โครงการศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมล้านนา
-
วันที่เริ่มต้น 31/03/2560 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 31/03/2560 เวลา 0:00
สถานที่จัด ห้องประชุม 404 อาคารประเสริฐ ณ นคร 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะศิลปศาสตร์ สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
นิคม มูลเมือง คณะศิลปศาสตร์
ฐาปกรณ์ เครือระยา คณะศิลปศาสตร์

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมล้านนาขึ้นมาเป็นแหล่งอนุรักษ์และเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมล้านนา เป็นแหล่งบริการวิชาการศึกษาดูงานด้านวัฒนธรรมล้านนา ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์คณะศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้เป็นที่รู้จัก
ในระยะแรก คณะกรรมการดำเนินการโครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมล้านนา ได้มีการทบทวนความรู้เกี่ยวกับงานด้านวัฒนธรรมล้านนา และได้ขอความอนุเคราะห์องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณีล้านนา จากสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และข้อมูลบทความด้านงานพุทธศิลป์ล้านนา จากศูนย์โบราณคดีภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กลับมาพิมพ์เผยแพร่อีกครั้ง ซึ่งผลจากการดำเนินการดังกล่าว ปรากฏออกมาเป็นเอกสารประกอบการสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ “ภูมิผญา และศิลปะวัฒนธรรมล้านนา” ซึ่งรวมรวมรูปแบบและประเภทงานพุทธศิลป์ล้านนาไว้ในระดับหนึ่งและพิมพ์ขึ้นอีกครั้งเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าว
โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมล้านนา ได้ทำการเปิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจ ทั้งบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย บุคลากรระดับอุดมศึกษาทั้งในและนอก นักศึกษา และชาวบ้านในพื้นที่ ในวันที่ 31 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งในการเข้าร่วมประชุมสัมนาในครั้งนี้ นอกจากนั้นยังได้ทำการเปิดศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมล้านนา ซึ่งในช่วงแรกจะเป็นการจัดนิทรรศการเรื่อง เครื่องเขิน และ งานพุทธศิลป์ ซึ่งได้รับการตอบรับและความสนใจในการเยี่ยมชมเป็นอย่างดี
ทั้งนี้ในนามศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมล้านนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้องขอกราบขอบพระคุณสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้อนุเคราะห์ข้อมูลด้านวัฒนธรรมประเพณีล้านนาสิบสองเดือน ขอบคุณศูนย์โบราณคดีภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์บทความด้านงานพุทธศิลป์ล้านนา และขอบคุณวิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง ที่ได้อนุเคราะห์ข้อมูลด้านวัฒนธรรมของล้านนา จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมล้านนาจะมีความประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจในทุกระดับ โดยเฉพาะคนในท้องถิ่นที่จะช่วยปลุกจิตสำนึกของลูกหลานให้ตระหนักถึงคุณค่าของงานพุทธศิลป์ และร่วมกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ประชุมสัมนา
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 6  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 100 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   100 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ