โครงการหนึ่งหลักสูตร หนึ่งองค์ความรู้สู่ชุมชน
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการหนึ่งหลักสูตร หนึ่งองค์ความรู้สู่ชุมชน ได้ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ศุ่ชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย และผู้สนใจเทั่วไป โดยการดำเนินกิจกรรมมาจากการสำรวจความต้องการของชุมชน จึงได้จัดกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 11 กิจกรรม ดังนี้

1. กิจกรรมพัฒนากลุ่มเกษตรกรเพื่อการขับเคลื่อนฐานเรียนรู้วิถีเกษตรปลอดภัยในชุมชนบ้านป่าป้อ ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่โดย อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรีดร.ปรมินทร์ นาระทะ ดำเนินกิจกรรมเมื่อ วันอังคาร ที่ 18 สิงหาคม 2563 ให้แก่เกษตรกรชุมชนบ้านป่าป้อ ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 15 คน
2. กิจกรรมฝึกอบรมการผลิตวัตถุดิบและแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดย ดร.นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์ ดำเนินกิจกรรมเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563ณ ห้องบรรยาย PT 212 อาคารเพิ่มพูล โดยมี ผศ.ดร.เรืองชัย จูวัฒนสำราญ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม ให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 50 คน
3. กิจกรรมเตรียมความพร้อมเกษตรกรในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยให้ได้มาตรฐานโดย อาจารย์ ดร.สาวิกา กอนแสง
ดำเนินกิจกรรม เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ต.สันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ให้แก่เกษตรกรผู้สนใจ พร้อมกับการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน จำนวน 40 คน
4. กิจกรรมการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้การผลิตเชื้อราไตรโครเดอร์ม่า เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างง่าย ในชุมชนท่าเกวียน ตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่โดย อาจารย์ ดร.นภารัศม์ เวชสิทธิ์นิรภัย
ดำเนินกิจกรรม เมื่อวันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์เครือคำ อาจารย์ ดร.นภารัศม์ เวชสิทธิ์นิรภัย และนักศึกษาจากหลักสูตร การส่งเสริมและสื่อสารเกษตร ถ่ายทอดความรู้การผลิตเชื้อราไตรโครเดอร์ม่า เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างง่ายให้แก่เกษตรกรผู้สนใจ จำนวน 50 คน
5. กิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ การขยายพันธุ์และการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับเชิงพาณิชย์โดยอาจารย์ ดร.จุฑามาศ พิลาดี
ดำเนินการวันที่ 9 กันยายน ณ ศูนย์บริการวิชาการ คณะผลิตกรรมการเกษตร อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ (ศูนย์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ) จำนวน 50 คน
6. กิจกรรมเทคนิคการประยุกต์วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อการผลิตกล้าผักและผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืนโดย อาจารย์ ดร.แสงเดือน อินชนบท ดำเนินกิจกรรม เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ณ สาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร ให้แก่เกษตรกรผู้สนใจ จำนวน 30 คน
7. กิจกรรมอบรมปลูกข้าวโพดอินทรีย์และถั่วเหลืองอินทรีย์โดย อาจารย์ ดร.ธิดารัตน์ ศิริบูรณ์ ดำเนินกิจกรรม เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2563 บ้านเกษตรพัฒนา หมู่ที่ 15 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 54 คน
8. กิจกรรมการเพาะเลี้ยงด้วงสาคูเพื่อเป็นรายได้เสริมแก่ครัวเรือนโดย อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์ดำเนินกิจกรรมศูนย์บริการวิชาการชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2563 จำนวน 24 คน
9. กิจกรรมสำรวจผลกระทบจากองค์ความรู้สู่ชุมชน
ดำเนิน การศึกษาผลกระทบจากการบริการวิชาการ โดยคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ของเกษตรกรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.74 แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านองค์ความรู้ ระดับผลกระทบมาก มีค่าเฉลี่ย 3.69 ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ระดับผลกระทบมาก มีค่าเฉลี่ย 3.84 และด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้ ระดับผลกระทบมาก มีค่าเฉลี่ย 3.71
10. กิจกรรมสำรวจความต้องการของชุมชน
ดำเนินการสำรวจความต้องการชุมชนของเกษตรกรอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่เพื่อดำเนินการจัดทำแผนงานบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ 2564
11. กิจกรรมรายงานผลการดำเนินงานของปี 2563 และการจัดทำแผนงบประมาณปี 2564 ของงานบริการวิชาการและวิจัย
ดำเนินกิจกรรม ในวันพุธ ที่ 2 กันยายน 2563 ณ ห้องประชุม 1 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตรรายงานผลการดำเนินงาน พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อจัดทำแผนวิจัย และแผนบริการวิชาการประจำปีงบประมารณ 2564

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อบูรณาการโครงการร่วมกับการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคมของคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการบูรณางานบริการวิชาการ การการเรียนการสอน และวิจัยภายใต้กิจกรรมบริการวิชาการในทุกกิจกรรม
2 เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกาารจัดการบริการวิชาการร่วมกับการเรียนการสอนในรายวิชา เพื่อให้เกษตรกร ผู้สนใจ และศิษย์เก่าที่เข้ารับการบริการวิชาการสามารถนำไปใช้ในครัวเรือนและชุมชน จากการบริการวิชาการให้คนในชุมชน เป็นการบูรณาการฝึกให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จาการเรียนถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น อีกทั้งได้ประเด็นปัญหาเพื่อการพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อชุมชน อีกทั้งยังได้รับความสนใจจากศิษย์เก่าในพื้นที่เข้ารับการถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาในสายงาน และ/หรือสร้างอาชีพเสริม
3 เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเกษตร ของงานบริการวิชาการ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่ผู้สนใจ ในลักษณธของการอบรม ฝึกปฏิบัติ และถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์
4 เพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนาด้านการเกษตรระหว่างคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับหน่วยงานเทศบาลเมืองแม่โจ้ ชุมชน กลุ่มเกษตรกร เกษตรกร ในพื้นที่ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย และอำเภอใกล้เคียง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสันทราย หรืออำเภอใกล้เคียง
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : กลุ่มเกษตรกร ได้รับความรู้เทคนิคต่างๆจากการเข้าร่วมกิจกรรม ที่งานบริการวิชาการ คณะผลิตกรรมการเกษตรได้จัดขึ้น และเข้าใจถึงการผลิต การจำหน่าย และการบริโภคผลิตผลที่ปลอดสารเคมีอย่างเป็นระบบ สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมและทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนผู้รับบริการ
เชิงปริมาณ คน 300 0.00
2. ผลลัพธ์จากการให้บริการทางวิชาการที่คณะฯดำเนินการ(องค์ความรู้)
เชิงปริมาณ องค์ความรู้ 9 0.00
3. จำนวนผู้รับบริการเข้าร่วมเกษตรอินทรีย์
เชิงปริมาณ คน 20 0.00
4. ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
5. ร้อยละของโครางการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 95 0.00
6. ร้อยละของผู้รับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้น
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
7. ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้
เชิงต้นทุน บาท 200000 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
23/12/2562  - 30/09/2563 07/01/2563  - 30/09/2563
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ