนโยบายThailand 4.0 ของรัฐบาล สนับสนุนการมุ่งสู่ความสำเร็จด้วยการผสมผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อให้ได้สิงค้าตามจำนวนที่ต้องการอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาความมั่นคงด้านอาชีพเกษตรกรรมไทยอย่างยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเก็บข้อมูลทำงานและต้นทุนการทำงานอุปกรณ์ตรวจวัดปัจจัยการเพาะปลูกในโรงเรือนและการควบคุมอัตโนมัติสำหรับระบบการผลิตผักแบบอินทรีย์ด้วยระบบเกษตรแม่นยำ
เพื่อสร้างระบบการเก็บข้อมูลพืชผักสำหรับระบบตรวจสอบย้อนกลับที่มีความน่าเชื่อถือบนพื้นฐานเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบดิจิตอล
เพื่อสร้างและเก็บข้อมูลระบบการค้าขายผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์แบบออนไลน์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โรงเรือนอัจฉริยะสำหรับปลูกพืชผักแบบอินทรีย์ด้วยระบบเกษตรแม่นยำ
KPI 1 : จำนวนความต้องการของผู้สนใจนำเทคโนโลยีโรงเรือนอัจฉริยะสำหรับปลูกพืชผักแบบอินทรีย์ด้วยระบบเกษตรแม่นยำไปใช้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 40
ผลผลิต : ระบบเก็บข้อมูลผักอินทรีย์ด้วยระบบตรวจสอบย้อนกลับที่มีความน่าเชื่อถือบนพื้นฐานเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบดิจิตอลและระบบการค้าขายผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์แบบออนไลน์
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้บริโภคสินค้าผักอินทรีย์จากระบบในโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้บริโภคสินค้าผักอินทรีย์จากระบบในโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 80
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของการขายสินค้าผักอินทรีย์ผ่านระบบออนไลน์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนสินค้าผักอินทรีย์ที่ขายผ่านระบบออนไลน์ได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ชนิดผลิตภัณฑ์ 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โรงเรือนอัจฉริยะสำหรับปลูกพืชผักแบบอินทรีย์ด้วยระบบเกษตรแม่นยำ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 เก็บข้อมูลการทำงานของต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะสำหรับปลูกพืชผักแบบอินทรีย์ระบบเกษตรแม่นยำและข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2561 - 28/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาออกแบบและติดตั้งระบบอุปกรณ์ในโรงเรือน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูลการทำงานและต้นทุนการทำงานอุปกรณ์ตรวจวัดปัจจัยการเพาะปลูกในโรงเรือนและการควบคุมอัตโนมัติสำหรับระบบการผลิตผักแบบอินทรีย์ด้วยระบบเกษตรแม่นยำ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาดูแลแปลงเกษตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์
1) บอร์ดไลบรารี่พาย(2,500x12 =30,000 บาท)
2) โคว์เวอร์ ไลบรารี่พาย (450x12 = 5,400 บาท)
3) USB ชาร์ตเจอร์ (750x12 = 9,000 บาท)
4) สายเชื่อมต่อ USB (200x15 = 3,000บาท)
5) พาวเวอร์ซัพไพล์ 2 แอมแปร์ (350x15 = 5,250บาท)
6) ไมโคร SD card 32 GB (750x15 = 11,250บาท)
7) สาย HDMI (450x12 = 5,400 บาท)
8) เมาส์และคีย์บอร์ดแบบUSB (1,500x1 = 1,500 บาท)
9) ตัวกระจายสัญญานความถี่วิทยุ 2.4
(3,500x2 = 7,000 บาท)
10) โมดูลหลอดไฟ LED (15,000x2 = 30,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 107,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้า
1) โมดูลวิเคราะห์ภาพสำหรับค่าดัชนีพืชพันธ์ (NDVI) (20,000x1 = 20,000 บาท)
2) พัดลม dc 24 โวลต์ (2500x 6 = 15,000 บาท)
3) โมดูลสื่อสาร LoRa Module (350x12 = 4,200 บาท)
4) โมดูลไวไฟ (200x12 = 2,400 บาท)
5) โมดูลเซ็นเซอร์วัดค่าปริมาณความชื้นในดิน
(500X12 =6,000 บาท)
6) โมดูลโซล่าเซลล์ (500X12 =6,000 บาท)
7) โมดูลชาร์ตแบตเตอรี่ (200x12 = 2,400 บาท)
8) ถ่านไฟฉาย (300x12 = 3,600 บาท)
9) โมดูลวงจรขยายสัญญาณและควบคุมมอเตอร์แบบกลับด้าน (250X6 = 1,500 บาท)
10) มอเตอร์วาล์วไฟฟ้า ขนาด 1 นิ้ว
(1800x12 = 21,600 บาท)
11) กล่องกันน้ำ IP65 ขนาด 6x6 นิ้ว
(60x12 = 720 บาท)
12) ขาปรับระดับ (80x12 = 960 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 84,380.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุก่อสร้าง
1) ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว (180x25 = 4,500 บาท)
2) ท่อ PVC ขนาด 1 นิ้ว (100x25 = 2,500 บาท)
3) ข้อต่อข้องอ PVC (45x100 = 4,500 บาท)
4) ท่อพลาสติก PE 25 มม. (1200x4 = 4,800 บาท)
5) บอลวาล์ว 2 นิ้ว (80x15 = 1,200 บาท)
6) กาวติดท่อ (120x20 = 2,400 บาท)
7) เทปพันเกลียว (45x20 = 900 บาท)
8) ฟุตวาล์วทองเหลือง 2 นิ้ว (450x2 =900 บาท)
9) เชื่อมต่อท่อ PE ไป PVC (50x40 = 2,000 บาท)
10) ปิดปลายท่อ PE 25 มม. (35x40 = 1,400 บาท)
11) ท่อสแตนเลส 22.2 มม. (350x100 = 35,000 บาท)
12) แผ่นสแตนเลส 2 มม. (7500x20 = 150,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 210,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร
1) ต้นกล้าผักสลัดอินทรีย์ (12.35x200 = 2,470 บาท)
2) ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ (250x15 = 3,750 บาท)
3) พลาสติกคลุมแปลง (450x5 = 2,250 บาท)
4) หัวสปริงเกอร์ชนิดปีกผีเสื้อพร้อมเสา
(25x 500 = 12,500 บาท)
5) พลาสติกใส โรงเรือน (750x5 = 3,750 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 24,720.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 509000.00
ผลผลิต : ระบบเก็บข้อมูลผักอินทรีย์ด้วยระบบตรวจสอบย้อนกลับที่มีความน่าเชื่อถือบนพื้นฐานเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบดิจิตอลและระบบการค้าขายผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์แบบออนไลน์
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 เก็บข้อมูลมาตรฐานการผลิตผักอินทรีย์ด้วยระบบตรวจสอบย้อนกลับที่มีความน่าเชื่อถือบนพื้นฐานเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบดิจิตอล และ ระบบการค้าขายผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์แบบออนไลน์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2561 - 28/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเช่าใช้ software/application เก็บข้อมูลกระบวนการเพาะปลูก
สำหรับเช่าใช้ software/application การเก็บข้อมูลกระบวนการเพาะปลูกผักในโรงเรือน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 75,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเช่าใช้พื้นที่เก็บข้อมูลและระบบฐานข้อมูลดิจิตอล (cloud server)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 111,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเช่าใช้ software/application ระบบการค้าขายผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์แบบออนไลน์
สำหรับเช่าใช้ software/application ระบบการค้าขายผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์แบบออนไลน์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาดูแลระบบ cloud server
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 291000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ระยะเวลากาดำเนินโครงการที่จำกัดและระบบงานเอกสาร
สภาพภูมิอากาศที่เป็นช่วงฤดูฝน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เจ้าหน้าที่สนับสนุนงานให้เกิดความรวดเร็วในด้านงานเอกสารและการเบิกจ่าย
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002+แผนงาน+แผนเงิน
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล