เมนู
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Maejo University
ติดต่อ
บุคลากร (เข้าสู่ระบบ)
หน้าหลัก
บุคลากร
พัฒนาบุคลากรและกิจกรรม
โครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่
MJU Enhancing SMEs and New Entrepreneurs with Smart and Modern Agricultural Technology Innovation (SMATI)
วันที่เริ่มต้น
09/10/2564
เวลา
9:00
วันที่สิ้นสุด
07/11/2564
เวลา
18:00
ทั้งวัน
สถานที่จัด
สำนักงานมหาวิทยาลัย
ภายในสถาบัน
ในประเทศ
ต่างประเทศ
หน่วยงานที่จัด
ผู้รับผิดชอบ
ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก
สำนักงานมหาวิทยาลัย
สาขา/กอง
ฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ
หน่วยงานภายใน
ชื่อหน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบหลัก
ธเนศ ไชยชนะ
วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
1.1 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ดำเนินการและปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล ตามพระราชาชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 หมวด 3 ประเภทของสถาบันการศึกษา มาตรา 24 และ หมวด 6 การจัดสรรทรัพยากร มาตรา 43(3)
- มาตรา 24 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม สนับสนุน ประเมินคุณภาพ กำกับดูแล และ จัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันอุดมศึกษา รัฐมนตรีจะประกาศกำหนดให้จัดสถาบันอุดมศึกษาเป็นกลุ่มได้ โดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมาย พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ศักยภาพ และผลการดำเนินการที่ผ่านมาของสถาบัน อุดมศึกษาแต่ละกลุ่ม โดยต้องกำหนดมาตรการส่งเสริม สนับสนุน ประเมินคุณภาพ กำกับดูแล และจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับการจัดกลุ่มดังกล่าวด้วย ในกรณีที่รัฐมนตรีประกาศให้สถาบันอุดมศึกษากลุ่มใดมีพันธกิจหลักในการให้การศึกษาอบรม ทักษะอาชีวะชั้นสูงเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันอุดมศึกษา กลุ่มนั้นย่อมได้รับความสนับสนุนเป็นพิเศษจากรัฐตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด …
- มาตรา 43 (3) งบลงทุนและงบเงินอุดหนุนเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ และเงินอุดหนุนจากกองทุน ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อใช้ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม ประเภทและกลุ่มของสถาบันอุดมศึกษา
1.2 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต้องการผลิตกำลังคนระดับสูงตามความต้องการของประเทศ ในปี 2563-2565 ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 นโยบายการผลิตกำลังคนตามความต้องการของประเทศปี 2563-2565
1 High Quality Engineer EEC 40,000 คน Non EEC 20,000 คน
2 New Skill/Up Skill/Up skill SMEs 50,000 ราย พัฒนา Talents ใน SMEs 200,000 ราย
3 สร้าง HiFi เพื่อปรับ SMEs เป็น IDEs ปรับ SMEs เป็น IDEs 20,000 ราย พัฒนาบุคลากร HiFis 100,000 ราย
4 Smart Farming / BCG Smart Farmer 100,000 ราย Smart Farming Engineers 10,000 ราย Smart Firming System Integrators 50,000 ราย Smart Farming Marketer 5,000 ราย
1.3 มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร มากว่า 85 ปี และมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศด้านการเกษตรระดับนานาชาติ และในปีพ.ศ. 2577 ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีอายุครบ 100 ปี มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายที่จะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านเกษตรอัจฉริยะ (Intelligent Agriculture) มีความพร้อมที่จะพัฒนาบุคลากรตลอดช่วงอายุ ตามนโยบายการผลิตกำลังคนของกระทรวงอุดมศึกษาให้มีมีความเชี่ยวชาญและชำนาญด้านเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ และมีเครือข่ายผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งกลุ่มเกษตรกร
1.4 มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความเชี่ยวชาญพื้นฐานด้านเทคโนโลยีการเกษตร นวัตกรรมการเกษตร การเกษตรอัจฉริยะ รวมทั้งมีการจัดการเรียนการสอนด้านบริหารธุรกิจ การตลาด เศรษฐศาสตร์ สื่อดิจิตัล พลังงาน วิศวกรรม การเกษตรพื้นฐานทั้ง พืช สัตว์ ประมง การแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นฐานในการพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยกลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งมีความพร้อมพื้นฐานในด้านระบบนิเวศน์นวัตกรรม
1.5 มหาวิทยาลัยมีการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นเพื่อเสนอตัวมหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีการเตรียมการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ มีการศึกษา วิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านเกษตรอัจฉริยะ มีการเตรียมความพร้อมในการเปิดหลักสูตรด้านนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ และหลักสูตรผู้ประกอบการเกษตรนวัตกรรม ทั้งหลักสูตร Degree 4 ปี และ 2 ปี ต่อเนื่อง หลักสูตร non-degree ที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ module และแบบ online โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำหรับคนตลอดช่วงอายุวัยให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งหลักสูตรในการ Up skill, Re skill , New Skill บุคลากรในสถานประกอบการ และบัณฑิตใหม่ที่ยังไม่มีงานทำให้เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ ในการนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือสร้างธุรกิจใหม่ได้
จากความสำคัญและที่มาของโครงการเบื้องต้นมหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงเสนอตัวการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัย อยู่ในกลุ่ม 2 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นการต่อยอดอาชีวะขั้นสูง และได้จัดทำ “โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่” เพื่อเสนอต่อกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีเป้าประสงค์ที่จะสร้างความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ ในปี พ.ศ. 2569
แนวทางการปรับยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อรองรับการดำเนินการ : โดยอธิบายถึงแผนการปฏิรูประบบการบริหารจัดการ จุดเน้นตามยุทธศาสตร์และศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อรองรับการดำเนินการ ในด้านต่างๆ ได้แก่
1) ด้านการบริหารบุคลากร (โดยอธิบายถึงแผนหรือแนวทางการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารงานบุคคลที่เน้นสมรรถนะ จริยธรรมและผลลัพธ์ (performance-, ethics- & outcome-based) ให้ความสำคัญกับ talent ทั้งคนไทยและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และการสลับการทำงานกับหน่วยงานอื่น (mobility) มีระบบประเมินเพื่อให้ผลตอบแทนที่จูงใจ เน้นความแตกต่าง ไม่เป็นแบบ one size fits all)
มหาวิทยาลัยปรับกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะบุคลากรสายวิชาการให้มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะในด้านความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ ความเป็นผู้ประกอบการ และการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยเฉพาะการส่งบุคลากรไปฝังตัวในหน่วยงานภาครับและเอกชนเป้าหมาย (Talent Mobility) การแสวงหาผู้เชี่ยวชายด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ในระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาหลักสูตและเป็นพี่เลี้ยงให้กับบุคลากรรุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัย (Coaching) รวมทั้งการปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัย ให้มุ่งเน้นภารงานเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งการพลิกโฉมสู่มหาวิทยาลัยกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยด้วย
2) ด้านแผน ระบบการเงินและงบประมาณ (โดยอธิบายถึงแผนหรือแนวทางการปรับเปลี่ยนระบบด้านนโยบายและแผน ระบบการเงินและงบประมาณที่มีจุดเน้น (focused) และคล่องตัว โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ รวมถึงการสมทบการเงิน (matching) เพื่อพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา)
มหาวิทยาลัยได้มีการทบทวนแผน และปรับปรุงเป้าประสงค์ ตัวชี้วัดในแผน โดยยังคงวิสัยทัศน์เดิม ในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ ซึ่งสอดคล้องกับการพลิกโฉมสู่มหาวิทยาลัยกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการพัฒนาบุคลากร องค์วามรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม S-curve และอุตสาหกรรมใหม่ โดยได้บรรจุตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมไว้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยด้วย และได้ถ่ายทอดไปสู่ตำรับรองการปฏิบัติงานของอธิการบดี รอง ผู้ช่วย คณบดี รวมถึงบุคลากรทุกระดับ
นอกจากนี้ยังได้มีการปรับปรุงกฎระเบียบ โดยเฉพาะในด้านการเงินการคลัง ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ธรรมาภิบาล และการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนในระยะยาว
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้เตรียมปรับแผนงานและแผนงบประมาณ เพื่อรองรับผลกระทบต่างๆอันเนื่องมาจากภาวะวิกฤตโรคระบาด COVID-19 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือรัฐบาล และประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัย ป้องกันโรค และการสร้างงานสร้างอาชีพแก่ประชาชนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ รวมถึงการสร้างความมั่นคงทางอาหารแก่ชุมชน
3) ด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ (โดยอธิบายถึงแผนหรือแนวทางการปรับเปลี่ยนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ภายในต่างๆ ของสถาบันอุดมศึกษา ให้คล่องตัวและเอื้อต่อการทำงานของบุคลากรที่เน้นผลลัพธ์ ความสำเร็จของงาน)
มหาวิทยาลัยได้ทบทวนกฎระเบียบและหยักเกณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะในด้านวิชาการและการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญและสร้างบุคลากรด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ และการส่งเสริมการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ การทำงานร่วมกับเครือข่ายภาครัฐและเอกชน การ Up-skill Re-skill New-skill และการเรียนรู้ตลอดชีวิต อาทิเช่น การออกข้อบังคับว่าด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเอื้นให้เกิดการเรียนการสอนในลักษณะ Module และสะสมหน่วยกิตด้วย Credit Bank รวมถึงการให้ Certificate แก่ผู้ผ่านการอบรมตามมาตรฐานที่กำหนด
4) ระบบธรรมาภิบาล (โดยอธิบายถึงแผนหรือแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาระบบธรรมาภิบาลภายในสถาบันอุดมศึกษาที่เน้น ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ภารกิจ ความโปร่งใส ในทุกระดับ ตั้งแต่ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา คณะ ส่วนงาน อาจารย์ และบุคลากรสนับสนุน)
มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการทำงานโดยการมีส่วนร่วม และระบบฟังความคิดเห็นจากทุกระดับ ทุกส่วนงาน รวมถึงหน่วยงานภายนอก มีระบบการติดตามตรวจสอบที่เข้มงวด ชัดเจน ตามมาตรฐาน ITA นอกจากนี้ยังมีนโยบายในการส่งเสริมการใช้จ่ายงบประมาณและทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ให้เกิดความคุ้มค่า เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุด ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่ทรัพยากรมีอยู่อย่า
พิชญาภัค คำสืบ
(ผู้บันทึกข้อมูล)
ข้อมูลวันที่ :
27/01/2565 16:25
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่
1
รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน
อบรมเชิงปฏิบัติการ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง
ระดับ
ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด
32
ชั่วโมง
วัน
เป้าหมายผู้เข้าร่วม
2000
คน
จำนวนผู้เข้าร่วม
ไม่ระบุ
คน
ตอนที่
2
รายรับ-รายจ่าย
รายรับ
ไม่ระบุ
บาท
มูลค่ารายรับ
ไม่ระบุ
บาท
ค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
ตอนที่
3
ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่
4
สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
สมรรถนะหลักของมหาวิทยาลัย
สมรรถนะประจำกลุ่มงาน
สมรรถนะของผู้บริหาร
ตอนที่
5
เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่
6
ภายใต้โครงการ
โครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่
ตอนที่
7
ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่
8
การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล