11538 : เตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
นางนพนิตย์ วงศ์สุ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/7/2561 14:40:56
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
12/07/2561  ถึง  31/08/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  75  คน
รายละเอียด  นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะบริหารธุรกิจ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 20,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิตตินุช  ชุลิกาวิทย์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะบริหารธุรกิจ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 1 การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 61-64 MJU 1.5 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 61MJU1.5.1 ร้อยละของโครงการพัฒนานักศึกษาที่ใช้เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษา เช่น ภาษาอังกฤษ IT/ ทักษะวิชาชีพ และทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.5.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านภาษา IT และทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ BA61-1 การผลิตบัณฑิต หลักสูตร การพัฒนานักศึกษา เพื่อมุ่งสู่ Go, Eco University และความเป็นนานาชาติ
เป้าประสงค์ BA61-G3 มีกิจกรรมเสริมทักษะเพื่อการเรียนรู้มุ่งสู่ Go ECo U
ตัวชี้วัด BA61- KPI-7 ร้อยละกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเพื่อมุ่งสู่ Go, Eco University (P.5)
กลยุทธ์ BA61-S3 สนับสนุนให้หลักสูตรมีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรมเสริมทักษะเพื่อการเรียนรู้มุ่งสู่ Go ECo U
เป้าประสงค์ BA61-G4 การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ
ตัวชี้วัด BA61- KPI-8 จำนวนกิจกรรมเสริมการเรียนการสอนที่มุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ
กลยุทธ์ BA61-S4 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมเสริมการเรียนการสอนที่มุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากการที่กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้พยายามผลักดันให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาไทยทั้งระบบเห็นความสำคัญและช่วยกันปรับปรุงพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้ทันสมัยขึ้นตามแนวทางของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นั้น ศาสตราจารย ์ นายแพทย์วิจารณ ์ พานิช ได้ชี้แนะไว้ถึงการเน้นทักษะที่สำคัญให้กับผู้เรียนใน 3 ด้านหลัก คือ ทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งทักษะเหล่านี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับเด็กไทยเพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าและทันต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วโลกได้สามารถศึกษาและเรียนรู้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ประชาชนทุกเพศทุกวัยทุกอาชีพ (รวมถึงนักเรียน/นักศึกษา) สามารถพัฒนาตนเองตามแนวทางของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างสะดวก คล่องตัว และง่ายดายผ่านสาระข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าผู้คนเหล่านั้นจะอยู่ ณ สถานที่ใดบนโลกใบนี้ สาระข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นซึ่งมีอยู่มากมายไม่จำกัดจำนวนและมากด้วยคุณประโยชน์มหาศาล อยู่ในบริบทที่พร้อมที่จะถูกนำไปใช้ แต่อย่างไรก็ตาม สาระข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นมักจะถูกเผยแพร่ไว้เป็นภาษาอังกฤษ จึงเป็นข้อจำกัดที่สำคัญในการเข้าถึงสาระข้อมูลข่าวสารและนำมาใช้ประโยชน์ของคนไทยส่วนใหญ่ ข้อจำกัดที่สำคัญนี้ได้ส่งผลให้ระบบการศึกษาไทยสามารถพัฒนาได้อย่างช้า ๆ มาโดยตลอด (โดยเฉพาะการสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน/นักศึกษาให้ทันสมัยทันกับระบบการศึกษาของประเทศอื่นในยุคศตวรรษที่ 21) ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะสามารถช่วยผลักดันแนวทางของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้ ก็คือ การเพิ่มศักยภาพและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยการนำสาระข้อมูลข่าวสารที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ที่ถูกเผยแพร่ไว้เป็นภาษาอังกฤษบนระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้ให้มากขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ของนักศึกษาเข้าใหม่ (รหัส 61) สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจให้มีมากขึ้น
เพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาเข้าใหม่ (รหัส 61) สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจให้สามารถเรียนรู้/ศึกษา/ค้นคว้าสาระข้อมูลข่าวสารที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ ทีถูกเผยแพร่ไว้เป็นภาษาอังกฤษบนระบบอินเทอร์เน็ตให้ได้มากขึ้น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษามีความพร้อมด้านภาษาอังกฤษต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
KPI 1 : ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : นักศึกษามีความพร้อมด้านภาษาอังกฤษต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 75
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษามีความพร้อมด้านภาษาอังกฤษต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ชื่อกิจกรรม :
เตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/07/2561 - 31/08/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตตินุช  ชุลิกาวิทย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 30 ชม.ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1.ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 75 ชุดๆละ 70 บาท เป็นเงิน 5,250 บาท
ทั้งนี้ขอเบิกเพียง 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล