โครงการเข้าร่วมงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 39

วันที่เริ่มต้น 17/11/2567 เวลา 8:00 วันที่สิ้นสุด 22/11/2567 เวลา 16:00
สถานที่จัด ไม่ระบุ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
จอมสุดา ดวงวงษา คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
โดม อดุลย์สุข คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ประเสริฐ ประสงค์ผล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
งานประเพณี 4 จอบ ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2526 มีสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตร 4 สถาบันคือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี เชื่อมความสามัคคี รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร รวมไปถึงการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แต่ละสถาบันที่ตั้งอยู่ให้แก่เพื่อนต่างสถาบัน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและการเกษตรที่ยั่งยืน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบูรณาการการเรียนการสอน จึงเป็นที่มาของงาน “กีฬา 4 จอบ” ซึ่งสถาบันแรกที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ คือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีการสับเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพเรื่อยมา
รูปแบบของกิจกรรมเป็นการแข่งขันกีฬาสากล กีฬาทักษะทางการเกษตร และกีฬาพื้นบ้าน เพื่อสร้างความสนุกสนานหลากหลายรูปแบบ ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบเพื่อความเหมาะสมโดยการลดกีฬาบางประเภทลง และได้มีการเพิ่มกีฬาทักษะทางการเกษตรให้มากขึ้นแทน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการจัดกีฬาทักษะทางการเกษตรอาทิเช่น การแข่งขันจัดดอกไม้ การแข่งขันขยายพันธุ์พืช ติดตา – ต่อกิ่ง – ทาบกิ่ง การแข่งขันวินิจฉัยโรคพืช การแข่งขันรีดเต้านมเทียม การแข่งการตอนสุกร การแข่งขันทักษะการคล้องโคและล้มโค การแข่งขันบรรจุลูกพันธุ์ปลา การแข่งขันทักษะการทอดแห เป็นต้น ซึ่งเป็นการนำเอาความรู้ทางด้านการเกษตรที่ได้ศึกษามาปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังมีการเสริมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และจัดกิจกรรมทัศนศึกษาดูงานในสถาบันที่เป็นเจ้าภาพ ซึ่งนอกจากจะสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แก่เพื่อนพ้องทางการเกษตรด้วยกันเองเท่านั้น ยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ไปยังสังคมอีกด้วย ดังนั้นต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “กีฬา 4 จอบ” เป็น “ประเพณี 4 จอบ” เนื่องจากไม่เน้นการแข่งขันกีฬาเพื่อการแพ้ หรือชนะ ความหมายของคำว่า “ 4 จอบ ” ในครั้งแรกนั้นหมายถึง คณะเกษตร 4 สถาบันที่ร่วมกันก่อตั้ง แต่ต่อมาได้มีการประชุมตกลงให้คำว่า 4 จอบ นั้นหมายถึง 4 ภูมิภาคของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เพื่อจะได้หมายรวมถึงการจัดงานร่วมกันของนิสิตนักศึกษาจากสถาบันเกษตรทั่วประเทศไทยอย่างแท้จริง ซึ่งต่อมาสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตรได้มาเข้าร่วมการจัดกิจกรรม งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ เพิ่มมากขึ้น ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีภาคีรวมแล้ว 12 สถาบัน งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ได้กำหนดให้จัดงานขึ้นทุกปี โดยแต่ละสถาบันเป็นเจ้าภาพหมุนเวียนกันเรื่อยมา
งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 39 คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดเพชรบุรี รับเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน ซึ่งมีกำหนดการระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2567 โดยมีการแข่งขันทักษะทางการเกษตรและกีฬาสากล ดังนี้
- การแข่งขันทักษะทางการเกษตร จำนวน จำนวน 21 ทักษะ ได้แก่ 1) การจัดสวนถาด 2) การกรอกวัสดุปลูกใส่ถุง 3) การขยายพันธุ์พืช ติดตา-ต่อยอด-ทาบกิ่ง 4) การเข้าด้ามจอบเตรียมแปลง 5) การจำแนก คำนวณอัตราการใช้ และพ่นสารกำจัดวัชพืช 6) การเซทแมลง 7) การวินิจฉัยโรคพืช 8) การบรรจุพันธุ์ลูกปลา 9) การทอดแห 10) การตอนสุกร 11) การรีดเต้านมเทียม 12) การตัดแต่งซากสัตว์ปีก 13) การวิเคราะห์อาหารสัตว์ 14) การคล้องโคและล้มโค 15) การผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์เพื่อการส่งเสริมการเกษตร (Poster) 16) การพูดส่งเสริมทางการเกษตร 17) โครงงานทางการเกษตร 18) การประกวดโมเดลธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร 19) การตรวจวัดสมบัติดินภาคสนามและการใช้ข้อมูลดินเพื่อการจัดการดินแบบแม่นยำ 20) การตอบปัญหาทางการเกษตร 21) การตัดขวางเนื้อเยื่ออาการโรคพืช (cross-section) (กีฬาสาธิต)
- การแข่งขันกีฬาสากล จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ 1) ฟุตบอล 7 คน (ชาย) 2) วอลเลย์บอล (หญิง)
- การคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลเชิดชูเกียรติโครงการ “คนดีศรีเกษตร”
ดังนั้นคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการเข้าร่วมงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 39 ไว้ในแผนปฏิบัติราชการของคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ประจำปีงบประมาณ 2568 และส่งนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ จำนวน 11 คน เข้าร่วมโครงการดังกล่าว
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด 48  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 14 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล