12739 : โครงการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนด้านศิลปะและวัฒนธรรม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.กัลย์ชิสา นามวงศ์พรหม (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/8/2561 15:24:34
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
18/08/2561  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  120  คน
รายละเอียด  1. นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม 1 เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา และบำเพ็ญประโยชน์ ณ วัดจองคำ อ.งาว จ.ลำปาง จำนวน 50 คน 2. นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม 2 เรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมรากเหง้าของ จ.เชียงใหม่ จำนวน 70 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้จากเงินค่าพัฒนานักศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2561 แผนงานพื้นฐาน ผลผลิตผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมสนับสนุนบริหารจัดการทั่วไป แผนงานการเรียนการสอน งานสนับสนุนการจัดการศึกษา กองทุนกิจการนักศึกษา งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป รายการโครงการตามภารกิจพัฒนางานเดิม (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1) 2561 41,400.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. กอบลาภ  อารีศรีสม
น.ส. กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. พุฒิสรรค์  เครือคำ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรืองชัย  จูวัฒนสำราญ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 1 การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 61-64 MJU 1.5 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 61MJU1.5.3 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนานักศึกษา 5 ด้านตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. ก่อนสำเร็จการศึกษา
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.5.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ ด้านการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61 ผก 1. การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 61 ผก. 1.3 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 61 ผก 1.6 ระดับความสำเร็จของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
กลยุทธ์ 61 ผก 1.6 จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนของคณะผลิตกรรมการเกษตร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โครงการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนด้านศิลปะและวัฒนธรรม มุ่งหวังส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนให้เป็นไปตามแผนพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ให้ครบทั้ง 6 ด้านในระดับปริญญาตรี โครงการนี้เป็นโครงการด้านที่ 3 ด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยนักศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ(PDCA)ของการจัดโครงการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ แบ่งเป็น 2 กิจกรรม กิจกรรม 1 นำนักศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา และบำเพ็ญประโยชน์ ณ วัดจองคำ อ.งาว จ.ลำปาง เนื่องด้วยวัฒนธรรมของชาวล้านนาไทย คือ วิถีชีวิตของชาวล้านนาไทย เป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาม และการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆที่สมาชิกในสังคมล้านนา สามารถรู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกัน ล้านนาไทย หรือ ดินแดนล้านนานั้น หมายถึงดินแดนบางส่วนของอาณาเขตบริเวณ ลุ่มน้ำแม่โขง ลุ่มน้ำสาละวิน แม่น้าเจ้าพระยา ตลอดจนเมืองที่ตั้งตามลุ่มน้ำสาขาเช่นแม่นำกก แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปาย แม่น้ำแตง แม่น้ำงัด ฯลฯ โดยมีอาณาเขตทางทิศใต้จดเมืองตาก (อำเภอบ้านตากในปัจจุบัน) และจดเขตดินแดนด้านเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ทิศตะวันตกเลยลึกเข้าไปในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน ทิศตะวันออกจดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ทิศเหนือจดเมืองเชียงรุ่ง (หรือคนจีนเรียกในปัจจุบันว่า เมืองจิ่งหง) ซึ่งบริเวณชายขอบของล้านนา อาทิ เมืองเชียงตุง เชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองปุ เมืองสาด เมืองนาย เป็นบริเวณที่รัฐล้านนาแผ่อิทธิพล ไปถึงในเมืองนั้นๆ ๘ จังหวัดล้านนา ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ได้รับการกำหนดเป็นเส้นทางท่องเที่ยว โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ได้มีโอกาสสัมผัส...เรียนรู้...และเข้าใจวิถีชีวิตความเป็นล้านนา ซึ่งความแน่นแฟ้นในความเป็นล้านนายังดำรงอยู่อย่างชัดเจนในประเพณีและวิถีชีวิตของผู้คน หากแต่"ล้านนา"แม้มาจากรากเดียวกันก็ยังมี"ความต่าง"ในแต่ละพื้นที่ สโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร มีความต้องการจะเชิดชูวัฒนธรรมอันลึกซึ้งละเอียดอ่อน โดยจัดกิจกรรมนำนักศึกษาคณะผลิตฯ จำนวน 50 คน เดินทางไปฟังเทศนาธรรม สักการะพระธาตุ "พุทธคยา" จำลองแบบพุทธคยา ประเทศอินเดีย ณ วัดจองคำ อ.งาว จ.ลำปาง และให้นักศึกษาจะได้ทำกิจกรรมจิตอาสาปลูกต้นไม้ประจำท้องถิ่น พร้อมเรียนรู้การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย ทั้งด้านการเกษตรและวิถีชีวิต ตลอดจนเข้าเยี่ยมชมงานหัตถศิลป์ได้ตามความสนใจ กิจกรรม 2 นำนักศึกษาเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมรากเหง้าของ จ.เชียงใหม่ ด้วยแนวคิดที่ว่า วัฒนธรรม จะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้คนมีความรู้สึกผูกพัน สามารถพึ่งพาอาศัยกันและกันได้ เป็นเหตุผลหลักในการจัดกิจกรรมนำนักศึกษาเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมรากเหง้าของ จ.เชียงใหม่ อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ การทำให้นักศึกษาตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญ รู้จักสถานที่ทางวัฒนธรรมในเมืองเชียงใหม่เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสร้างเสริมให้นักศึกษารู้สึกสำนึกถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในแต่ละภาค และหาวิธีสืบทอดต่อๆกันจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ตลอดจนเป็นการสร้างความสามัคคี ของหมู่คณะ ให้มีปณิธานร่วมกันที่จะสืบสานวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จะได้เข้าเยี่ยมชมโบราณสถานที่สำคัญ และวัดต่างๆในตัวเมืองเชียงใหม่ และมีวิทยากรด้านวัฒนธรรมล้านนาไทยมาบอกเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของศิลปวัฒนธรรมที่ปรากฎอยู่ตามโบราณสถานต่างๆ นักศึกษาจะได้รับฟังการบรรยายว่าประเพณีและวัฒนธรรมล้านนามีความสำคัญและมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อสังคมไทยอย่างไร เพื่อให้นักศึกษาร่วมกันสืบสานจรรโลงประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่สืบไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาด้านการเกษตร ล้านนาไทย
เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทยให้แก่นักศึกษา
เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านคุณธรรม จริยธรรม
เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษาเกิดจิตอาสา และอนุรักษ์ธรรมชาติ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาด้านการเกษตรล้านนาไทย ได้รับการส่งเสริมและถ่ายทอดการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย และด้านคุณธรรมจริยธรรม ปลูกฝังให้นักศึกษาเกิดจิตอาสา และอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมทั้งได้พัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกัน
KPI 1 : จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ 2 กิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
KPI 2 : ระดับที่นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาด้านการเกษตร ล้านนาไทย
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระดับ 3.5
KPI 3 : ระดับที่นักศึกษาได้รับการปลูกฝังให้เกิดจิตอาสาและอนุรักษ์ธรรมชาติ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระดับ 3.5
KPI 4 : ระดับที่นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านคุณธรรมจริยธรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระดับ 3.5
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาด้านการเกษตรล้านนาไทย ได้รับการส่งเสริมและถ่ายทอดการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย และด้านคุณธรรมจริยธรรม ปลูกฝังให้นักศึกษาเกิดจิตอาสา และอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมทั้งได้พัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกัน
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม 1 นำนักศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา และบำเพ็ญประโยชน์ ณ วัดจองคำ อ.งาว จ.ลำปาง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 24/08/2561 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กอบลาภ  อารีศรีสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จักรพงษ์  ไชยวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี  อารีศรีสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์วินัย  แสงแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์  พรหมวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารนักศึกษา 50 คน x 200 บาท=10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าพาหนะ = 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง เจ้าหน้าที่ 4 คน คนละ 240 = 960 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 960.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร (บำเพ็ญประโยชน์ พัฒนาวัดจองคำ) 4,040 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,040.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 19000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม 2 นำนักศึกษาเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมรากเหง้าของ จ.เชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 24/08/2561 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กอบลาภ  อารีศรีสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.สุลาวัลย์  อาทิตย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ  สุทธิกุลบุตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายกิตติชัย  เกตุจิ๋ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารนักศึกษา 70 คน x 100 บาท = 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง เจ้าหน้าที่ 5 คน คนละ 200 = 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากร (พาชมวัด โบราณสถาน สถานที่สำคัญ) 6 ชั่วโมงต่อวัน (2วัน)=14,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 22400.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
นักศึกษามีกิจกรรมที่ต้องดำเนินงานเป็นจำนวนมาก ในระยะเวลาเดือนสิงหาคม-กันยายน แต่มีความจำเป็นต้องจัดโครงการภายในระยะเวลา 2 เดือน ตามระเบียบการเบิกจ่าย
ความไม่สะดวกในการเดินทางช่วงฤดูฝน เพราะมีความเสี่ยง อาจเกิดอุบัติเหตุจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประชุมนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และคณะทำงานสโมสรและชมรมนักศึกษา หารือเรื่องช่วงเวลาที่เหมาะสมและสามารถดำเนินกิจกรรมได้โดยไม่กระทบต่อการเรียน การสอบกลางภาค
ทำเรื่องขอใช้รถยนต์ของคณะผลิตฯ โดยวางแผนเลือกพนักงานขับรถที่มีความชำนาญในการขับขี่ช่วงหน้าฝนและเข้าใจเส้นทางมาเป็นผู้บริการนักศึกษา / แจ้งกำชับหัวหน้าฝ่ายยานพาหนะ นำรถที่ใช้งาน เข้าตรวจเช็คความพร้อมและซ่อมแซมก่อนการเดินทาง / แจ้งนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมให้เตรียมร่ม หมวก เสื้อกันฝน ให้พร้อมใช้เมื่อจำเป็น
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล