โครงการสัมมนา เรื่อง “สิทธิประชาชนเมื่อถูกคุกคามจากภัยไซเบอร์”

วันที่เริ่มต้น 28/02/2567 เวลา 13:00 วันที่สิ้นสุด 28/02/2567 เวลา 15:00
สถานที่จัด ผ่านทางรูปแบบออนไลน์ โปรแกรม Microsoft Teams 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
ชื่อหน่วยงาน สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ได้จัดโครงการสัมมนา เรื่อง “สิทธิประชาชนเมื่อถูกคุกคามจากภัยไซเบอร์ (ตอนที่ 1) : รู้เท่าทัน”
ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.00 – 15.00 น. ผ่านทางออนไลน์
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน สัมมนา
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม กิจกรรมด้านการบริหารจัดการ
ระดับ อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด 2  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม ไม่ระบุ คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ด้วยสภาพสังคมในปัจจุบัน ระบบไซเบอร์ได้เข้ามาสู่ชีวิตของคนไทยผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีการเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่าย (Network) เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อย่างไรก็ตาม มิจฉาชีพจำนวนมากได้อาศัย
ช่องทางไซเบอร์ในการแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ เช่น ทำการฝังสปายแวร์ ใช้ซอฟแวร์เรียกค่าไถ่
ส่งข้อความหลอกลวง ชักชวนเล่นพนัน และอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก สร้างความเสียหายให้แก่สุจริตชนและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างมากช่วง 1 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานใน
กระบวนการยุติธรรมได้มีการรับแจ้งคดีออนไลน์ แล้วมากกว่า 3 แสนเรื่อง มูลค่าความเสียหายมากกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท และยังคงมีคดีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกวัน สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมในฐานะ
หน่วยงานหลักในการอบรมเสริมสร้างความรู้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้แก่ข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ศาลยุติธรรม บุคลากร ในกระบวนการยุติธรรม ประชาชน และบุคคลภายนอกให้สามารถเข้าถึง
หลักการอำนวยควายุติธรรมได้และเพื่อรองรับแผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2565 -2568

ยุทธศาสตร์ T : เปลี่ยนผ่านสู่อนาคต (Transformation) แนวทางการดำเนินการที่ 3 เพิ่มพูนทักษะและความรู้ความสามารถของบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างดีภายใต้สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และนโยบายประธานศาลฎีกา ข้อ 4 ทันโลก (Modernization) จึงเห็นควรจัดโครงการสัมมนาวิชาการกฎหมายเฉพาะด้านเรื่อง “สิทธิประชาชนเมื่อถูกคุกคามจากภัยไซเบอร์ (ตอนที่1) : รู้เท่าทัน”ขึ้นเพื่อให้ประชาชนผู้ใช้ระบบไซเบอร์ได้ตระหนักถึงภัยทางไซเบอร์และรู้วิธีการป้องกันตนเองเมื่อถูกคุกคามจากภัยไซเบอร์เพื่อขจัดหรือลดความเสียหายจากภัยไซเบอร์ให้เหลือน้อยที่สุด

แจ้งความออนไลน์ สะสม 1 มีนาคม 2565- 10 กุมภาพันธ์ 2567 คดีออนไลน์ 434,504 คดี แจ้งความผ่านระบบ 463,712 เรื่อง





เตือนภัย 14 รูปแบบ "อาชญากรรมทางออนไลน์

1. หลอกขายของออนไลน์ แต่ไม่ส่งสินค้าจริง หรือส่งสินค้าที่ไม่ตรงตามที่ตกลง หรือไม่มีคุณภาพมาให้ โดยมิจฉาชีพ จะนำภาพสินค้าจากอินเตอร์เน็ตหรือภาพจากผู้ใช้งานท่านอื่นที่ขายสินค้าจริง แล้วนำมาโพสต์ขายในช่องทางของตัวเอง เพื่อหลอกให้ลูกค้าหลงเชื่อว่ามีสินค้านั้นอยู่จริง และโอนเงินสั่งซื้อ แต่จะไม่ส่งสินค้า หรือส่งสินค้าไม่ตรงตามที่ตกลง
2. คอลเซ็นเตอร์ ( Call Center) ข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัวโทรศัพท์หาเหยื่อ โดยปลอมเป็นหมายเลขโทรศัพท์หน่วยงานภาครัฐ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยอ้างว่าเหยื่อ มีความผิด เช่น เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดฟอกเงิน ยาเสพติด ส่งของผิดกฎหมาย กระทำเป็นกระบวนการอ้างเจ้าหน้าที่หลายส่วนสร้างความน่าเชื่อถือ บังคับ ขู่เข็ญ สร้างความหวาดกลัวเพื่อให้โอนเงินในบัญชีให้คนร้ายเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ หรือสำหรับการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ เมื่อหลงเชื่อก็จะสูญเงินในบัญชีจนหมด
3. เงินกู้ออนไลน์ ดอกเบี้ยโหด ปล่อยเงินกู้ออนไลน์ โดยกลุ่มมิจฉาชีพ จะหลอกว่ามีบริการเงินกู้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยราคาถูก ผ่อนจ่ายระยะยาว แต่เมื่อทำสัญญาแล้ว กลับไม่ได้รับเงินกู้ตามจำนวนที่ตกลง อีกทั้งดอกเบี้ยยังเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวอีกด้วย มีการทวงหนี้โดยการส่งข้อความ หรือโทรหาบุคคลใกล้ชิด
4. เงินกู้ออนไลน์ ที่ไม่มีจริง (เงินกู้ทิพย์) ในกรณีนี้จะต่างจากกรณีข้างต้น คือ แก๊งมิจฉาชีพจะหลอกผู้เสียหายว่าก่อนได้รับเงินกู้ จะต้องเสียค่าบริการ ค่ามัดจำ หรือค่าดำเนินการต่างๆ โดยให้ผู้เสียหายโอนเงินให้เรื่อยๆ จนสุดท้ายก็ไม่ได้รับเงินกู้จริงตามที่กล่าวอ้าง
5. หลอกให้ลงทุนต่างๆ ผลตอบแทนสูงที่ไม่มีจริง มิจฉาชีพจะหลอกให้ผู้เสียหาย ลงทุนต่างๆ เช่น ลงทุนธุรกิจ หรือ ลงทุนแชร์ลูกโซ่ ฯลฯ ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจะเสนอผลตอบแทนเป็นจำนวนมาก
ได้เงินไว แรกๆ อาจจะได้รับผลจริง เมื่อเหยื่อหลงเชื่อและร่วมลงทุนเป็นจำนวนมากขึ้น ก็จะเริ่มบ่ายเบี่ยง ไม่ให้ผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้
6. หลอกให้เล่นพนันออนไลน์ มิจฉาชีพจะหว่านล้อมด้วยวิธีการต่างๆ เช่นการการันตีผลตอบแทน ให้ผู้เสียหายเข้าร่วมลงทุนหรือเล่นการพนันออนไลน์ ซึ่งหากถูกโกงจากการพนันออนไลน์แล้ว อาจไม่สามารถแจ้งความหรือดำเนินคดีกับมิจฉาชีพได้
7. ปลอมโปรไฟล์หลอกให้หลงรัก แล้วหลอกให้โอนเงิน หรือให้ลงทุน Romance
Scam – Hybrid Scamหลอกให้หลงรักก่อน จากนั้นหลอกให้โอนเงิน หรือ หลอกให้ลงทุน กลุ่มมิจฉาชีพจะทำงานเป็นขบวนการ โดยจะปลอมตัวโดยใช้รูปภาพและโปรไฟล์เป็นชาวต่างชาติ ที่ดูดีมีฐานะ ทักมาคุยสร้างความสนิทสนม บางครั้งมักหาเหยื่อจากแอพหาคู่ จากนั้นจะหลอกผู้เสียหายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น จะส่งของมาให้ หรือหลอกให้ลงทุนรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น ลงเงินกองทุนทองคำ เงินดิจิทัล Forex เป็นต้น ให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและโอนเงินให้เป็นจำนวนมาก
8. ส่งลิงค์ปลอมหลอกแฮ็กเอาข้อมูลส่วนตัว ขโมยข้อมูลโทรศัพท์, บัญชีธนาคารมิจฉาชีพ
จะส่งข้อความต่างๆ เช่น “ท่านได้รับความช่วยเหลือต่างๆ ท่านเป็นผู้โชคดีได้รับเงินรางวัล”
หรือแม้กระทั่งหลอกว่าเป็นลิงค์จากหน่วยงานรัฐหรือธนาคาร ให้ผู้เสียหายกดลิงค์เข้าไปเพื่อตรวจสอบข้อมูล แต่เมื่อกดลิงค์เข้าไปแล้ว มิจฉาชีพก็จะแฮ็กข้อมูลในโทรศัพท์หรือบัญชีธนาคาร


9. อ้างเป็นบุคคลอื่นเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลสำคัญ เช่น รหัส OTP ข้อมูลหลังบัตรประชาชน มิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นองค์กรหรือบุคคลอื่น หลอกขอข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัส OTP เมื่อได้ข้อมูลของเหยื่อแล้ว จะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการกระทำความผิด เช่น เข้าถึงธุรกรรมทางการเงินแล้วขโมยเงินจากบัญชีของเหยื่อ หรือใช้รับโอนเงินจากการกระทำความผิด
10. ปลอมบัญชีไลน์ (Line) , เฟสบุ๊ก (Facebook) หลอกยืมเงิน มิจฉาชีพจะปลอมหรือลักลอบใช้ Account ของบุคคลที่เหยื่อรู้จัก เพื่อมาหลอกยืมเงิน โดยใช้คำพูดหรือสรรพนาม ที่คุ้นเคย ทำให้หลงเชื่อว่าเป็นตัวจริง ควรโทรไปสอบถามโดยตรงอีกครั้งหนึ่ง
11. ข่าวปลอม (Fake news) ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ (ชัวร์ก่อนแชร์)
Fake news หรือข้อมูลข่าวปลอมต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ความมั่นคง ความปลอดภัยสาธารณะ หรือสร้างความตื่นตระหนกให้กับสังคม ให้ตรวจสอบข้อมูลก่อนแชร์ทุกครั้ง หากไม่แน่ใจ
แหล่งที่มา ไม่ควรแชร์ต่อในทันที เพราะอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยสามารถตรวจสอบ
ข้อมูลก่อนให้ชัวร์ก่อนแชร์ได้ที่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย Anti – Fake News Center Thailand https://www.antifakenewscenter.com
12. หลอกลวงให้ถ่ายภาพโป้เปลือย เพื่อใช้แบล็คเมล์ คนร้ายหลอกลวงล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ ด้วยวิธีการ “หลอกให้เงิน เชิญเป็นดารา ชวนให้แก้ผ้า ท้าให้เปิดกล้อง” จำให้ขึ้นใจว่า อย่าถ่ายภาพ อย่าส่งภาพ คลิป ลามกอนาจาร ให้คิดไว้เสมอว่าภาพของเราอาจหลุดไปโลกออนไลน์ได้ หากหลงกลอาจถูกแบล็คเมล์ ข่มขู่เอาทรัพย์สิน
13. โฆษณาชวนไปทำงานต่างประเทศ แล้วบังคับให้ทำงานผิดกฎหมายลักษณะงานแอดมิน โต้ตอบลูกค้าชวนไปทำงานต่างประเทศ โดยจูงใจ ให้ค่าตอบแทนสูง สวัสดิการมากมาย อาจถูกหลอกลวงบังคับใช้แรงงาน ล่วงละเมิดทางร่างกาย หรือหากหลงไปทำงานกับกลุ่มมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซนเตอร์ หลอกลงทุน หรือรูปแบบอื่น เป็นเครื่องมือช่วยหลอกลวงทรัพย์สินคนไทยด้วยกัน จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายไทย
14. ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ร่วมกันกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน, ฟอกเงิน รับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร หรือยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคารตนเอง เป็นเครื่องมือให้มิจฉาชีพนำไปใช้หลอกลวงผู้อื่น ต้องรับโทษบทหนักตามกฎหมายเข้าข่ายความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท และความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ






มิจฉาชีพ ต้องการให้คุณ “กลัว” และต้องการให้คุณ “โลภ” และหลงเชื่อ หน่วยงานราชการ / องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับเงินในกระเป๋าเรา มิจฉาชีพจะใช้ข้ออ้างกฎหมายหลอกให้เรากลัวได้ โอกาสที่มิจฉาชีพ จะแอบอ้าง หรือบริษัทห้างร้านที่มีชื่อเสียง ดูผลกำไรดี มิจฉาชีพพวกนี้พร้อมจะสวมรอยหลอกเรา แม้ในความเป็นจริง หน่วยงาน สถาบันการเงิน องค์กรเอกชนทุกที่ สามารถถูกแอบอ้างได้หมด
HTTP , HTTPS โปรโตคอลที่ใช้สำหรับการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต
HTTP (Hypertext transfer protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ในการส่งข้อมูลบนเว็บ ข้อมูลที่ส่งผ่าน HTTP จะเป็นแบบไม่เข้ารหัส (Clear text) ทำให้สามารถถูกจับและอ่านได้ง่าย
HTTPS (Hypertext Transfer Protocol Secure) เป็นการเพิ่มการเข้ารหัสข้อมูล (SSL/TLS) เข้ากับ HTTPS ทำให้เข้ากับข้อมูลที่ส่งผ่านมีความปลอดภัยมากขึ้น ไม่สามารถถูกดักจับและอ่านได้ง่าย เหมือน HTTP นิยมใช้กับเว็บไซต์ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่นธนาคารหรือเว็บไซต์ที่ใช้ในการชำระเงิน โดยทั่วไป HITTPS จะถูกมองว่าปลอดภัยกว่า HTTP และแป้นที่นิยมใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน

2 FA (two-factor authentication)
คือการที่ผู้ใช้บริการทำการยืนยันว่าตนเองคือผู้ใช้บริการจริง โดยการแสดงว่าตนครอบครองสิ่งที่ใช้ยืนยันตน (authenticators) ที่มีปัจจัยของการยืนยันตัวตน (authentication factor) จำนวน 2 ปัจจัยที่แตกต่างกัน












เตือนภัย ตัวอย่างของมิจฉาชีพทาง sms















วิธีดูเว็บไซต์หน่วยงานรัฐปลอม
URL น่าสงสัย นามสกุลลงท้ายไม่ใช่ .GO.TH หรือสกุลอื่นที่เป็นทางการ
ประการแรกก่อนเข้าเว็บเลยคือการดู URL หรือ ลิงก์ของเว็บ ที่ขึ้นเป็นตัวสีฟ้า ๆ ให้เร
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ

สมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
1. เพื่อเพิ่มพูนทักษะและความรู้ความสามารถของบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างดี
2. เพื่อหาแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ถูกโจรกรรมข้อมูลได้
3. เพื่อเพิ่มความระมัดระวังไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่กระทำผิดต่อกฎหมายบนโลกออนไลน์
4. เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้ สร้างความเข้าใจ ถึงแนวทางการป้องกันภัยออนไลน์
5.เพื่อหาแนวทางการป้องกันภัยออนไลน์ ให้กลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มความปลอดภัย ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
6. เพื่อเฝ้าระวังภัยออนไลน์ของหน่วยงานและตนเอง 7.รู้จักวิธีรับมือและป้องกันตนเองจากภัยจากมิจฉาชีพที่อาจเกิดขึ้น 8. เพื่อให้บุคลากรเกิดความตระหนักรู้เท่าทันภัยจากมิจฉาชีพ 9. เพื่อทราบแนวทางการปฏิบัติตนเมื่อเผชิญกับภัยจากมิจฉาชีพ 10. ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ที่มาจากช่องทางออนไลน์อีกต่อไป
7.รู้จักวิธีรับมือและป้องกันตนเองจากภัยจากมิจฉาชีพที่อาจเกิดขึ้น
8. เพื่อให้บุคลากรเกิดความตระหนักรู้เท่าทันภัยจากมิจฉาชีพ
9. เพื่อทราบแนวทางการปฏิบัติตนเมื่อเผชิญกับภัยจากมิจฉาชีพ
10. ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ที่มาจากช่องทางออนไลน์อีกต่อไป