โครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนบนฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้วยนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน กิจกรรมการเสวนาและการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมการบริการด้านเกษตรและอาหารสำหรับผู้ประกอบการชุมชน (RSI-02-01-(01-08))

วันที่เริ่มต้น 14/07/2561 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 15/07/2561 เวลา 0:00
สถานที่จัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  

มรดกภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่น (Gastronomic Heritage) คือ ทุนทางมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งนี้ เป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชนสร้างขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความภูมิใจในตัวตนและความรู้สึกสืบเนื่องก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ คณะพัฒนาการท่องเที่ยวตระหนักถึงความสำคัญและการตอบสนองต่อนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตกำลังคนที่ตอบสนองความต้องการ 10 อุตสาหกรรมโดยมุ่งเน้นไปที่นโยบายข้อที่ (3) การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และ(5) การแปรรูปอาหาร ซึ่งอยู่ภายใต้บริบทความเชี่ยวชาญของคณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อันจะนำไปสู่เป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนชาวไทย มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน นอกจากนี้ ประเทศไทยที่มีรากฐานทางเศรษฐกิจมาจากการเกษตร กอรปกับความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะพัฒนาการท่องเที่ยวจึงเห็นว่าการจะตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนนั้น จะต้องมีหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร (สร้างอาหาร) การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ (สร้างอาชีพ) และการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติทรัพยากร (สร้างจิตอนุรักษ์) คณะพัฒนาการท่องเที่ยวจึงเห็นว่า โครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนบนฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้วยนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะสามารถผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบายที่กล่าวมาได้อย่างครบวงจรทั้งมิติของการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากไปจนถึงการต่อยอดการพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าสูงให้กับผลิตผลเกษตรอินทรีย์ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลในกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่มของโครงการ ซึ่งถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนมากและอยู่ใกล้ชิดกับภาคการเกษตรรวมถึงเป็นผู้ได้รับการศึกษามาแล้วในระดับหนึ่ง ทำให้มีโอกาสในการเข้าถึงและประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง หากได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด 12  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 5 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   4 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล