อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมงานประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย: 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน
วันที่ 27/09/2565    1,042 ครั้ง    ประเภท ข่าวกิจกรรม    ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

วันที่ 19-23 กันยายน 2565 ศูนย์ประสานงานอพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานอพ.สธ.-มจ. และคณะทำงาน ได้รับมอบหมายจากทางมหาวิทยาลัยให้เข้าร่วมการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย: 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญคือ การเข้าร่วมจัดนิทรรศการ การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ครั้งที่ 10 การประชุมวิชาการและนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานทรัพยากรท้องถิ่น และพิธีการรับมอบธงเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 12 ทรัพยากรไทย: หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน

โอกาสนี้ รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วยรองอธิการบดี รศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง และผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี เข้าร่วมพิธีเปิดงานการประชุมวิชาการและนิทรรศการ พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมชมและให้กำลังใจคณะทำงานในการร่วมจัดนิทรรศการของศูนย์ประสานงานอพ.สธ.-มจ. เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ซึ่งในส่วนของนิทรรศการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้นำเสนอผลงานวิจัยชุดโครงการกล้วยไม้ งานวิจัยมะเกี๋ยง งานวิจัยผึ้งชันโรง งานวิจัยรวงผึ้ง งานวิจัยไผ่ งานวิจัยเสม็ดขาว-เสม็ดแดง ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และการเตรียมความพร้อม การประชุมวิชาการและนิทรรศการ อพ.สธ. “ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สินสิ่งตน”

ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน 2565 คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้งเชียงใหม่ แพร่และชุมพร ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ รวมทั้งสิ้น 8 ผลงาน และมีผลงานชุดโครงการวิจัยที่ได้รับรางวัลการนำเสนอดีเด่นภาคบรรยาย(Oral Presentation) และโปสเตอร์ (Poster Presentatio) ดังนี้
1. ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวต่อการเพิ่มปริมาณต้นเอื้องคำในสภาพปลอดเชื้อ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ภูมิสุทธาผล และ อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล
2. The golden orchid (Dendrobium chrysotoxum LindI.) extractspolysaccharides, reducing sugars, soluble proteins, and their antibacterial properties by Rungthip Kawaree, Tipsuda Tangtragoon and Tippapha Pisithkult
3. การอนุรักษ์และพัฒนาเคี่ยม (Cotylelobium Lanceolatum) แบบบูรณาการครบวงจร โดย อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัตติ์, อาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์, อาตชจารย์วิชชุดา เอื้ออารี, อาจารย์ ดร.เชษฐ์ ใจเพชร, อาจารย์ทวิช เตี่ยไพบูลย์, อาจารย์ ดร.วชิระ ชุ่มมงคล, อาจารย์ปิยนุซ จันทรัมพร, อาจารย์ ดร.ณัชพัฒน์ สุขใส และ อาจารย์ ดร.พิไลวรรณ พู่พัฒนศิลป์
4. พฤกษศาสตร์ของต้นรวงผึ้งและการใช้ประโยชน์ในงานภูมิทัศน์ โดย อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เยาวนิตย์ ธาราฉาย, อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล และนางสาววิภาวี นิละปะกะ
5. Chemical composition and biological properties of the Yellow Star (Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm.) extracts by Warathip Chuankid, Chananchida Thacharoen, Parawee Kanjanaphachoat
6. การศึกษาสภาวะที่หมาะสมในการสกัดสารประกอบฟินอลิกจากดอก โดยใช้เทคนิคสกัดด้วยไมโครเวฟ โดย อาจารย์ ดร.นักรบ นาคประสม, อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กาญจนา นาคประสม