การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG นั้นประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 4 สาขาด้วยกัน ได้แก่ 1. เกษตรและอาหาร 2. สุขภาพและการแพทย์ 3. พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ 4. การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยรัฐบาลกำหนดแผนยุทธศาสตร์ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ หลัก ได้แก่ ย1. สร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ย2. การพัฒนา ชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง ย3. ยกระดับพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ย4. เสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก จากการประชุมวิชาการ หัวข้อ การใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยประเทศไทยมีต้นทุนทางด้าน ทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงมีการใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่มี อยู่ในพื้นที่ เน้นการตอบสนองความต้องการในพื้นที่เป็นอันดับแรก ใช้ประโยชน์จากความเข้มแข็งของ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม มาต่อยอดและยกระดับมูลค่าในห่วง โซ่การผลิตสินค้าและบริการให้มีมูลค่าสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น 1. การผลิตไม้ดอกไม้ประดับด้วยนวัตกรรม เกษตร พร้อมกับเป็นวิทยสถาน สร้างแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรม ตลาดไม้ดอกไม้ประดับ และผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร 2. ธนาคารเมล็ดพันธุ์ชุมชน มีศักยภาพในการอนุรักษ์เมล็ด พันธุ์พืช เก็บรักษา และขับเคลื่อน 3 มิติ คือ ส ารวจ อนุรักษ์ วิจัย เพื่อน าไปใช้ให้เกิดประโยชน์และ ให้บริการชุมชน 3. โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมและนวัตกรรมอาหารปลอดภัย 4. โครงการ พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีชีวภาพ พัฒนานวัตกรรมน้ำตาลที่ช่วยควบคุมระดับ น้ำตาลให้สมดุล 5. โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสกัดโปรตีนเข้มข้นจากพืชฐานชีวภาพ ส าหรับผลิตเป็น อาหารฟังก์ชั่นสู่เชิงพานิชย์ที่ไม่มีสารก่อภูมิแพ้ และเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์เทียม 6. โครงการพัฒนาสมุนไพรอัตลักษณ์ประจ าถิ่น โดยการทดสอบคุณภาพ ประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้ ชุมชนผลิตสารสกัดสมุนไพรส่งให้บริษัทเอกชนเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากทรัพยากรในประเทศ 7. โครงการวิจัยและพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าจากผลผลิตจากแพะ 8. โครงการพัฒนาไบโอเมธานอลจากวัสดุเหลือทิ้งเพื่อต่อยอดการสร้างโรงงานไบโอเมธานอลต้นแบบ จาก ผลการวิจัย บริษัทเอกชนได้น าผลงานไปขยายผลและต่อยอดสู่เชิงพานิชย์ทั้งในและต่างประเทศ 9. โครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะพลาสติกในชุมชนเพื่อบูรณาการอย่างยั่งยืน จากงานตาม นโยบายดังกล่าวเป็นผลงานที่สำเร็จเป็นรูปธรรมและนำไปใช้จริงทั้งในบริบทเชิงเศรษฐกิจและสังคม ขยายผลโครงการให้ครอบคลุมพื้นที่การใช้ประโยชน์ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล วิจัยพัฒนาผลงานใหม่ อย่างต่อเนื่อง เพื่อความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศไทย