โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนข้อเสนองานวิจัยเพื่อขอทุนจากแหล่งทุน และนำผลงานวิจัยไปตีพิมพ์/เผยแพร่

วันที่เริ่มต้น 24/08/2564 เวลา 9:00 วันที่สิ้นสุด 24/08/2564 เวลา 16:00
สถานที่จัด ห้องประชุมกวางบุษราคัม 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ขนิษฐา เกตุสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ สำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ งานบริการวิชาการและวิจัย

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
การวิจัยถือเป็นกิจกรรมพัฒนาปัญญาเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่มนุษย์เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาวิถีการดำรงชีวิตทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมให้ดีขึ้น ทั้งยังใช้ในการปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและอารยธรรมของโลกที่เปลี่ยนไปได้เป็นอย่างดี การวิจัยได้มีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งต่อการพัฒนาในส่วนเฉพาะตัวมนุษย์เองหรือแม้แต่ด้านสังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเมืองการปกครองและทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และยังเป็นการสร้างรากฐานของการพัฒนาประเทศและประชากร ให้สามารถเข้าใจปัญหาของประเทศและร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ การทำวิจัยทุกเรื่อง ผู้ทำวิจัยจะต้องทราบว่าเมื่อทำเสร็จแล้วผลการวิจัยจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ของการวิจัยมีได้หลายลักษณะ เช่น การนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบาย ปรับปรุงการปฏิบัติงาน ใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจ ใช้ในการแก้ปัญหา หรือทำวิจัยต่อไป เป็นต้น
การขอทุนวิจัยก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักวิจัย ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอยู่ในวงการและนักวิจัยหน้าใหม่ เพื่อนำไปสู่การทำวิจัยที่สมบูรณ์แบบ แหล่งเงินทุนวิจัยมีทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเหล่านั้น สามารถทำได้โดยการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (project proposal) ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดของเรื่องที่จะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย บางครั้งจะมีการเขียนเพียงเอกสารเชิงหลักการ (conceptpaper) ขึ้นก่อนแล้วพัฒนาโครงการเป็นข้อเสนอโครงการวิจัยต่อไป เอกสารดังกล่าว เพื่อใช้ให้คณะกรรมการวิจัยได้พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการวิจัย หรือใช้ให้แหล่งทุนพิจารณาให้การสนับสนุนงบประมาณการวิจัย จึงจะเห็นได้ว่าการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย มีความสำคัญมาก มีผลต่อการตัดสินใจว่างานวิจัยนั้นจะสามารถดำเนินการต่อไปได้หรือไม่ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคและวิธีการต่างๆเหล่านี้จากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่อยู่ในวงการวิจัย ซึ่งในกระบวนการวิจัยขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งคือการตีพิมพ์และเผยแพร่ ถือเป็นพันธกิจหลักและตัวชี้วัดที่สำคัญอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ตามแนวนโยบายที่สำคัญด้านงานวิจัย อาทิเช่น (1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรดำการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ตลอดจนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนและประเทศ (2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรได้รับทุนวิจัยจากทั้งภายในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอก และจัดให้มีระบบสนับสนุนงานวิจัยเพื่อสร้าง แรงจูงใจให้กับนักวิจัยที่มผีลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลงานของ สกอ.และ สกว. (3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการวิจัยด้านเกษตร (4) ส่งเสริมและสนับสนุนการทาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์งานวิจัยของจังหวัดแพร่ และของชาติ และเป็นไปตามยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (5) บูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ (6) ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรยื่นขอจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น การเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์สู่สังคม นอกจากจะทำให้เกิดความก้าวหน้าที่สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งในการดำรงตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ยังเป็นต้นทุนทางสังคมให้เป็นผู้ที่มีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรและสังคมให้มีความยั่งยืนต่อไป
จากเหตุผลข้างต้นนั้น ทางฝ่ายงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ ฯ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเขียนข้อเสนองานวิจัยเพื่อขอทุนจากแหล่งทุน และนำผลงานวิจัยไปตีพิมพ์/เผยแพร่ จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนข้อเสนองานวิจัยเพื่อขอทุนจากแหล่งทุน และนำผลงานวิจัยไปตีพิมพ์/เผยแพร่ ขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน อบรม
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 6  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 80 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   59 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล