SAS-67 โครงการ “จรรยาบรรณวิชาชีพ : ความซื่อสัตย์และความโปร่งใสในการดำเนินงาน” SEASON2

วันที่เริ่มต้น 01/07/2567 เวลา 8:30 วันที่สิ้นสุด 31/08/2567 เวลา 16:30
สถานที่จัด วิทยาลัยบริหารศาสตร์ (ผ่านระบบ zoom) 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก วิทยาลัยบริหารศาสตร์ สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ภัคสุณีย์ ดวงงา วิทยาลัยบริหารศาสตร์ สำนักงานคณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ งานบริหารและธุรการ

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
การปฏิบัติตามหลักจริยธรรมหรือจรรยาบรรณวิชาชีพในการทำงาน เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างพฤติกรรมที่ดีในการทำงาน และยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับบุคลากร มีการกำหนดบทลงโทษไว้สำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตามบุคลากรต้องรู้จักที่จะเรียนรู้จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพในการทำงานด้วยตนเอง สำหรับความโปร่งใสในการทำงาน ขึ้นอยู่กับระเบียบ กฎหมาย ที่คนทำงานจะต้องปฏิบัติให้เกิดความถูกต้อง โปร่งใส ตลอดรวมถึงจิตใต้สำนึกของแต่ละบุคคลที่มีความฝักใฝ่ดำเนินงานให้เกิดความถูกต้องเป็นหลัก การทำงานในระบบราชการหากกระทำด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีแต่ความซื่อตรง ไม่คดโกงคนอื่น ประเทศชาติ บ้านเมือง จะสามารถเป็นเกราะป้องกันภัยต่าง ๆ ที่จะเข้ามาหาตัวเราได้ ในโลกปัจจุบันได้ให้ความสำคัญของความโปร่งใสว่าสามารถเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น ช่วยให้หน่วยงานและผู้ปฏิบัติมีความรับผิดชอบและมีการปฏิบัติงานหรือมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสร้างความเป็นธรรมแก่ประชาชนหรือผู้รับบริการอย่างทั่วถึง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องมีมาตรการและแนวทางในการสร้างความโปร่งใสให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้รับการยอมรับและเชื่อถือ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไปรับใช้สังคม มีปรัชญาที่มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน คณาจารย์และผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยจึงเป็นกำลังสำคัญในกระบวนการสร้างและพัฒนาให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการนำวิชาความรู้ไปประกอบอาชีพ รวมไปถึงความสมบูรณ์ทั้งทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม ในฐานะคณาจารย์และผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้งานของฝ่ายวิชาการดำเนินลุล่วงไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพนั้น บุคลากรทุกคนจำเป็นต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษาได้ถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน บุคลากรพึงตระหนักและมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพที่พึงประสงค์และประพฤติปฏิบัติตน เป็นที่ยอมรับของสังคมและสำนึกในหน้าที่ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์และมีความสุข
คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส บุคลากรมีจรรยาบรรณวิชาชีพที่เหมาะสม จึงกำหนดจัด “โครงการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ : ความซื่อสัตย์และความโปร่งใสในการดำเนินงาน” SEASON2 ในวันที่ 7 สิงหาคม 2567 โดยระบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meeting มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีจรรยาบรรณวิชีพคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสม โดยเฉพาะมีความซื่อสัตย์สุจริตและโปร่งใสในการดำเนินงาน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภาค 5 มาเป็นวิทยากรบรรยายในโครงการดังกล่าว
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน บรรยายพิเศษ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ คุณธรรม จริยธรรม และพัฒนาบุคลิกภาพ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 2  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 60 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   64 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   1200 บาท
มูลค่ารายรับ   1200 บาท
ค่าใช้จ่าย 1200 บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   1200 บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
การดำเนินโครงการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ : ความซื่อสัตย์และความโปร่งใสในการดำเนินงาน จัดขึ้นวันที่ 7 สิงหาคม 2567 ผ่านระบบออนไลน์โดยโปรแกรม Zoom Cloud Meeting มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 64 คน ได้แก่ บุคลากรสังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์และผู้สนใจ ได้ดำเนินการกิจกรรมบรรยายหัวข้อความซื่อสัตย์และความโปร่งใสในการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมโดยมีสรุปผลการประเมินโครงการดังนี้
สรุประดับความคิดเห็นต่อการจัดโครงการ
1. ก่อนเข้าร่วมโครงการ มีความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพในการดำเนินงาน ระดับ ปานกลาง
2. หลังเข้าร่วมโครงการ มีความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพในการดำเนินงาน ระดับ มาก
3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงานได้ในระดับใด มากที่สุด
4. ความเหมาะสมของระยะเวลาจัดโครงการ ระดับ มาก
5. ความพึงพอใจโดยรวมต่อโครงการ ระดับ มากที่สุด

ตัวชี้วัด :

ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 64 คน ได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่
ร้อยละ 86.25 (บรรลุตัวชี้วัด)
ก่อนเข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพในการดำเนินงาน เฉลี่ย ร้อยละ 60.94
หลังเข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพในการดำเนินงาน เฉลี่ย ร้อยละ 86.25
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ

สมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล