ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICT กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่า Knowledge Divide ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา ประเทศไทยเร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน รายวิชาการวัดและประเมินผลทางการศึกษา ในระดับ ปริญญาตรี และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพครู ซึ่งโดยปกติหลังจากเรียนในแต่ละครั้งจะมีการให้ผู้เรียนทาการทดสอบเพื่อวัดความเข้าใจบทเรียนจากการเรียนโดยทาในกระดาษ แล้วก็จะมีการเฉลยเพื่อให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจในบทเรียนของตนเอง ซึ่งเป็นการเรียนการสอนแบบเดิมๆ ไม่เป็นที่น่าสนใจสำหรับนักศึกษาในปัจจุบัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับปรุงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน
ในการบรรยายได้ยกตัวอย่าง เว็บแอปพลิเคชัน Kahoot ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยการใช้คำถามเป็นหลัก โดยให้ผู้เรียนตอบคำถามด้วยเวลาที่จำกัด ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ และยังมีการเฉลยคำตอบ พร้อมกับแสดงรายชื่อ ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 5อันดับแรก เป็น Feedback เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบคำถาม และนี่คือจุดที่สร้างความสนุกสนานให้กับผู้เรียน Kahoot จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
ประโยชน์ของการนำ Kahoot Application ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน หลังจากได้รู้จักแอพลิเคชั่น Kahoot และนามาใช้ประกอบการเรียนการสอนทำให้นักศึกษามีความสนใจในการเรียนการสอนมากขึ้น Kahoot ประกอบไปด้วย การสร้างคาถามที่น่าสนใจ โดยนามาใช้กาหนดคาถามให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม และนำไปใช้ในการสอบ Pretest เพื่อทดสอบความรู้พื้นฐานก่อนเรียนในหัวข้อนั้น รูปแบบของตัวเลือกเป็นสีและสัญลักษณ์ เป็นตัวช่วยทาให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นการฝึกทักษะของการจดจำ และการใช้สมองสั่งการเชื่อมโยงความรู้กับสีและสัญลักษณ์ของตัวเลือกแต่ละตัว เพื่อเลือกคาตอบให้ถูกต้อง ระบบการจับเวลาของ Kahoot ในแต่ละข้อคำถาม ทำให้ผู้เรียนทาให้ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นในการคิดและตอบคำถามให้ถูกต้อง เพราะคนที่ตอบเร็วที่สุดจะได้คะแนนมากที่สุด ผู้เรียนรู้สึกสนุกและตื่นเต้น รอคอยคำถามแต่ละข้อ เมื่อคาถามปรากฎผู้เรียนจะรีบคิดและตัดสินใจ เป็นการฝึกทักษะทางปัญญาฝึกคิด ฝึกตัดสินใจ การรวมคะแนนเป็นรายข้อทำให้ผู้เรียนเห็นลำดับคะแนนของตนเอง และมีความพยายามที่จะเร่งทำคะแนนให้สูงขึ้นในข้อถัดไป ฝึกให้เกิดการวางแผนและเร่งลงมือทาให้สำเร็จ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำแอพพลิเคชั่น Kahoot มาใช้งาน ด้านผู้สอน สามารถนา Kahoot มาใช้ประกอบการสอน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน สามารถประเมินความรู้พื้นฐานของผู้เรียนได้ และนาผลการประเมินมาออกแบบการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน และใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินตนเองเกี่ยวกับการเทคนิคการสอนให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ ด้านผู้เรียน มีความตื่นตัวในการเรียนมากขึ้น เข้าใจเนื้อหาการเรียนรู้ได้มากขึ้น ไม่เบื่อหน่ายในระหว่างเรียน และสามารถใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนรู้ให้เป็นประโยชน์
ข้าพเจ้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วราภรณ์ แสงทอง ได้นำแอพพลิเคชั่น Kahoot มาใช้ทดสอบความรู้หลังเรียนกับนักศึกษาที่เรียนวิชา พันธุศาสตร์เบื้องต้น (พธ 340) ในภาคเรียนที่ 1/2562 ซึ่งนักศึกษามีพฤติกรรมให้ความสนใจและตื่นเต้นสนุกสนานกับการตอบคำถามในชั่วโมงนั้นมาก ตามภาพที่ 1



ภาพที่ 1 ประกอบการใช้แอพพลิเคชั่น Kahoot มาใช้ทดสอบความรู้หลังเรียนกับนักศึกษาที่เรียนวิชา พันธุศาสตร์เบื้องต้น (พธ 340) ในภาคเรียนที่ 1/2562