ประเภท/ลักษณะงาน
สัมมนา
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
กิจกรรมด้านการบริหารจัดการ
เป้าหมายผู้เข้าร่วม
ไม่ระบุ
คน
จำนวนผู้เข้าร่วม
ไม่ระบุ
คน
รายรับ
ไม่ระบุ
บาท
มูลค่ารายรับ
ไม่ระบุ
บาท
ค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
ทุกธุรกิจ ทุกองค์กร มีการจัดการคนทำงานในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ถ้าวันนี้ลองสังเกตดูว่า พนักงานของเรา ยังมีความสุขในการทำงานหรือไม่ การทำงานของแต่ละคนมีประสิทธิภาพที่ตอบโจทย์องค์กรมากแค่ไหน และคุณภาพชีวิตของพนักงานดีขึ้นทุกด้านรึเปล่า หากผู้นำหรือผู้บริหารสามารถมองจุดนี้ได้ ธุรกิจก็จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน
ปัจจุบันการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับพนักงานในองค์กร ไม่ใช่แค่เรื่องของ HR ที่จะมองหาคนทำงานที่เหมาะกับธุรกิจเท่านั้น แต่กำลังกลายเป็นกลยุทธ์ใหม่ ที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้มากขึ้น การลงทุนกับพนักงานด้วยการดูแลคุณภาพชีวิตให้ดีทุกด้าน เป็นกำไรระยะยาว ที่สร้างให้พนักงานเกิดความรักองค์กร ซึ่งกลยุทธ์ในการสร้างความสุขให้กับพนักงาน เราเรียกว่ากลยุทธ์ Well-Being แล้วกลยุทธ์นี้ มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
1.สุขภาพกายและใจที่ดี ผู้บริหารหรือผู้นำในองค์กรหลายคน อาจไม่รู้ตัวว่า เป็นต้นเหตุทำให้สุขภาพจิต สุขภาพใจของพนักงานย่ำแย่ลง การทำงานที่หนักและเครียดมากเกินไป กดดันพนักงานจนไม่มีความสุข นอกจากทำให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงานแล้ว ยังส่งผลไปถึงสุขภาพกาย ที่เจ็บป่วยได้ง่าย หนึ่งในสวัสดิการที่ดีในแบบ Well-Being ควรมีการตรวจสุขภาพประจำปีฟรีให้กับพนักงาน มีจิตแพทย์เช็คสุขภาพจิตพนักงาน ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกาย และยืดหยุ่นเวลาในการทำงาน ให้ชีวิต Work Life Balance มากขึ้น
2.สภาพแวดล้อมที่ดี เชื่อไหมว่า สภาพแวดล้อมส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานอย่างมาก พนักงานจะรู้สึกแอคทีฟ เมื่อได้ทำงานในออฟฟิศที่สวย เหมาะแก่การทำงาน บางทีธุรกิจอาจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ Well-Being Office ให้พนักงานมีความสุขมากขึ้นด้วย ไม่ว่าจะปรับขนาดพื้นที่ การตกแต่งที่ทันสมัย มองแล้วช่วยเพิ่มความสนุกในการทำงาน มีจุดผ่อนคลาย มีโต๊ะทำงานส่งเสริมสุขภาพ บรรยากาศดี ปลอดโปร่ง มีมุมสันทนาการ เล่นเกม และจุดพักผ่อนที่ทำให้พนักงานมีแรงบันดาลใจในการทำงาน
3.ความสัมพันธ์ที่ดี เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม เพราะองค์กร มีพนักงานหลายแผนก หลายตำแหน่ง การทำงานร่วมกันเป็นทีม จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จเร็ว ดังนั้น ต้องส่งเสริมพนักงานให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ยอมรับและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทุกแผนกสามารถทำงานร่วมกันได้ โดยสร้างสัมพันธ์จากการทำกิจกรรมขององค์กร ไม่ว่าจะจัดทริป Outing กิจกรรมกีฬาสี หรืองานเลี้ยงประจำปี เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
4.ความมั่นคงทางการเงิน แน่นอนว่าหลายธุรกิจมักคาดหวังให้พนักงานทำงานแบบเต็มประสิทธิภาพสูงสุด แต่กลับไม่ส่งเสริมด้านการเงินให้กับพนักงาน ส่วนใหญ่พนักงานจะมองว่า ทำงานเยอะ แต่เงินเดือนน้อยเกินไป ควรมีการเพิ่มเงินให้พนักงาน การมีเงินพิเศษ หรือสวัสดิการอื่นๆ ที่พนักงานควรได้รับ ถ้าไม่มีด้านเหล่านี้เลย บริษัทจะดูไม่มีความมั่นคง และตัวพนักงานก็มองไม่เห็นความมั่นคงของตัวเอง ส่งผลให้เกิดความเครียด จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนงาน ย้ายงานกันบ่อยๆ ดังนั้น ความเหมาะสมของเงินเดือนและสวัสดิการที่คุ้มค่ากับการทำงาน จะเป็นแรงจูงใจให้พนักงานอยู่ได้ยาวๆ
เห็นได้ว่า ทุกองค์กรธุรกิจที่ตอบรับกับกลยุทธ์ Well-Being ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ย่อมสร้างความสุขให้กับทุกคนทั้งนั้น ผู้นำทุกองค์กรจึงควรหันมาส่งเสริมสุขภาวะที่ดีทุกด้านให้กับพนักงาน
ก็จะสามารถรักษาพนักงานให้เติบโตไปกับองค์กรได้อย่างยั่งยืน
1. ช่วยให้คุณภาพชีวิตการทำงานด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านลักษณะงาน บุคลากร และสภาพแวดล้อมที่ดีส่งผลต่อการดำเนินงาน ส่งผลให้ผลิตภาพขององค์การเพิ่มขึ้น
|
2. ช่วยปรับปรุงศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานเพิ่มพูนทักษะความสามารถของตนเอง
|
3. ช่วยลดปัญหาการขาดงาน การลาออก ลดอุบัติเหตุ และส่งเสริมให้ได้ผลผลิตและการบริการที่ดี ทั้งคุณภาพและปริมาณ
|
4. มีการยอมรับและร่วมมือทำงานด้วยดี และงานนั้นช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีโอกาสสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ๆ
|
5. ส่งเสริมพนักงานให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ยอมรับและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
|