เมนู
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Maejo University
ติดต่อ
บุคลากร (เข้าสู่ระบบ)
หน้าหลัก
บุคลากร
พัฒนาบุคลากรและกิจกรรม
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ด้านการเรียนการสอน: การวัดและการประเมินผล การจัดทำรูบริค (Rubric) และเกณฑ์การให้คะแนน (Marking Scheme)
วันที่เริ่มต้น
16/11/2566
เวลา
8:30
วันที่สิ้นสุด
16/11/2566
เวลา
12:00
ทั้งวัน
สถานที่จัด
ห้องประชุม E601/1 ชั้น 6 คณะพยาบาลศาสตร์
ภายในสถาบัน
ในประเทศ
ต่างประเทศ
หน่วยงานที่จัด
ผู้รับผิดชอบ
ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก
คณะพยาบาลศาสตร์
สาขา/กอง
หน่วยงานภายใน
ชื่อหน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล
ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
ในปัจจุบันการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ส่วนใหญ่เน้นการประเมินตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย ซึ่งในอดีตจะใช้เพียงแบบทดสอบ เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้านพุทธิพิสัยเพียงอย่างเดียว จึงไม่ครอบคลุมพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัย การให้คะแนนแบบรูบริค เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่มีแนวคิดในการประเมินที่สำคัญคือ การกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน (Marking Scheme) และคำอธิบายคุณลักษณะหรือคุณภาพในการปฏิบัติงานของผู้เรียนออกเป็นระดับและมุ่งเน้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในการประยุกต์ใช้ ความรู้ เจตคติ และทักษะผ่านการทำชิ้นงานซึ่งกำหนดไว้ในรูปแบบสถานการณ์ ปัญหา หรือการทำงานที่คล้ายคลึงสภาพจริง โดยเกณฑ์การให้คะแนนรูบริคมีประโยชน์ในการใช้เป็นแนวทางประเมินทักษะปฏิบัติของผู้เรียนได้อย่างรวดเร็ว ครอบคลุม ชัดเจน โปร่งใส ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนได้ ตลอดจนสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแก่ผู้สอน ให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการจัดการศึกษาได้และเป็นประเด็นสำคัญที่อาจารย์ผู้สอนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้การวัดและประเมินผลผู้เรียนมีความแม่นยำ ถูกต้อง การสร้างเกณฑ์การให้คะแนน Rubric มีความสำคัญดังนี้
1. เพื่อกำหนดแนวทางในการตัดสินใจอย่างยุติธรรม และปราศจากความลำเอียง Rubric จะต้องมีความชัดเจนในเกณฑ์การให้คะแนนอย่างเพียงพอ ระดับของความสอดคล้องในการให้คะแนนของผู้ประเมินที่ประเมินอย่างเป็นอิสระจากกันมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของการประเมินที่มีมาตรฐาน
2. เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ทั้งสอนและการประเมิน เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงการพัฒนาของผู้เรียนได้ และช่วยให้อาจารย์สามารถตั้งความคาดหวังหรือการปฏิบัติงานของผู้เรียนได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังสามารถให้ผู้เรียนเห็นได้อย่างชัดเจนว่าทำอย่างไรจึงจะปฏิบัติงานได้ตามความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ได้ตั้งไว้
3. เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้เรียนให้เป็นผู้ที่สามารถตัดสินคุณภาพชิ้นงานอย่างมีเหตุผลทั้งงานของตนเองและผู้อื่น
ดังนั้นคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้จัดโครงการการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ด้านการเรียนการสอน: การวัดและประเมินผล การจัดทำเกณฑ์การให้คะแนนรูบริค (Scoring Rubrics) ให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565) ขึ้น
ศกุนตลา จินดา
(ผู้บันทึกข้อมูล)
ข้อมูลวันที่ :
29/11/2566 10:17
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่
1
รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน
อบรมเชิงปฏิบัติการ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
กิจกรรมด้านการบริหารจัดการ
ระดับ
อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด
3
ชั่วโมง
วัน
เป้าหมายผู้เข้าร่วม
19
คน
จำนวนผู้เข้าร่วม
18
คน
ตอนที่
2
รายรับ-รายจ่าย
รายรับ
ไม่ระบุ
บาท
มูลค่ารายรับ
ไม่ระบุ
บาท
ค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
ตอนที่
3
ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่
4
สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
สมรรถนะหลักของมหาวิทยาลัย
สมรรถนะประจำกลุ่มงาน
สมรรถนะของผู้บริหาร
สมรรถนะ
ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอนที่
5
เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่
6
ภายใต้โครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่
7
ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่
8
การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล