12672 : โครงการจัดตั้งบริษัทจากงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.พรทิวา ชัยคำเพ็ชร์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/7/2561 14:40:19
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/07/2561  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  ก. บุคลากรของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 1. รองอธิการบดี 2. คณบดี 3. นักวิจัยที่ต้องการนำงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ออกไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง เหมาะสม 4. ผู้อำนวยการสำนัก สถาบัน ที่เกี่ยวข้อง ข. มหาวิทยาลัยเป้าหมายที่ต้องการเชิญมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 3. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ กองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 76,700.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิตตินุช  ชุลิกาวิทย์
นาง นรมน  โลไทยสงค์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กชพร  ศิริโภคากิจ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
กองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2559 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 59MJU3 ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและนวัตกรรมด้าน Organic Green Eco
เป้าประสงค์ 59MJU3.1 มหาวิทยาลัยมีบุคลากรวิจัยมีจำนวนเพิ่มขึ้น และมีนักวิจัยและผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ
ตัวชี้วัด 59MJU3.05 ร้อยละของอาจารย์และนักวิจัยประจำที่มีงานวิจัยต่อจำนวนอาจารย์และนักวิจัยประจำทั้งหมด
กลยุทธ์ 59MJU3.1.1 ส่งเสริมให้อาจารย์และนักวิจัยทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การบริหารสถาบันการศึกษาในปัจจุบันมีความยากลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องด้วยนักศึกษาที่มีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก อีกทั้งพัฒนาการของเทคโนโลยีปรับเปลี่ยนรวดเร็วเป็นทวีคูณ ส่งผลกระทบต่อวิถีและรูปแบบการดำรงชีวิต หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดระบบการศึกษาและระบบการวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงรอบตัว นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของกระทรวงตามนโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้มหาวิทยาลัยสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัยให้มากขึ้น ย่อมส่งผลไม่มากก็น้อยต่อสถาบันการศึกษาตามไปด้วย ประการสำคัญคือการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เป็นระยะเวลามากกว่า ๑ ปีแล้ว บุคลากรที่มีศักยภาพและมีทางเลือกของมหาวิทยาลัยย่อมต้องการความแตกต่างที่ทำให้เอื้อต่อการทำงาน ดังนั้น มหาวิทยาลัยต้องวางแนวทางรองรับเพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายในของมหาวิทยาลัย การบริหารจัดการองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยมีอยู่ ตลอดจนการต่อยอดองค์ความรู้เหล่านั้นไปสู่การใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเชิงสังคม เชิงนโยบาย โดยเฉพาะเชิงพาณิชย์ ต้องใช้การบริหารจัดการในเชิงธุรกิจเข้าร่วมด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การบริหารจัดการอย่างเหมาะสมและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งในเชิงการลงทุนที่จะต้องมีผลกำไรขาดทุน ตลอดจนความเสี่ยงที่มหาวิทยาลัยต้องรับผิดชอบในสินค้าหรือบริการที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินธุรกิจด้วย ซึ่งหมายถึงโอกาสที่มหาวิทยาลัยอาจถูกฟ้องร้องกรณีเกิดปัญหาหรือความไม่เข้าใจกันระหว่างคู่สัญญาที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย ตลอดจนผู้บริโภคที่ได้ใช้สินค้าหรือบริการที่เกิดจากมหาวิทยาลัย พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๔ ได้เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่กระทำการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ในมาตรา ๗ โดย มาตรา ๑๔ (๑๑) เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยจัดตั้งหรือร่วมกับบุคคลอื่นในการจัดตั้งองค์กรที่เป็นนิติบุคคล รวมตลอดถึงลงทุนหรือร่วมลงทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลใด เพื่อดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับกิจการของมหาวิทยาลัย หรือนำผลการค้นคว้าวิจัยไปเผยแพร่ หรือแสวงหาประโยชน์เพื่อเป็นรายได้ของมหาวิทยาลัย ดังนั้น การจัดตั้งนิติบุคคลในลักษณะของบริษัทจัดตั้งใหม่ที่ใช้ฐานงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย (Start-up Company) โดยมีมหาวิทยาลัยร่วมถือหุ้นจะเป็นทางออกที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลักดันผลผลิตที่เกิดขึ้นจากงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ตลอดจนช่วยแก้ปัญหาความซ้อนทับในผลประโยชน์ของหน่วยงานบางหน่วยงานที่จำเป็นต้องมีบริบทแยกออกจากมหาวิทยาลัย การจัดตั้งนิติบุคคลในรูปแบบของบริษัทจำกัดมีตัวอย่างดำเนินการแล้วในหลาย ๆ มหาวิทยาลัย โดยเกิดจากที่มาและความจำเป็นของแต่ละมหาวิทยาลัยที่แตกต่างกัน ดังเช่น บริษัท นวัตกรรมจามจุรี จำกัด และ บริษัท ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจามจุรี จำกัด ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งสองบริษัทจัดตั้งขึ้นอยู่ภายใต้โครงสร้างของมูลนิธิสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ถือหุ้น ทั้งนี้บริษัท นวัตกรรมจามจุรี จำกัด ทำหน้าที่กำกับดูแลบริษัทต่าง ๆ ที่มูลนิธิฯ ถือหุ้น (ทำหน้าที่ในลักษณะของ Holding Company) สำหรับบริษัท ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจามจุรี จำกัด ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการดำเนินการทางธุรกรรมและส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงและทดลองตลาดก่อนการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยีกับภาคเอกชนต่อไป ตลอดจนรับเป็นบริษัทขายผลิตภัณฑ์ให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่มีนวัตกรรมที่มีศักยภาพแต่ยังไม่พร้อมที่จะรับความเสี่ยงออกไปดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง (ทำหน้าที่ในลักษณะของ Trading Company) ในภาพรวมแล้วทั้งสองบริษัทที่ทำธุรกิจนวัตกรรมให้กับมหาวิทยาลัยภายใต้โครงสร้างของมูลนิธิฯ นั้น จะช่วยลดความเสี่ยงด้านธุรกิจให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสองชั้น กล่าวคือ หากเกิดการฟ้องร้องบริษัทฯ ตัวบริษัทฯ ซึ่งเป็นองค์กรดำเนินธุรกิจจะเป็นตัวช่วยลดความเสี่ยงให้กับมหาวิทยาลัยในชั้นที่หนึ่ง หากพ้นจากบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นบริษัทฯ คือมูลนิธิฯ ตัวมูลนิธิฯ จะช่วยลดความเสี่ยงให้กับมหาวิทยาลัยในชั้นที่สอง กรณี บริษัท โรงสีข้าว สวนดุสิต จำกัด ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จัดตั้งขึ้นเพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินธุรกิจโรงสีข้าวของมหาวิทยาลัยได้อย่างถูกต้อง โดยจัดตั้งเป็นโครงการ โรงสีข้าว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ตามนโยบายของอธิการบดีโดยได้รับการอนุมัติจากสภาประจำสถาบันราชภัฏสวนดุสิต ในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ให้ก่อสร้างโรงสีข้าวและซื้อที่ดิน จำนวน 10 ไร่ และเปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2547 และให้อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักกิจการพิเศษ บริษัทฯ ดำเนินกิจกรรมในลักษณะธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ให้เป็นโรงสีข้าวต้นแบบ สำหรับโรงสีข้าวชุมชน โรงสีข้าวสหกรณ์การเกษตร และผู้สนใจทั่วไป นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ ส่งเสริมการเรียนรู้ของเกษตรกร กรณี บริษัท พี. เอส. ยู. นวัตวาณิชย์ จำกัด ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดตั้งขึ้นเนื่องจากมหาวิทยาลัยมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมทั้งที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีจำนวนมากที่มีศักยภาพ แต่ไม่สามารถนำไปดำเนินการสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้มากนัก เนื่องจากผลงานดังกล่าวบางส่วนยังไม่มีศักยภาพเพียงพอในระดับตลาดสากล ที่จะดึงดูดให้มีผู้สนใจมาดำเนินการ ผลงานบางส่วนนักวิจัยต้องการที่จะดำเนินการเอง แต่ในระยะแรกยังไม่มีความพร้อมในการดำเนินการในรูปแบบนิติบุคคล และบางส่วนเจ้าของผลงานไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินการทางธุรกิจ แต่อยากจะให้มีการดำเนินการในนามมหาวิทยาลัย ดังนั้น การจัดตั้งบริษัทพาณิชย์นวัตกรรม หรือ Innovation Trading Company (Innotrade) จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการสนับสนุนให้มีการนำผลงานวิจัย และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยมาดำเนินการในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรมและหากผู้ดำเนินการมีความพร้อมสามารถ Spin-off ออกไปเป็นบริษัทเต็มรูปแบบ ได้อีกทางหนึ่งด้วย กรณี บริษัท นววิวรรธ จำกัด ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดตั้งและถือหุ้นโดยมูลนิธิมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ๙๙.๙๖% บริษัท นววิวรรธ จำกัด จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนทุนเพื่อให้นักศึกษาได้สร้างธุรกิจเพื่อสังคมในเบื้องต้น และร่วมลงทุนให้บริษัทที่มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเป็นพื้นฐาน เพื่อทำให้เกิดการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบการสร้าง Spin-off Company และแบ่งปันผลประโยชน์กลับให้มหาวิทยาลัย จากตัวอย่างทั้ง ๔ มหาวิทยาลัยข้างต้น จะเห็นได้ถึงความแตกต่างของวัตถุประสงค์การจัดตั้งนิติบุคคล การนำนิติบุคคลไปใช้ประโยชน์ รูปแบบการถือหุ้นในนิติบุคคล และข้อปลีกย่อยอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้การจัดตั้งนิติบุคคลของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นไปด้วยความเหมาะสม ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้เกิด “โครงการจัดตั้งบริษัทจากงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้” เพื่อให้เกิดประโยชน์ และเกิดจากความมีส่วนร่วมของผู้ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแท้จริง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อศึกษาหารูปแบบการจัดตั้งนิติบุคคลที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่จะช่วยผลักดันงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปสู่การใช้ประโยชน์
เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์การจัดตั้งนิติบุคคลของมหาวิทยาลัยอื่น
เพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ต่อการเปลี่ยนแปลงในทางที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาต่อยอดงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ออกสู่เชิงพาณิชย์
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 2 : ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 3 : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนการจัดเสวนา/แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดตั้งนิติบุคคลในนามมหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ครั้ง 3
KPI 5 : สามารถพัฒนาและต่อยอดผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ออกสู่เชิงพาณิชย์ได้สะดวกมากขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ร้อยละ 20
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาต่อยอดงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ออกสู่เชิงพาณิชย์
ชื่อกิจกรรม :
1. การเสวนาร่วมกับนักวิจัยเกี่ยวกับปัญหา/อุปสรรคในการนำงานวิจัยไปใช้เชิงพาณิชย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/07/2561 - 21/07/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตตินุช  ชุลิกาวิทย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางนรมน  โลไทยสงค์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (30 คน x 50 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 1,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1500.00
ชื่อกิจกรรม :
2. การบรรยาย เรื่อง “ประสบการณ์การจัดตั้งนิติบุคคลภายใต้สถาบันการศึกษา” โดยวิทยากรจาก 3 สถาบัน และนำเสนอและอภิปรายตัวอย่าง 2 ธุรกิจจากนักวิจัย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 09/08/2561 - 16/08/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตตินุช  ชุลิกาวิทย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางนรมน  โลไทยสงค์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าที่พัก (2 คน x 1,500 บาท x 1 คืน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าเดินทางของวิทยากร (4 คน x 7,500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าถ่ายเอกสาร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท 1,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม (50 คน x 200 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 คน x 50 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่ารับรองวิทยากร (6 คน x 400 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถตู้ปรับอากาศ (คันละ1,800 x 2 คัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (4 คน x 1,200 บาท x 3 ชั่วโมง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (100 บาท x 2 คน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 200.00 บาท 200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 69700.00
ชื่อกิจกรรม :
3. การเสวนาเรื่อง “รูปแบบการจัดตั้งนิติบุคคลที่เป็นรูปธรรม” ร่วมกับนักวิจัยที่มีศักยภาพ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/08/2561 - 23/08/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตตินุช  ชุลิกาวิทย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางนรมน  โลไทยสงค์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าถ่ายเอกสาร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าวัสดุสิ้นเปลือง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (30 คน x 50 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 1,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล