โครงการมหาวิทยาลัยแม่โจ้มุ่งสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) การฝึกอบรม หลักสูตรการตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม Green Office พ.ศ.2562

วันที่เริ่มต้น 13/05/2562 เวลา 8:30 วันที่สิ้นสุด 14/05/2562 เวลา 16:00
สถานที่จัด ห้องสายน้ำผึ้ง สำนักหอสมุด 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก สำนักงานมหาวิทยาลัย สาขา/กอง กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
เยาวนิตย์ ธาราฉาย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ประคอง ยอดหอม สำนักงานมหาวิทยาลัย กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
จากปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศได้ส่งผลกระทบต่อด้านสังคมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสภาวะโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลต่อผลิตผลทางด้านการเกษตรและพลังงานของประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยต้องพึ่งพาอาศัยการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศทั้งน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ เพื่อนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีปริมาณการใช้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สถานการณ์พลังงานในประเทศไทยปัจจุบันเรียกว่าอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เนื่องจากต้องยอมรับพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบันผลิตจากก๊าซธรรมชาติ 80% ขณะที่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่มีอยู่ในการนำก๊าซขึ้นมาใช้มีเหลือให้นำขึ้นมาใช้อีก 18 ปี ซึ่งหากไม่มีการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งใหม่อีก 18 ปีข้างหน้าประเทศไทยอาจเกิดวิกฤติการณ์ Blackout หรือไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง จากสถานการณ์ด้านพลังงานดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องหาแนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน และลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล โดยการหาแหล่งพลังงานสะอาดทดแทน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพลังงานจากแสงอาทิตย์อย่างดีตลอดปี ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาเป็นแหล่งพลังงานทดแทนต่อไป
ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกด้านหนึ่ง ที่ปัจจัยหลักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมาก และนับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้นต้นเหตหลักของปัญหาหนึ่งก็คือการใช้ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในรูปของน้ำมันชนิดต่าง ๆ เมื่อเกิดการสันดาปหรือเผาไหม้จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงที่เป็นต้นเหตุปัญหาเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดจำนวนก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยการลดการใช้ยานพาหนะทีใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมาใช้ยานพาหนะที่ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือการใช้จักรยานในการเดินทางแทน ตลอดจนการส่งเสริมการเดินทางด้วยเท้า จะเป็นการช่วยลดและประหยัดพลังงาน พร้อมกับการได้สุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น
แนวทางการพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12(พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ไว้ 6 หลักด้วยกัน 1 ใน 6 หลักด้วยกัน คือ ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยที่กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) เพื่อให้การดำเนินการที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อเนื่องจากงบประมาณปี 2561 ที่ได้จัดทำเรื่องการลดการใช้พลังงาน มหาวิทยาลัยจึงได้นำเสนอโครงการมหาวิทยาลัยแม่โจ้มุ่งสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ต่อเนื่อง โดยเน้นการบริหารจัดการด้านพลังงานในรูปแบบการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ ลดปริมาณการใช้และจัดหาแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า เพื่อลดการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน อบรม
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม กิจกรรมอนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 12  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 60 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   60 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   45770 บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย 45770 บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ตามที่มหาวิทยาลัยอนุมัติโครงการมหาวิทยาลัยแม่โจ้มุ่งสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) กิจกรรมสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินการสำนักงานสีเขียว (Green Office) โดยจัดฝึกอบรม หลักสูตรการตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม Green Office ในระหว่างวันที่ 13 – 14 พฤษภาคม 2562 รวม 2 วัน โดยไม่เก็บค่าลงทะเบียน ณ ห้องสายน้ำผึ้ง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 70,000 บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน) นั้น

ดังนั้น จึงขอรายงานการจัดฝึกอบรมดังกล่าว ดังนี้
1. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 60 คน เป็นบุคลากรมหาวิทยาลัย จำนวน 57 คน และบุคลากรจากหน่วยงานภายนอก จำนวน 3 คน
2. งบประมาณที่ใช้ไปในการจัดโครงการ จำนวน 40,370 บาท (สี่หมื่นสามร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน)
3. วิทยากรฝึกอบรม รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต รองคณบดีฝ่ายมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมและวิเทศสัมพันธ์ สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
4. การประเมินผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยการสอบข้อเขียนชุดข้อสอบและเกณฑ์ที่วิทยากรกำหนด ผู้ที่สอบผ่านจะต้องได้คะแนนตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน มีผู้สอบผ่าน จำนวน 49 ราย ไม่ผ่าน จำนวน 11 ราย โดยผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตร ”ผ่านการฝึกอบรม” สำหรับผู้ที่สอบไม่ผ่านตามเกณฑ์ จะได้รับใบประกาศเป็น “ได้เข้ารับการฝึกอบรม”
5. ผู้ผ่านการฝึกอบรม วิทยากรจะได้นำรายชื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ตรวจประเมินในส่วนภูมิภาค ซึ่งหากมีการประเมินในส่วนภูมิภาคจะมีการติดต่อประสานงานจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมเป็นคณะกรรมการประเมิน
6. กองอาคารและสถานที่ จะนำเสนอรายชื่อผู้ที่ผ่านการเข้าอบรมตามเกณฑ์ เพื่อขออนุมัติแต่งตั้งเป็นผู้ประเมินภายใน สำหรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ของหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และเสนอมหาวิทยาลัยพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดค่าตอบแทนสำหรับผู้ประเมินในการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) สำหรับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยต่อไป
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล