โครงการเกษตรอินทรีย์วิถีล้านนาและการบริโภคอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพ

วันที่เริ่มต้น 18/10/2566 เวลา 8:30 วันที่สิ้นสุด 18/10/2566 เวลา 12:00
สถานที่จัด พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะพยาบาลศาสตร์ สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นพันธกิจสำคัญของสถาบันการศึกษาที่ต้องจัดให้นักศึกษาซึ่งเป็นเยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาความเป็นมา คุณค่าทางวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่ง เป็นมรดกทางความคิดที่บรรพบุรุษได้คิดขึ้นมา โดยใช้ความคิดและการกระทำในการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะการแสดง ฯลฯ (ประมวล พิมพ์เสน, 2554) เช่นเดียวกับวิถีชีวิตคนพื้นเมืองล้านนาเช่นชาวเชียงใหม่ที่มีประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สำคัญอันเป็นเอกลักษณ์มีลักษณะโดดเด่นและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก การดำเนินวิถีชีวิตของชาวล้านนาจะเกี่ยวข้องกับประเพณี ต่างๆ ทั้งปี เรียกว่าประเพณี12 เดือนล้านนา ซึ่งมีความเกี่ยวข้องทางศาสนาซึ่งชาวบ้านจะพร้อมใจกันและนิยมไปทำบุญทำทานที่วัด ประเพณีจัดเรียงตามเดือนที่นับทางคติล้านนาเริ่มจากเดือนที่ 1 คือเดือนเกี๋ยง (ตุลาคม) จนถึงเดือนที่ 12 เดือนสิบสอง (กันยายน) (จักรพงษ์ คำบุญเรือง,2559) ซึ่งประเพณีทางล้านนานั้นมีมากมายถึง 42 ประเพณี แต่ละเดือนจะมีงานประเพณีหลายรูปแบบ ซึ่งประเพณีที่สำคัญของแต่ละเดือนเช่น เดือนเกี๋ยง (ตุลาคม) มีประเพณีออกพรรษา และทำบุญตักบาตรเทโว เดือนยี่ (พฤศจิกายน) มีประเพณียี่เป็งหรือลอยกระทงซึ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกมาชื่นชม เดือนห้า (กุมภาพันธ์) มีประเพณีปอยหลวง เดือนเจ็ด (เมษายน) มีประเพณีปี๋ใหม่เมืองหรือสงกรานต์ เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวล้านนาเนื่องจากเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนศักราชใหม่ โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 13 ถึงวันที่ 18 เมษายน เดือนสิบ (กรกฏาคม) มีประเพณีเข้าพรรษา และเดือนสิบสอง (กันยายน) มีประเพณีตานสลากภัตจาคะข้าว เป็นต้น แต่ละประเพณีจะมีการทำอาหารพื้นบ้านหลากหลายชนิดเพื่อนำไปทำบุญถวายพระและส่วนหนึ่งนำมาเลี้ยงดูกันเป็นการเฉลิมฉลองในช่วงเวลาแห่งความสุขตามวิถีชาวบ้าน
คณะผู้จัดทำโครงการของคณะพยาบาลศาสตร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดโครงการบูรณาการศิลปวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับรายวิชาโภชนศาสตร์ และการบริการวิชาการขึ้นเพื่อให้นักศึกษา อาจารย์และบุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์รวมทั้งวิทยาลัยบริหารศาสตร์ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ได้มีความรู้ความเข้าใจด้านเกษตรอินทรีย์และอาหารพื้นบ้านปลอดภัย และตระหนักถึงคุณค่าวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านกระบวนการเรียนรู้การทำอาหารพื้นบ้านล้านนา
การถ่ายทอดองค์ความรู้จากปราชญ์หรือชาวบ้านผู้ซึ่งได้รับการสืบทอดวัฒนธรรมด้านอาหารล้านนาจากรุ่นสู่รุ่น และเชื่อมโยงกับศาสตร์ด้านโภชนการเพื่อเป็นแนวทางสร้างเสริมสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน โดยอาหารพื้นเมืองที่ได้นำมาถ่ายทอดเช่น ลาบพื้นเมือง ข้าวเหนียว น้ำพริก ขนมพื้นเมืองเป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักและที่นิยมรับประทาน ซึ่งชาวล้านนาจะนำไปทำบุญและพิธีกรรมในงานประเพณี ๑๒ เดือนล้านนา เช่น วันปีใหม่เมือง งานปอยหลวง งานตานสลากภัตร งานทำบุญเข้าพรรษา งานประเพณียี่เป็ง และงานตักบาตรเทโว เป็นต้น ทั้งนี้คาดว่ากิจกรรมนี้จะเกิดประโยชน์แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณี 12 เดือนล้านนาและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารพื้นเมือง ให้มีความยั่งยืนคู่กับชาวล้านนาและคนไทยตลอดไป
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน อบรมเชิงปฏิบัติการ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ระดับ อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด 3  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 111 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   111 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ

สมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล