โครงการแม่โจ้ : แป๋งบ้านสร้างเมือง ประมงแม่โจ้แป๋งบ้าน ตอนรักษ์คูเมืองเชียงใหม่ 2558

วันที่เริ่มต้น 06/03/2558 เวลา 9:00 วันที่สิ้นสุด 06/03/2558 เวลา 16:00
สถานที่จัด คูเมืองเชียงใหม่ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
อภินันท์ สุวรรณรักษ์ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
น้ำเพชร ประกอบศิลป์ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ประเสริฐ ประสงค์ผล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
เทพพิทักษ์ บุญทา คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
กิจกรรมรักษ์คูเมืองเป็นกิจกรรมที่อยู่ภายใต้โครงการแม่โจ้แป๋งบ้านสร้างเมือง:ประมงแม่โจ้แป๋งบ้าน จัดทำขึ้น
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทำกิจกรรมของนักศึกษาภายนอกห้องเรียน เป็นการพัฒนาทักษะทางวิชาการที่นักศึกษา
ได้รับในห้องเรียนแล้วนำมาปฏิบัติจริงกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อีกทั้งเป็น
กิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาได้เห็นถึงความสำคัญของแหล่งน้ำและทรัพยากรทางน้ำของชุมชน รวมถึงการปลูก
จิตสำนึกให้นักศึกษามีความอดทน ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ซึ่งควรเป็นคุณลักษณะของบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นที่
พึงประสงค์แล้วยังช่วยทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองของเชียงใหม่ได้เป็นอย่างดี เนื่องปัจจุบันใช้ประโยชน์ของ
คูเมืองเชียงใหม่นอกจากเป็นทัศนียภาพเป็นหลักและยังเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ในเทศกาลปี๋ใหม่เมือง ซึ่งเป็นเทศกาลที่
มีความสำคัญกับชาวล้านนาเป็นอย่างมาก
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด 6  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม ไม่ระบุ คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   42 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ลักษณะการปฏิบัติงานของนักศึกษาที่เข้าร่วมในโครงการนี้ทางผู้รับผิดชอบกิจกรรม
ได้ชี้แจงถึงความสำคัญของปัญหาและความรับผิดชอบของคณะฯ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพน้ำและ
สิ่งมีชีวิตในน้ำทั้งหมด การทำงานเพื่อตอบโจทย์ที่พัฒนาเพื่อชุมชนโดยตรงจึงมีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานต้อง
เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมเพื่อสามารถวางแผน ปฏิบัติงานและรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น
ความรับผิดชอบในการเรียนและการทำกิจกรรมต่างๆ นักศึกษาจึงต้องริเริ่มและพัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาการ
และการพัฒนาลักษณะอื่นๆ ของตนเองได้โดยมีการแนะนำบ้างเล็กน้อย สามารถที่จะไว้วางใจให้ทำงานได้อย่าง
อิสระและทำงานที่มอบหมายให้แล้วเสร็จ โดยอาศัยการแนะนำปรึกษาแต่เพียงเล็กน้อย สามารถทำงานกลุ่มได้
อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจุดมุ่งหมายร่วมกัน
จากปฏิบัติงานของนักศึกษาในกิจกรรมที่ผ่านมาโดยการควบคุมและดูแลจากผู้รับผิดชอบ
กิจกรรมพบว่านักศึกษาสามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างซึ่งส่วนหนึ่งอาจมากจากกิจกรรมต่างๆ ที่ผิด
ชอบเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในรายวิชาที่นักศึกษาได้รับมอบหมายในการเรียน และบางส่วนได้รับมอบหมายจากอาจารย์
ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษในการทดลองปฏิบัติงานเพื่อกำหนดหัวข้อในการทำปัญหาพิเศษ ซึ่งกิจกรรมหลักๆ ของโครงการ
นี้เป็นการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเบื้องต้น การเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนและสิ่งมีชีวิตในน้ำ รวมถึงการสำรวจสิ่งมีชีวิตต่างๆ
ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเพื่อเป็นข้อมูลในการติดตามและตรวจสอบคุณภาพน้ำเพื่อให้สามารถจัดการคุณภาพน้ำในช่วง
ระยะเวลาต่างๆ ให้เหมาะสม
การปฏิบัติงานในการตรวจสำรวจแหล่งน้ำ การเก็บตัวอย่างวิเคราะห์คุณภาพน้ำ และการ
เก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในน้ำ บริเวณรอบคูเมืองเชียงใหม่และสวนบวกหาดเป็นการปฏิบัติงานนอกเวลาเรียนของนักศึกษา
และการนำคุณภาพน้ำและสิ่งมีชีวิตในน้ำมาวิเคราะห์และแยกตัวอย่างในห้องปฏิบัติการต้องอาศัยเวลาในการ
ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยาวนานทำให้นักศึกษาต้องแบ่งเวลาในการเรียนปกติ และการปฏิบัติงานต่างๆ เหล่านี้ให้
เหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบต่อภาระงานรับผิดชอบอื่นๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความอดทนและภาวะความเป็นผู้นำที่ต้อง
นำกลุ่มผู้ปฏิบัติงานทำงานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี
การวางแผนดำเนินงาน ได้กำหนดบริเวณการติดตามและตรวจสอบคุณภาพน้ำไว้ 2 จุด คือ บริเวณ
โดยรอบคูเมืองเชียงใหม่ และสวนบวกหาด เนื่องจากบ่อน้ำต่างๆ ในสวนบวกหาดได้รับน้ำจากคูเมืองเป็นหลักทำให้
แหล่งน้ำสองแหล่งมีความเชื่อมโยงในเรื่องคุณภาพน้ำและพบว่าสวนบวกหาดมีประชาชนนำปลามาปล่อยเป็นจำนวน
มากและมีแนวโน้มที่หนาแน่นขึ้นในทุกๆ ปี เพราะปลาที่ปล่อยมีการเจริญเติบโตและการแพร่ขยายพันธุ์ ในเบื้องต้นของ
การดำเนินงานมีการวางแผนงานระหว่างเทศบาลนครเชียงใหม่และทีมงานจากคณะเทคโนโลยีการประมงเมื่อวันที่ 6
มีนาคม 2558 และได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำและสำรวจสิ่งมีชีวิตในน้ำเป็นครั้งแรก
จากการสำรวจติดตามคุณภาพน้ำในวันที่ 6 มีนาคม และวันที่ 3 เมษายน 2558 ได้มีการรายงานผล
ในงานแถลงข่าวความพร้อมเล่นน้ำสงกรานต์ในแหล่งคูเมืองเชียงใหม่ ปี 2558 เมื่อวันพุธที่ 8 เมษายน 2558 บริเวณริม
แหล่งน้ำคูเมืองเชียงใหม่แจ่งศรีภูมิ ถนนมณีนพรัตน์ เวลา 9.30-10.30 น.
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล