เทคนิคการนำเสนอผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่เขียน 6/12/2565 16:14:29     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 11/6/2566 5:35:54
เปิดอ่าน: 853 ครั้ง

การนำเสนองานเชิงวิชาการ หมายถึง การนำเสนอเนื้อหาสาระให้แก่บุคคลเป้าหมายให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และยอมรับในสาระที่นำเสนอตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ และอาจมีการใช้สื่อต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้เกิดความชัดเจน และน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

การนำเสนอผลงานทางวิชาการ

            การนำเสนองานเชิงวิชาการ หมายถึง การนำเสนอเนื้อหาสาระให้แก่บุคคลเป้าหมายให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และยอมรับในสาระที่นำเสนอตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ และอาจมีการใช้สื่อต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้เกิดความชัดเจน และน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

1. การสร้างสรรค์ผลงานเพื่อการนำเสนอประกอบด้วย

     1.โจทย์/หัวข้อการ วิจัย

     2.ค้นคว้า รวบรวม แนวคิดทฤษฎีและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

     3.กำหนดขอบเขตของ ปัญหาและ วัตถุประสงค์

    4.ทดลอง วิจัย พัฒนา เพื่อตอบสมมติฐาน ของการวิจัย

   5.รายงานการวิจัย  ผลสัมฤทธิ์ การวิจัย

2. การเขียนรายงานเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการ

   1.ใช้ภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่ายไม่เป็นภาษาพูด

   2.หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาต่างประเทศหากมีภาษาไทยใช้อยู่แล้ว

   3.หลีกเลี่ยงการใช้สรรพนามบุรุษ เช่น ฉัน เธอ เขา ท่าน

   4.การใช้สรรพนามที่ 1 ควรใช้ผู้วิจัย

  5.การเขียนควรถูกต้องตามหลักวิชาการ ต้องมีหลักฐาน เอกสารอ้างอิง

3. เทคนิคการเตรียมตัวเพื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการ

     1.การเตรียมตัว การฝึกซ้อมและการนำเสนอผลงาน การเตรียมตัวและหัวข้อกลยุทธการนำเสนอ

          เป็นใคร มาจากไหน นำเสนออะไร  บทนำ ทำไมทำงานนี้  ผลกระทบหากไม่ทำ มีวิธีการทำอีกหรือไม่ ทำไมถึงใช้วิธีนี้  วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์การพัฒนางาน  ขอบเขตการพัฒนางาน   วิธีดำเนินการผลการดำเนินงาน มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร แต่ละขั้นตอนทำอย่างไร  แตะละขั้นตอนใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสนใจ  และค้นพบอะไร การนำไปใช้ประโยชน์ ผลการทำงานจริง ข้อสรุปการทำงาน สรุปผลการทำงาน  ประโยชน์จากงานที่ทำ ข้อจำกัดและข้อควรระวัง

    2.การฝึกซ้อม ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ  มุมมองผู้ร่วมงานและเพื่อน จับเวลานำเสนอ

    3.การนำเสนอ พูดด้วยน้ำเสียงชัดเจน ไม่เร็วหรือช้าเกินไป ฟังคำถามให้จบ ทำความเข้าใจกับคำถาม

 

สิ่งควรรู้ก่อนนำเสนอผลงาน

     ผู้นำเสนอจะต้องทราบก่อนว่าจะต้องไปนำเสนอในงานประเภทใด เป็นงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หรือเป็นงานประชุมสัมมนาเฉพาะกลุ่มในมหาวิทยาลัย จุดประสงค์หรือเป้าหมายของงานคืออะไร เพื่อที่จะคาดเดาระดับความรู้และความเชี่ยวชาญของกลุ่มผู้ฟัง หากผู้ฟังมีความหลากหลาย ผู้นำเสนอจะต้องปรับเนื้อหาและวิธีการบรรยายให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะศัพท์เฉพาะที่ต้องอธิบายให้ผู้ฟังทราบอย่างชัดเจน  สอบถามเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการบรรยาย ระยะเวลาของการนำเสนอ ชนิดของโปรแกรมที่ใช้นำเสนอ ในกรณีที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัว ให้ตรวจสอบเวอร์ชันของ PowerPoint หรือ Keynote ที่ผู้จัดงานเตรียมไว้ให้ตรวจสอบสถานที่นำเสนอ ขนาดของหน้าจอ จำนวนผู้ชมโดยประมาณ และอื่นๆ เช่น การลงทะเบียนเข้าร่วมงาน กำหนดการส่งบทคัดย่อ ข้อมูลการเดินทางและที่พัก การขอวีซ่า เป็นต้น

 

คำถามสำคัญก่อนเริ่มทำสื่อ

  •  ทำไมต้องนำเสนอผลงานนี้? ผลงานนี้ดีอย่างไร มีประโยชน์ต่อผู้ที่จะนำไปศึกษาต่ออย่างไร
  •  อะไรคือสาระสำคัญที่ผู้ฟังจะได้รับจากการนำเสนอครั้งนี้? ได้ความรู้ใหม่ หรือช่วยเพิ่มแนวคิดอะไรกับผลงานของผู้อื่น
  • จุดประสงค์ของการนำเสนอคืออะไร? ต้องการให้ผู้ฟังเห็นอะไรบ้าง สิ่งไหนจำเป็น สิ่งไหนไม่จำเป็น
  • ผู้นำเสนอมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่จะนำเสนอดีมากน้อยแค่ไหน? ความรู้พื้นฐาน ความเชื่อมโยงกับ การประยุกต์ใช้ในอนาคต

การเตรียมสื่อประกอบการบรรยาย

1.ภาพประกอบ

    ก่อนที่จะใส่ภาพใดๆ ลงไปในสื่อ ลองตรวจเช็คดูว่าภาพนั้นมีความละเอียด หรือมีขนาดใหญ่เพียงพอหรือไม่ กล่าวคือต้องมีความคมชัดและไม่แตกหรือเบลอเมื่อนำขึ้นแสดงบนจอภาพ ปัญหาที่พบบ่อยคือการคัดลอกภาพจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งส่วนใหญ่มีความละเอียดต่ำ เมื่อฉายขึ้นจอภาพเส้นจะแตกจนดูไม่น่าสนใจ การคัดลอกภาพจากอินเตอร์เน็ต หรือจากผลงานตีพิมพ์ควรมีการอ้างอิงเจ้าของผลงานทุกครั้ง โดยผู้นำเสนอสามารถทำการวาดใหม่และปรับแต่งให้แตกต่างจากต้นฉบับได้ แต่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของต้นฉบับด้วย เช่น การภาพแผนที่ ภาพลำดับชั้นหิน ภาพแนวคิด เป็นต้น

2.สี

      โดยทั่วไปการนำเสนอในห้องประชุมจะเป็นการฉายภาพไปยังจอรับภาพแล้วสะท้อนกลับมายังผู้ชม ซึ่งสายตามนุษย์จะตอบสนองต่อแสงสว่างได้ดี ดังนั้นควรให้สิ่งที่จะเน้นในสไลด์ เช่น แผนที่ รูปภาพ เส้นกราฟ หรือตัวหนังสือ มีความโดดเด่นมากกว่าสีของพื้นหลัง สีพื้นหลังที่สว่างจ้ามากเกินไปจะทำให้เกิดแสงสะท้อนมากรบกวนสายตาและลดความโดดเด่นของรายละเอียดหลักได้ โดยเฉพาะการนำเสนอในห้องบรรยายที่มีแสงน้อย นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงสีพื้นหลังและสีตัวหนังสือที่มีความใกล้เคียงกัน ตัวหนังสือสีเหลืองมักไม่ค่อยโดดเด่น สีที่ใช้แสดงชนิดหินยุคต่างๆ ควรสามารถแยกออกจากกันได้ง่าย และให้ใช้สีเดียวกันตลอดการนำเสนอ

3. ตัวหนังสือ

      โดยทั่วไปคนผู้ฟังจะอ่านมากกว่าฟัง ดังนั้นตัวหนังสือจึงมีความสำคัญ ในการนำเสนอควรใช้แบบอักษรเดียวกันทั้งหมดตลอดการนำเสนอหรือมากไม่เกินสองแบบ เพื่อให้อ่านได้อย่างสบายตา แบบอักษรควรเป็นแบบทางการที่ผู้ชมทุกคนคุ้นเคย ตัวหนังสือทุกตัวควรมีขนาดใหญ่พอที่สามารถอ่านได้จากที่นั่งหลังห้องในหลายๆ กรณีมักพบการวางตัวหนังสือทับเส้นในแผนที่หรือรูปภาพ ซึ่งจะทำให้ภาพดูรกและอ่านยากมาก หากจำเป็นปัญหานี้หลีกเลี่ยงได้โดยการเพิ่มสีพื้นหลังให้ตัวหนังสือ หรือใส่เงา สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือการวางตัวหนังสือในแนบราบ หรือเอียงเล็กน้อย ไม่ควรวางตัวหนังสือในแนวตั้ง โดยเฉพาะคำอธิบายแกนตั้งในกราฟหรือในแผนที่ ยกเว้นจำเป็นจริงๆ

4. องค์ประกอบ

       ภาพและตัวหนังสือควรถูกจัดวางอย่างลงตัวตามความสำคัญ สิ่งที่เน้นควรจะเป็นสิ่งแรกที่ลืมตามาเห็นสไลด์นี้ ควรใช้พื้นที่บนสไลด์ให้เต็มที่ด้วยการขยายภาพให้ใหญ่ที่สุด ภาพหรือแผนที่ที่ดีควรมีการบอกชื่อ ตำแหน่ง ทิศทาง มาตราส่วน และแหล่งอ้างอิง (ถ้ามี) ให้สังเกตขนาดของลูกศรทิศเหนือและแถบมาตราส่วนใต้แผนที่ว่าดูใหญ่เกินไปหรือไม่ โดยปกติทิศเหนือควรอยู่ด้านบนและมาตราส่วนอยู่ด้านล่าง มาตราส่วนควรเป็นเลขที่ลงตัว เช่น 500 เมตร 1 กิโลเมตร 10 กิโลเมตร คนส่วนใหญ่ถนัดในการอ่านจากซ้ายไปขวา ดังนั้นควรจัดวางข้อความบรรยายทางด้านขวาของภาพประกอบที่เป็นแนวตั้ง ควรมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบด้วยทุกครั้ง

5.การจัดลำดับ

      การนำเสนอเปรียบเสมือนการเล่าเรื่องอย่างมีจุดประสงค์ ควรวางลำดับขั้นตอนการนำเสนอให้ต่อเนื่อง ไม่ข้ามไปข้ามมา ในระหว่างการนำเสนอหากอ้างถึงสิ่งใด สไลด์ถัดมาควรจะเป็นสิ่งนั้น เช่น แสดงตำแหน่งภาคตัดขวางในแผนที่ก่อนแสดงภาคตัดขวางในสไลด์ถัดมา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังโยงความคิดระหว่างสไลด์ได้และไม่หลงทาง การทำแอนิเมชันก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยในการเล่าเรื่อง แต่อย่าให้มีเยอะจนเกินไป อย่างไรก็ตามการลำดับขั้นตอนเนื้อหานั้นแตกต่างกันไปตามรูปแบบของลักษณะของผลงานและความเหมาะสม

 6. ปริมาณเนื้อหา

       ในสไลด์หนึ่งๆ ไม่ควรมีตัวหนังสือหรือรูปภาพมากเกินไป อาจใช้สัญลักษณ์ช่วยแยกเป็นห้วข้อย่อยๆ แต่ไม่ควรมีเกิน 5 หัวข้อในหนึ่งสไลด์ ควรตรวจสอบเวลาในการนำเสนอและจำนวนสไลด์ โดยที่มีเวลาให้ผู้ฟังได้เห็นสไลด์อย่างเหมาะสม ในการนำเสนอแต่ละครั้ง ผู้ฟังจะฟังเพียงบางส่วนของเวลาที่นำเสนอ ดังนั้นในสไลด์ที่มีภาพประกอบควรพยายามทำให้ภาพนั้นช่วยบอกเรื่องราวในตัวมันเอง กล่าวคือผู้ฟังต้องสามารถเข้าใจสิ่งที่อยู่บนสไลด์ได้ แม้จะไม่ฟังสิ่งที่ผู้นำเสนอพูด ซึ่งภาพที่แสดงในสไลด์ต้องกระชับและครบถ้วน อย่าลืมว่าภาพแผนที่ต้องมีทิศทาง มาตราส่วน และคำอธิบาย คุณภาพของภาพประกอบและข้อความที่กระชับจะช่วยให้ผู้ฟังมีสมาธิตลอดการนำเสนอ

 7. การอ้างอิงรูปภาพหรือบทความของผู้อื่น

      ในกรณีที่มีการนำรูปภาพ บทความ หรือแม้กระทั่งบทสนทนาของผู้อื่นมาใช้อ้างอิงในการนำเสนองานจะต้องมีการใส่ชื่อเจ้าของผลงานและที่มาไว้ใกล้ๆกับบริเวณรูปภาพหรือบทความนั้นๆทุกครั้ง เช่น  Wenk et al. (2014) Geophysics หากเป็นรูปภาพที่นำมาจากเว็บไซต์ก็ต้องมี  URL ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังรูปภาพนั้นได้ นอกจากนี้การจัดขนาดตัวอักษรและรูปแบบการอ้างอิงควรทำให้เหมือนกันทุกหน้าสไลด์

การนำเสนอ

      พูดด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจน ไม่ควรพูดเร็วหรือช้าจนเกินไป และควรทำการซักซ้อมการนำเสนอก่อนการนำเสนอจริง พยายามสบตาผู้ฟังตลอดการนำเสนอ ถ้ามี Laser Pointer ให้ใช้เท่าที่จำเป็นและไม่ควรให้จุดเลเซอร์เคลื่อนที่ไปมามากเกินไปนอกจุดที่กำลังสนใจ พยายามอธิบายสไลด์ให้ชัดเจนก่อนว่า สไลด์นี้คืออะไร เป็นภาพอะไร ขนาดในภาพเท่าไหร่ ทิศทางเป็นอย่างไร ให้ดูเพื่ออะไร ก่อนที่จะพูดลงรายละเอียดต่อไป

ตอบคำถาม

     พยายามฟังคำถามให้จบก่อนตอบคำถาม คิดสักครู่แล้วจึงตอบคำถามด้วยคำตอบที่กระชับและตรงประเด็น หากไม่เข้่าใจคำถามควรถามผู้ถามให้แน่ใจ ในบางกรณีสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ถามได้ในกรณีที่ไม่ทราบคำตอบ

หลังการนำเสนอ

      กล่าวขอบคุณผู้ฟังทุกท่าน พร้อมทั้งจดคำถามและ Feedback ที่ได้จากผู้ฟังเพื่อนำไปพัฒนาการนำเสนอในครั้งต่อไป

 

อ้างอิง :เทคนิคการเตรียมตัวเพื่อนำเสนอผลงงานทางวิชาการ.ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ www.https://www.geo.sc.chula.ac.th/presentation-guidline/ (1 ธันวาคม 2565)

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1315
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
การประชุมวิชาการ » อบรมรู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.เชิดชัย มีเอียด พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติฯ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน เชิดชัย มีเอียด  วันที่เขียน 30/9/2565 13:58:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/6/2566 13:09:34   เปิดอ่าน 1110  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ระบบบริการของหน่วยงาน : การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) » การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)
การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) เป็นการให้บริการของงานอำนวยการ กองวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำเอกสารดังกล่าว ไปใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าไปต่างประเท...
บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ระบบ ERP  ระบบบริการของหน่วยงาน  ลดขั้นตอนการดำเนินการ  หนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)  อำนวยความสะดวก     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 14/9/2564 15:40:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 15:52:26   เปิดอ่าน 1599  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
งานวิจัยสถาบัน » ผลงานวิจัยเรื่อง "ความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่"
การวิจัยเรื่อง ความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความพร้อมในกา...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน ภัคสุณีย์ ดวงงา  วันที่เขียน 5/11/2562 16:11:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/6/2566 12:53:28   เปิดอ่าน 3221  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการ » การเข้าร่วมประชุมวิชาการ ICAS2018
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ จากการเข้าอบรม สัมมนา หรือประชุมวิชาการ ข้าพเจ้า นายเชิดชัย มีเอียด ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดสาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอนำเสนอรายงานสรุ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน เชิดชัย มีเอียด  วันที่เขียน 7/10/2562 15:53:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/6/2566 8:43:32   เปิดอ่าน 2014  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง