โครงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมล้านนาปี๋ใหม่เมือง คณะผลิตกรรมการเกษตร 2567

วันที่เริ่มต้น 26/04/2567 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 26/05/2567 เวลา 0:00
สถานที่จัด คณะผลิตกรรมการเกษตร 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะผลิตกรรมการเกษตร สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
วัฒนธรรมของไทย เป็นวิถีชีวิตของคนไทยในสังคมไทย เป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาน และการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมไทยสามารถรู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกันในสังคมไทย
หนึ่งในวัฒนธรรมไทย คือ ประเพณีและพิธีทางศาสนาต่าง ๆ อันได้แก่ วิถีชีวิตที่ปฏิบัติในวันสำคัญต่าง ๆ โดยคณะผลิตกรรมการเกษตร ได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของวัฒนธรรม จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้บุคลากรในหน่วยงาน และนักศึกษาได้ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการสืบสานประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา คณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่

กิจกรรม 1) วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 บุคลากรและนักศึกษาจัดขบวนแห่เครื่องสักการะตามประเพณีล้านนา เพื่อนำไปร่วมพิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2567 ในโครงการสืบสานประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้

กิจกรรม 2) ส่งเสริมให้บุคลากรใส่เสื้อพื้นเมืองอนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนาไทย

กิจกรรม 3) วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567 คณะผลิตกรรมการเกษตร จัดกิจกรรม "สระเกล้าดำหัวผู้อาวุโส คณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2567" บริเวณอาคารกล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ หรืออาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินท์ ซึ่งเป็นกิจกรรมตามวิถีปฏิบัติของประเพณีปีใหม่เมืองของชาวล้านนาไทย เพื่อรวมใจบุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่าและบุคลากรอาวุโส ตลอดจนบุคคลภายนอกที่อยู่ในหน่วยงานพันธมิตรของคณะผลิตกรรมการเกษตร
โดยจะจัดให้มีการทำบุญตักบาตร ตามวิถีความเชื่อชาวล้านนาเพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต กิจกรรมแข่งขันลาบเมือง แกงขนุน ซึ่งถือเป็นการถ่ายถอดองค์ความรู้การทำอาหารเมือง จากนั้นจัดพิธีสระเกล้าดำหัวผู้อาวุโส คณะผลิตกรรมการเกษตร ซึ่ง "การดำหัว" ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้น หมายถึง การ"สระผม" แต่ในพิธีกรรมโดยเฉพาะในประเพณีปีใหม่เมืองของทุก ๆ ปี หมายถึงการชำระสะสางสิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้หมดไป ด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระ

พิธีกรรมดำหัวในประเพณีปี๋ใหม่เมืองล้านนา มี 3 กรณี คือ กรณี 1 ดำหัวตนเอง คือทำพิธีเสกน้ำส้มป่อยด้วยคำที่เป็นสิริมงคล เช่น "สัพพทุกขา สัพพภยา สัพพโรคาวินาสันตุ" แล้วใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะ กรณีที่ 2 ดำหัวผู้น้อย เช่น ภรรยา บุตร หลาน อันเป็นพิธีกรรมต่อเนื่องจากกรณีแรก คือ ใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะ ภรรยา บุตร หลาน หลังจากดำหัวตนเอง หรือการที่ตนเองรับน้ำส้มป่อย (ในกรณีที่สาม) มาลูบศีรษะตนเอง เสร็จแล้วสลัดใส่ศีรษะหรือลูบศีรษะผู้ที่มาดำหัวตนเอง กรณีที่ 3 ดำหัวผู้ใหญ่ อาจไปดำหัวด้วยตนเอง พาญาติสนิทมิตรสหายไปเป็นหมู่คณะ ดำหัวผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ เช่น ผู้อาวุโส บิดามารดา ครูบา อาจารย์ พระเถระ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น

เครื่องดำหัว จะมีสิ่งของต่าง ๆ นอกจากน้ำส้มป่อย พานข้าวตอกดอกไม้แล้ว ยังมีเครื่องอุปโภคบริโภค ที่นิยมกันส่วนใหญ่จะเป็นผ้า เช่น ผ้าขะม้า เสื้อ ผ้าถุง ผ้าเช็ดหน้า ส่วนเครื่องบริโภคมักจะเป็นพืชผลทางการเกษตร เช่น ฟัก แฟง แตงโม กระเทียม หัวหอม มะเขือ สิ่งของประเภทผลไม้ตามฤดูกาล เช่น มะปราง มะม่วง มะพร้าว เป็นต้น เครื่องดำหัวต่าง ๆ ดังกล่าวนิยมใส่รวมกันใน "ชองอ้อย" (อ่าน-จองอ้อย) ปัจจุบันนิยมใส่ตระกร้าสานสวยงาม ซึ่งบุคลากรและนักศึกษาจะได้มีส่วนร่วมในการรักษาจารีต วิธีปฏิบัติตามวิถีวัฒนธรรมล้านนาไทยให้คงอยู่สืบไป
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 3  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 120 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   135 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
นักศึกษาและบุคลากร คณะผลิตกรรมการเกษตร เข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมของไทย "งานดำหัวผู้อาวุโส เนื่องในโอกาส งานประเพณีปีใหม่เมืองเชียงใหม่" เป็นวิถีชีวิตของคนไทยในสังคมไทย เป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาน และการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมไทยสามารถรู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกันในสังคมไทย หนึ่งในวัฒนธรรมไทย คือ ประเพณีและพิธีทางศาสนาต่าง ๆ อันได้แก่ วิถีชีวิตที่ปฏิบัติในวันสำคัญต่าง ๆ โดยคณะผลิตกรรมการเกษตร ได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของวัฒนธรรม จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้บุคลากรในหน่วยงาน และนักศึกษาได้ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการสืบสานประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา คณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่

กิจกรรม 3) วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567 คณะผลิตกรรมการเกษตร จัดกิจกรรม "สระเกล้าดำหัวผู้อาวุโส คณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2567" บริเวณอาคารกล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ หรืออาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินท์ ซึ่งเป็นกิจกรรมตามวิถีปฏิบัติของประเพณีปีใหม่เมืองของชาวล้านนาไทย เพื่อรวมใจบุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่าและบุคลากรอาวุโส ตลอดจนบุคคลภายนอกที่อยู่ในหน่วยงานพันธมิตรของคณะผลิตกรรมการเกษตร
โดยจะจัดให้มีการทำบุญตักบาตร ตามวิถีความเชื่อชาวล้านนาเพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต กิจกรรมแข่งขันลาบเมือง แกงขนุน ซึ่งถือเป็นการถ่ายถอดองค์ความรู้การทำอาหารเมือง จากนั้นจัดพิธีสระเกล้าดำหัวผู้อาวุโส คณะผลิตกรรมการเกษตร ซึ่ง "การดำหัว" ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้น หมายถึง การ"สระผม" แต่ในพิธีกรรมโดยเฉพาะในประเพณีปีใหม่เมืองของทุก ๆ ปี หมายถึงการชำระสะสางสิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้หมดไป ด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระ

พิธีกรรมดำหัวในประเพณีปี๋ใหม่เมืองล้านนา มี 3 กรณี คือ กรณี 1 ดำหัวตนเอง คือทำพิธีเสกน้ำส้มป่อยด้วยคำที่เป็นสิริมงคล เช่น "สัพพทุกขา สัพพภยา สัพพโรคาวินาสันตุ" แล้วใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะ กรณีที่ 2 ดำหัวผู้น้อย เช่น ภรรยา บุตร หลาน อันเป็นพิธีกรรมต่อเนื่องจากกรณีแรก คือ ใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะ ภรรยา บุตร หลาน หลังจากดำหัวตนเอง หรือการที่ตนเองรับน้ำส้มป่อย (ในกรณีที่สาม) มาลูบศีรษะตนเอง เสร็จแล้วสลัดใส่ศีรษะหรือลูบศีรษะผู้ที่มาดำหัวตนเอง กรณีที่ 3 ดำหัวผู้ใหญ่ อาจไปดำหัวด้วยตนเอง พาญาติสนิทมิตรสหายไปเป็นหมู่คณะ ดำหัวผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ เช่น ผู้อาวุโส บิดามารดา ครูบา อาจารย์ พระเถระ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น

เครื่องดำหัว จะมีสิ่งของต่าง ๆ นอกจากน้ำส้มป่อย พานข้าวตอกดอกไม้แล้ว ยังมีเครื่องอุปโภคบริโภค ที่นิยมกันส่วนใหญ่จะเป็นผ้า เช่น ผ้าขะม้า เสื้อ ผ้าถุง ผ้าเช็ดหน้า ส่วนเครื่องบริโภคมักจะเป็นพืชผลทางการเกษตร เช่น ฟัก แฟง แตงโม กระเทียม หัวหอม มะเขือ สิ่งของประเภทผลไม้ตามฤดูกาล เช่น มะปราง มะม่วง มะพร้าว เป็นต้น เครื่องดำหัวต่าง ๆ ดังกล่าวนิยมใส่รวมกันใน "ชองอ้อย" (อ่าน-จองอ้อย) ปัจจุบันนิยมใส่ตระกร้าสานสวยงาม ซึ่งบุคลากรและนักศึกษาจะได้มีส่วนร่วมในการรักษาจารีต วิธีปฏิบัติตามวิถีวัฒนธรรมล้านนาไทยให้คงอยู่สืบไป
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล