Blog : สารอันตรายในเครื่องสำอาง

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : สารอันตรายในเครื่องสำอาง
ปัจจุบันการตรวจสอบและทราบถึงสารอันตรายที่อยู่ในเครื่องสำอาง อันเป็นสิ่งไม่ควรปรากฏมีหลายชนิดที่ส่งผลต่อร่างกาย ผิวหนังของผู้บริโภค เหล่านั้นอาจสรุปได้อย่างน้อย 10 ชนิด เช่น สารปรอท (Mercury) สาร PVP (Polyvinyl Pyrrolidone) สารตะกั่ว (Lead) สารเฮกซ่าคลอโรฟีน (Hexachlorophene) สารไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) สารโซเดียมลอรัลซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulphate) กรดวิตามินเอ (Retinoic Acid) สารมิเนอรัล ทัลค์ (Mineral Talc) สารฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) สารสเตียรอยด์ (Steroids) เป็นต้น แต่ละชนิดมีผลกระทบต่อผู้บริโภคแตกต่างกันไป ดังรายละเอียดต่อไปนี้ [1] 1. สารปรอท มักพบในเครื่องสำอางที่ทำให้สีผิวจาง ลดสิว ฝ้า กระ และจุดด่างดำ ที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นสารที่ทำให้เกิดอาการการแพ้ หรือระคายเคืองได้อย่างรุนแรง 2. สาร PVP มักพบในน้ำยาสเปรย์จัดแต่งทรงผม ทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน ผมร่วง เกิดการแพ้ 3. สารตะกั่ว เป็นวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง หากพบว่าผลิตภัณฑ์ใดมีสารตะกั่วเกินกว่านี้ จะเข้าข่ายเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย 4. สารเฮกซ่าคลอโรฟีน มักพบในแป้งและสบู่ อนุญาตให้ใช้เป็นสารกันเสียในเครื่องสำอางได้เฉพาะกรณีที่ใช้สารกันเสียชนิดอื่นไม่ได้ผล และใช้ได้ไม่เกิน 0.1% และห้ามใช้กับเครื่องสำอางที่สัมผัสกับเยื่อบุอ่อน เช่น ริมฝีปาก ผิวบริเวณดวงตา และผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กอ่อน เป็นต้น 5. สารไฮโดรควิโนน มักพบในครีมลอกฝ้า จะช่วยให้ผิวหน้าขาวขึ้นในระยะแรกๆ แต่จะทำให้ผิวกลายเป็นด่างขาวผิดปกติในที่สุด ทำให้เกิดอาการแพ้ ระคายเคือง ผดผื่นขึ้น ผิวหน้าดำคล้ำขึ้นจนกลายเป็นฝ้าถาวรไม่สามารถรักษาได้ 6. สารโซเดียมลอรัลซัลเฟต เป็นสารทำความสะอาด มักพบในแชมพู สบู่ หรือยาสีฟัน แต่อาจส่งผลให้เกิดอาการแพ้ ผิวหนังบางลง 7. กรดวิตามินเอ มักพบในผลิตภัณฑ์รักษาผิวหน้า ทำให้ผิวหน้าแสบร้อน อักเสบ ใช้แล้วผิวหน้าลอก ระคายเคือง 8. สารมิเนอรัล ทัลค์ มักพบในแป้งฝุ่น ซึ่งเป็นส่วนผสมอยู่ถึง 90% รวมทั้ง อายแชโดว์ แป้งเด็กและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นเมื่อสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดโรค ปอด มะเร็งปอด และมะเร็งต่อมหมวกไตชนิดหายาก และมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งรังไข่ถึง 30 – 60 % ในกลุ่มของผู้หญิงที่ใช้แป้งฝุ่นทาตัวที่ผสม Mineral Talc เป็นประจำ 9. สารฟอร์มัลดีไฮด์ มักพบเป็นส่วนผสมของน้ำยาทาเล็บ สบู่ และเครื่องสำอางทั่วไป อาจพบเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง และมักทำให้ผิวหนังแสบร้อน และผิวรอบดวงตาระคายเคือง 10. สารสเตียรอยด์ สเตียรอยด์มีประโยชน์หากใช้ในจำนวนที่เหมาะสมตามที่แพทย์กำหนด สามารถใช้รักษาโรคผิวหนัง โรคภูมิแพ้ได้ แต่ถ้าใช้ไม่ระวังก็อาจทำให้เกิดผลค้างเคียงได้ เช่น เลือดออกในกระเพาอาหาร ยับยั้งการเติบโตในเด็ก อาจทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ รวมทั้งไปกดภูมิคุ้มกันโรค จนทำให้ร่างกายอ่อนแอ อ้างอิง 1. 10 สารอันตรายในเครื่องสำอางhttps://wrinkleremoval.wordpress.com/2013/07/03/10-%E0%B8% เข้าถึง 7 มกราคม 2561
สารอันตรายในเครื่องสำอาง »
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : เรื่องทั่วไป
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน  วันที่เขียน  แก้ไขล่าสุดเมื่อ

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้