11599 : โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยเข้าสู่มาตรฐาน RSPO
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.มินทร์ลดา บัวแสง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 10/11/2560 13:43:02
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2560  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  1000  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมายจำนวน1,000คน ประกอบด้วย 1) เกษตรกร จำนวน 600 คน 2) นักวิชาการเกษตร จำนวน15 คน 3) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร จำนวน15 คน 4) เจ้าหน้าที่หน่วยงานปกครองท้องถิ่น จำนวน 20 คน 5) ผู้นำเกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 20 คน 6) นักศึกษา จำนวน 100 คน 7) บุคลากรในหน่วยงาน จำนวน 30 คน 8) หน่วยงานภาคเอกชน จำนวน 100 คน 9) ประชาชนที่สนใจ จำนวน 100 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบูรณาการ 2561 2561 4,965,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา  จินดาซิงห์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61 MJU 4.6 รายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.เป็นศูนย์บริการวิชาการที่มีความเป็นเลิศด้านสหวิทยาการเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเอง
เป้าประสงค์ 3.การบริการวิชาการทาง สหวิทยาการเกษตรที่สนองความต้องการของภูมิภาค
ตัวชี้วัด 1 ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อโครงการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 1.บูรณาการงานวิจัยและบริการวิชาการให้สอดคล้องกับความต้องการของภูมิภาค
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยและของโลก และมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่นๆ ทั้งด้านการผลิตและการตลาด โดยปาล์มน้ำมันสามารถเพาะปลูกได้เฉพาะพื้นที่เขตร้อนชื้นของโลกที่อยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 10 องศาเหนือ ถึง 10 องศาใต้ ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 42 ประเทศ จากจำนวนทั้งหมด 223 ประเทศทั่วโลกที่สามารถผลิตปาล์มน้ำมันได้ สำหรับการผลิตปาล์มน้ำมันมีพื้นที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.55 ต่อปี โดยประเทศที่มีพื้นที่ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันมากที่สุดของโลก 3 อันดับ คือประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไนจีเรีย เท่ากับ 31.25, 25.01 และ 20 ล้านไร่ ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 81.36 ของพื้นที่ที่ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันของทั้งโลก สำหรับปาล์มน้ำมันในประเทศไทยมีปาล์มน้ำมันที่สามารถเก็บเกี่ยวและให้ผลผลิตได้ 3,552,275 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.79 หรืออยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก ส่วนการบริโภคน้ำมันปาล์มซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักจากปาล์มน้ำมัน พบว่าประเทศอินเดียและจีน มีการใช้ประโยชน์สูงสุดเนื่องจากเป็นประเทศที่มีประชากรมาก สำหรับประเทศไทยมีการบริโภคน้ำมันปาล์ม 1.135 ล้านตันต่อปี มากเป็นอันดับ 9 ของโลก และผลจากกาสำรวจเบื้องต้นพบว่าภายในปี พ.ศ. 2560 ปริมาณความต้องการปาล์มน้ำมันจะเพิ่มอีกเท่าตัวเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศจีนและอินเดียกำลังขยายตัว ประกอบกับการใช้ปาล์มน้ำมันเป็นพลังงานทดแทนทำให้ปริมาณการผลิตปาล์มน้ำมันของโลกไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการ จึงส่งผลให้เกิดขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำในเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ไม่เหมาะสม ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงปัญหาการเอารัดเอาเปรียบแรงงานและเกษตรกรรายย่อย ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสังคมและชุมชนท้องถิ่น จนเกิดการต่อต้านปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์ที่น้ำมันปาล์มขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะในสหภาพยุโรป ดังนั้นผู้มีส่วนได้เสียจากทุกภาคส่วน กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ผู้ค้า ผู้ผลิตสินค้า นักลงทุน และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงได้เริ่มโครงการ Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ RSPO เพื่อตอบสนองต่อข้อกังวล การขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นแนวคิดการรวมตัวโดย World Wildlife Fund (WWF) และภาคเอกชนมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ผลการดำเนินการของโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จจนทำให้ประเทศไทยได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน Certification On Sustainable Palm Oil หรือ CSPO กลุ่มต้นๆ ของโลก สำหรับการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานโครงการ Roundtable on Sustainable Palm Oil ของเกษตรกรในประเทศไทย โดยกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันโดยทั่วไป ดังนั้นการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน Roundtable on Sustainable Palm Oil สามารถนำไปวางแผนหรือจัดการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปาล์มนํ้ามันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนทั่วโลก สมาชิกประกอบด้วย ผู้ปลูกปาล์ม ผู้สกัดน้ำมันปาล์ม ผู้ค้า ผู้ผลิตสินค้า โภคภัณฑ์ นักลงทุน และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกยึดถือปฏิบัติ แต่เนื่องจากแต่ละประเทศมีบริบททางสังคม เศรษฐกิจและการผลิตที่แตกต่างกัน ระบบ RSPO จึงเปิดโอกาสให้แต่ละประเทศกำหนดหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดของตัวเองได้ โดยอยู่ภายใต้กรอบ RSPO ระดับสากล มาตรฐาน RSPO (Roundtable For Sustainable Palm Oil) เป็นมาตรฐานที่สนับสนุนให้มีการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน ตั้งแต่เกษตรกรผู้ผลิตทะลายปาล์ม โรงสกัดน้ำมันปาล์ม โรงกลั่นน้ำมันปาล์ม โดยแต่ละส่วนจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ซึ่งทุกๆขั้นตอนของการผลิตปาล์มจนถึงผู้บริโภคจะต้องผ่านมาตรฐาน RSPO จะขาดขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไม่ได้ หลักการและข้อกำหนดของ RSPO ในการที่จะผ่านมาตรฐาน RSPO สวนปาล์มน้ำมันหรือโรงงาน จะต้องผ่านหลักการที่สำคัญ 8 ข้อ ซึ่งกลุ่มและโรงงานที่ขอ RSPO จะต้องดำเนินการ ดังนี้ 1) ความมุ่งมั่นให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ตัวอย่าง กรณีเกษตรกรรายย่อยในโครงการจะต้องทำสัญญาข้อตกลงเอกสารต่างๆที่มีจะต้องเปิดเผยให้ทราบได้ เอกสารที่เกี่ยวกับสิทธิ์ที่ดิน แผนงานด้านสุขภาพและความปลอดภัยต่างๆ 2) การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ โดยต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และกฎระเบียบระหว่างประเทศที่ได้มีการให้สัตยาบันแล้ว เช่น ปฏิบัติตามระเบียบของการครอบครองที่ดิน สิทธิ์การใช้ที่ดิน เพื่อให้ผู้ปลูกปาล์มไม่มีการบุกรุก กฎหมายสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือกฎหมายแรงงาน เพื่อแสดงว่ามีการใช้แรงงานอย่างถูกต้อง 3) ความมุ่งมั่นให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการใช้เงินในระยะยาว ดังนั้นจะต้องมีแผนการบริหารจัดการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงิน เช่น มีแผนการใช้กล้าปาล์มที่มีคุณภาพสูง มีแผนการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดความรู้แก่สมาชิก เพื่อให้เกิดผลผลิตปาล์มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 4) การใช้วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดของผู้ปลูกปาล์มน้ำมันและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม จะจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานในรูปแบบที่เหมาะสม มีการนำไปปฏิบัติและติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เช่น ในกลุ่มเกษตรกร สมาชิกจะต้องมีการปฏิบัติเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีการบันทึกการใช้ปุ๋ย มีกลยุทธ์การบริหารจัดการดินที่มีปัญหา เช่น ดินทราย ดินเปรี้ยวจัด มีการบันทึกการใช้สารเคมี การจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการ 5) ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ จะต้องมีการระบุผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการบริหารจัดการสวนปาล์มและโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน เช่น มีการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) มีการระบุพืชสัตว์ที่มีคุณค่าสูงต่อการอนุรักษ์ที่อยู่ในสวนปาล์ม และมีการอนุรักษ์ สำหรับโรงงานจะต้องมีการลดของเสีย การหมุนเวียนของเสียกลับมาใช้ใหม่ และการกำจัดของเสียที่มีลักษณะแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม 6) ความรับผิดชอบต่อพนักงาน บุคคลและชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากผู้ปลูกปาล์มและโรงงานสกัด ในทางปฏิบัติหากสวนปาล์มหรือโรงงานมีกิจกรรมใดๆ จะต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชนที่มีผลกระทบต่อกิจกรรมดังกล่าว มีการจัดการข้อร้องเรียนหรือข้อร้องทุกข์ มีการชดเชยที่เป็นธรรม มีการจ้างงานตามกฎหมาย ต้องเคารพสิทธิของพนักงาน/ ลูกจ้าง เป็นต้น 7) การพัฒนาการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ใหม่อย่างมีความรับผิดชอบ ในกรณีที่จะมีการขยายพื้นที่ปลูกจะต้องมีการประเมินผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่มีการปลูกปาล์มในป่าปฐมภูมิ หรือในเขตที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ 8) ความมุ่งมั่นในการปรับปรุงกิจกรรมหลักอย่างต่อเนื่อง ในการดำเนินงานจะต้องมีการตรวจติดตามและทบทวนกิจกรรมต่างๆอย่างสม่ำเสมอและมีแผนปฏิบัติงานที่แสดงถึงการปรับปรุงการดำเนินงานหลักอย่างต่อเนื่อง เมื่อเข้าสู่มาตรฐาน RSPO ในส่วนของเกษตรกรจะต้องมีการปรับตัวให้เป็นเกษตรกรมืออาชีพมากขึ้น เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอมาตรฐาน RSPO และเกษตรกรจะต้องปฏิบัติตามหลักการทั้ง 8 ข้อ ซึ่งหลักการดังกล่าวถ้ามองอย่างเป็นกลางจะเห็นว่าล้วนแต่มีประโยชน์กับการพัฒนาปาล์มอย่างยั่งยืนทั้งสิ้น โดยเฉพาะหลักข้อที่ 4 หากเกษตรกรสามารถปฏิบัติได้ก็จะทำให้สามารถเพิ่มรายได้และมีความปลอดภัยกับชีวิตของเกษตรกรเอง สรุปสาระสำคัญ สภาพปัญหา / ความต้องการ :สืบเนื่องจากปริมาณความต้องการใช้น้ำมันปาล์มของประเทศต่างๆทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายในปัจจุบันโดยเฉพาะในการใช้น้ำมันปาล์มเพื่อเป็นพลังงานทดแทนทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกน้ำมันปาล์มอย่างกว้างขวางก่อเกิดปัญหาการตัดไม้ท้าลายป่าผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพรวมถึงปัญหาการเอารัดเอาเปรียบแรงงานและเกษตรกรรายย่อยส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสังคมและชุมชนท้องถิ่นจนเกิดการต่อต้านน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่ใช้น้ำมันปาล์มขึ้นในประเทศต่างๆโดยเฉพาะในสหภาพยุโรปทั้งนี้ผู้มีส่วนได้เสียจากทุกภาคส่วนประกอบด้วยกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มผู้ค้าผู้ผลิตสินค้านักลงทุนและองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงได้มีการริเริ่มโครงการ Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ RSPO ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในประเทศต่างๆทั่วโลกโดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและแนวทางปฏิบัติให้แก่เกษตรกรและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มยึดถือเป็นแนวทางดำเนินการแต่เนื่องจากแต่ละประเทศต่างก็มีบริบททางสังคมเศรษฐกิจและกระบวนการในการผลิตน้ามันปาล์มที่แตกต่างกันดังนั้นระบบ RSPO จึงเปิดโอกาสให้แต่ละประเทศกำหนดหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดของตัวเองได้โดยอยู่ภายใต้กรอบ RSPO ระดับสากลสาระสำคัญของมาตรฐานฉบับนี้คือมาตรฐาน RSPO ได้กำหนดหลักการ (Principles) จำนวน 8 ข้อและเกณฑ์กำหนด (Criteria) จำนวน 39 ข้อเพื่อเป็นกรอบสำหรับการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนโดยครอบคลุมการบริหารจัดการการดำเนินงานด้านกฎหมายความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจความเหมาะสมและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความเป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังนั้นมีการริเริ่มโครงการ Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ RSPO ขึ้นจะสามารถทำให้เกษตรกรรายย่อยที่ต้องการได้รับการรับรองผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันสดหรือ Fresh Fruit Bunches (FFB) นี้ทราบและปฏิบัติตามระบบการจัดการที่ได้มาตรฐานของ RSPO และแนวทางการรับรองกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตผลปาล์มสดได้อย่างถูกต้องเพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามารถดำเนินการแบบเป็นขั้นเป็นตอนในการตั้งกลุ่มวางแผนดำเนินการติดตามการดำเนินการและพัฒนาปรับปรุงได้อย่างต่อเนื่องและถูกต้อง ความเร่งด่วน : (ระบุระดับความจำเป็นเร่งด่วน)การเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการ ภาคอุตสาหกรรมไทย : มาตรฐาน RSPO เป็นมาตรฐานเพื่อการรับรองตลาดทั้งห่วงโซ่อุปทานนับตั้งแต่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่เป็นอุตสาหกรรมต้นทางโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ที่เป็นอุตสาหกรรมกลางทางและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สุดท้ายเพื่อการบริโภค เช่น เบเกอรี่ ขนมอบกรอบ ไอศกรีมเนย ครีมเทียม นมข้นหวาน อาหารสำเร็จรูปและอาหารกึ่งสำเร็จรูปและอื่นๆรวมถึง อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภค เช่น สบู่อุตสาหกรรมการผลิตเมทิลเอสเทอร์ (Methyl Ester) อุตสาหกรรมการผลิตโอลีโอเคมีคอล (Oleochemical Industry) อาทิการผลิตสารลดแรงตึงผิว (Surfactant) การผลิตสีและสารเคลือบผิวการผลิตพลาสติกและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางธรรมชาติ การผลิตฉนวนไฟฟ้าซึ่งจัดเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำของ RSPO ยิ่งหากประเทศไทยยังไม่ผ่านมาตรฐาน RSPO จะทำให้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ของประเทศซึ่งไม่ได้มาตรฐาน RSPO ซึ่งจะส่งไปขายในประเทศที่กำหนดมาตรฐานดังกล่าวไม่ได้ (เช่นประเทศในแถบยุโรป) แต่สามารถส่งไปยังประเทศที่ไม่กำหนดมาตรฐาน RSPO ได้เช่น ประเทศพม่า จีน หรือจำหน่ายในประเทศ แต่อย่างไรก็ตามหากเรามีมาตรฐาน RSPO เราก็จะมีทางเลือกในการจำหน่ายสินค้ามากขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันให้ได้มาตรฐาน RSPO อย่างยั่งยืน ส่งผลให้เกิดการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน
2. เพื่อส่งเสริมและเตรียมความพร้อมการตรวจรับรองผลิตแปลงปาล์มน้ำมันให้ได้มาตรฐาน ในจังหวัดชุมพร
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรนำร่องผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน RSPO
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกิดกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันนำร่องเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน RSPO
KPI 1 : -เกิดองค์ความรู้ความเข้าใจในการฝึกอบรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 หลักสูตร 1
KPI 2 : -เกิดกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันนำร่องเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน RSPO
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 กลุ่ม 5
KPI 3 : -เกิดกลไกส่งเสริมกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันนำร่องเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน RSPO
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 อำเภอ 5
KPI 4 : -ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 5 : -จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 1000
KPI 6 : -ค่าใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามแผน
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 4965000
KPI 7 : -ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 8 : -เกิดต้นแบบแหล่งเรียนรู้แปลงผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน RSPO
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 แห่ง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกิดกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันนำร่องเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน RSPO
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1.หลักเกณฑ์ คัดเลือกกลุ่มเกษตรกร รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
1.อบรมให้ความรู้เรื่อง"การกำหนดหลักเกณฑ์เกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการปาล์ม RSPO"
2.รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปาล์ม RSPO

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน5 กลุ่มๆละ200 คนๆละ1 มื้อๆละ150 บาทเป็นเงิน150,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน5 กลุ่มๆละ200 คนๆละ2 มื้อๆละ30 บาทเป็นเงิน60,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดสถานที่ จำนวน 5 กลุ่มๆละ 5,000 บาทเป็นเงิน25,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารฝึกอบรมจำนวน5 กลุ่มๆละ200 ชุดๆละ70 บาทเป็นเงิน70,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 305,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน5 กลุ่มๆละ1 คนๆละ6 ชม.ๆละ600 บาทเป็นเงิน18,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 323000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่2. กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันนำร่องเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน RSPO
1.อบรมให้ความรู้เรื่อง"การขอการรับรองมาตรฐานปาล์ม RSPO"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนด้านงานบริหารทั่วไป จำนวน1 คนๆละ9 เดือนๆละ15,000 บาทเป็นเงิน135,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน5 กลุ่มๆละ200 คนๆละ1 มื้อๆละ150 บาทเป็นเงิน150,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน5 กลุ่มๆละ200 คนๆละ2 มื้อๆละ30 บาทเป็นเงิน60,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดสถานที่ จำนวน5 กลุ่มๆละ 5,000 บาทเป็นเงิน25,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารฝึกอบรมจำนวน5 กลุ่มๆละ200 ชุดๆละ70 บาทเป็นเงิน70,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 440,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน5 กลุ่มๆละ1 คนๆละ6 ชม.ๆละ600 บาทเป็นเงิน18,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 458000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3. การฝึกอบรม และถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน RSPO
1.อบรมให้ความรู้เรื่อง"การผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน RSPO"
2.อบรมให้ความรู้เรื่อง"หลักเกณฑ์และข้อกำหนดการขอรับการรับรองการผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน RSPO"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 คนๆละ 2 วันๆละ 1 มื้อๆละ 150 บาทเป็นเงิน 300,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 คนๆละ 2 วันๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 120,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดสถานที่ จำนวน 5 กลุ่มๆละ 5,000 บาทเป็นเงิน 25,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารฝึกอบรมจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 ชุดๆละ 70 บาทเป็นเงิน 70,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 515,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน5 กลุ่มๆละ2 วันๆละ1 คนๆละ6 ชม.ๆละ600 บาทเป็นเงิน36,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน (แฟ้ม, กระดาษ, ปากกาฯลฯ) บาทเป็นเงิน 150,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 175,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 726000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 4. ต้นแบบแปลงผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน RSPO
1.อบรมให้ความรู้เรื่อง"การจัดการแปลงผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน RSPO"
2.อบรมให้ความรู้เรื่อง"หลักเกณฑ์การคัดเลือกแปลงปาล์มน้ำมันต้นแบบ RSPO

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนงานด้านการเกษตร จำนวน 1 คนๆละ 9 เดือนๆละ 15,000 บาทเป็นเงิน 135,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวันจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 คนๆละ 1 มื้อๆละ 150 บาทเป็นเงิน 150,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 คนๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 60,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดสถานที่ จำนวน 5 กลุ่มๆละ 5,000 บาทเป็นเงิน 25,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารฝึกอบรมจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 ชุดๆละ 70 บาทเป็นเงิน 70,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 440,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 5 กลุ่มๆละ 1 คนๆละ 6 ชม.ๆละ 600 บาทเป็นเงิน 18,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 458000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 5. ส่งเสริมและตรวจรับรองแปลงผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน RSPO ในจังหวัดชุมพรให้ได้รับมาตรฐาน RSPO ในปีที่ 2
1.อบรมให้ความรู้เรื่อง"การตรวจรับรองแปลงผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน RSPO"
2.อบรมให้ความรู้เรื่อง"การส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน RSPO"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงานฝ่ายตรวจรับรองจำนวน 1 คนๆละ 9 เดือนๆละ 15,000 บาทเป็นเงิน 135,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 คนๆละ 1 มื้อๆละ 150 บาทเป็นเงิน 150,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 คนๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 60,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดสถานที่ จำนวน 5 กลุ่มๆละ 5,000 บาทเป็นเงิน 25,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารฝึกอบรมจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 ชุดๆละ 70 บาทเป็นเงิน 70,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 440,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน5 กลุ่มๆละ1 คนๆละ6 ชม.ๆละ600 บาทเป็นเงิน18,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 458000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 6. การเตรียมความพร้อมของพื้นที่ เพื่อเตรียมยื่นเอกสารขอรับการรับรองมาตรฐาน RSPO

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงานเป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าวัสดุเกษตรเป็นเงิน 28,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 48,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 48000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 7.จัดทำเอกสารระบบควบคุมภายในและบันทึกตาม มาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมัน RSPO
1.อบรมให้ความรู้เรื่อง"การจัดทำเอกสารระบบควบคุมภายใน"
2.อบรมให้ความรู้เรื่อง"มาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมัน RSPO"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาตรวจรับรองระบบจำนวน 1 ระบบเป็นเงิน 440,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 คนๆละ 1 มื้อๆละ 150 บาทเป็นเงิน 150,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 คนๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 60,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดสถานที่ จำนวน 5 กลุ่มๆละ 5,000 บาทเป็นเงิน 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 675,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน5 กลุ่มๆละ1 คนๆละ6 ชม.ๆละ600 บาทเป็นเงิน18,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 693000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 8. ประชุมสรุปผลการปฏิบัติและชี้แจงเตรียมการขอรับการรับรอง
1.อบรมให้ความรู้เรื่อง"การขอรับการรับรองแปลงปาล์มน้ำมัน RSPO"
2.อบรมให้ความรู้เรื่อง"ปัญหาการขอรับการรับรองแปลงปาล์มน้ำมัน RSPO"
3.อบรมให้ความรู้เรื่อง"ข้อกำหนดการจัดการกลุ่ม"
4.อบรมให้ความรู้เรื่อง"นโยบายและขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการจัดการ"
5.อบรมให้ความรู้เรื่อง"มาตรฐานการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 คนๆละ 2 วันๆละ 1 มื้อๆละ 150 บาทเป็นเงิน 300,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 คนๆละ 2 วันๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 120,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดสถานที่ จำนวน 5 กลุ่มๆละ 5,000 บาทเป็นเงิน 25,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารฝึกอบรมจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 ชุดๆละ 70 บาทเป็นเงิน 70,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 515,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 5 กลุ่มๆละ 2 วันๆละ 1 คนๆละ 6 ชม.ๆละ 600 บาทเป็นเงิน 36,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 576000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 9. การผลิตสื่อวีดิทัศน์ คู่มือ เอกสารการฝึกอบรม แผ่นพับ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำวีดิทัศน์จำนวน 1 เรื่องเป็นเงิน 200,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือจำนวน 1,000 เล่มๆละ 150 บาทเป็นเงิน 150,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 350,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุโฆษณาและเผยแพร่ (แผ่นพับ) จำนวน 1,500 แผ่นๆละ 3 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 354500.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 10. การส่งเสริมประชาสัมพันธ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เป็นเงิน 100,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 11. การให้คำปรึกษา ประชุมประเมินผลปฏิบัติการแลกเลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงแผนการปฏิบัติงาน
1.ให้คำปรึกษากลุ่มเกษตรกร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหา
2.ประชุมประเมินผลการปฏิบัติงาน
3.ปรับปรุงแผนการปฏิบัติงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 คนๆละ 2 วันๆละ 1 มื้อๆละ 150 บาทเป็นเงิน 300,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 5 กลุ่มๆละ 200 คนๆละ 2 วันๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 120,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดสถานที่ จำนวน 5 กลุ่มๆละ 5,000 บาทเป็นเงิน 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 445,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-ค่าวัสดุสำนักงาน (ค่าถ่ายเอกสาร) จำนวน 5 กลุ่ม ๆละ 2 ครั้ง ๆละ 200 ชุด ๆละ 12 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท
-ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 470500.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 12. การติดตามความสำเร็จของโครงการ/การประเมินผลโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าตรวจติดตามและประเมินผลเป็นเงิน 300,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 300,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 300000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1.อาจคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรที่ขาดความพร้อม
2.เข้าดำเนินการได้ล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้
3.กลุ่มผู้ผลิตไม่ปฏิบัติตามแผนและคำแนะนำ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1.ต้องศึกษา ลงพื้นที่เพื่อค้นหากลุ่มเกษตรที่มีความพร้อม
2.ลงพื้นที่ประชุม เพื่อทำความเข้าใจ และคัดเลือกกลุ่มที่มีความพร้อมก่อน
3.ชักจูง เสนอแนะ ชี้แจงถึงผลผลิตและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล