ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการนวดเข่าร่วมการพอกด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่า (โรคข้อเข่าเสื่อม)

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : พยบ-67-27
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 มกราคม 2564 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการนวดเข่าร่วมการพอกด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่า (โรคข้อเข่าเสื่อม)
บทคัดย่อ :

บทนำและวัตถุประสงค์: โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผ้สู งอายุ มีชื่อเรียกตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยว่า “โรคลมจับโปง” มี 2 ชนิด คือ โรคลมจับโปงน??้ำ และโรคลมจับโปงแห้ง งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบอาการทางคลินิกก่อนและหลังการรักษาด้วยการนวดและการพอกยาสมุนไพร โดยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (เลขที่ 10/2563)

วิธีการศึกษา: ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2564 เป็นการศึกษาทดลองเชิงสุ่มและมีกลุ่มเปรียบเทียบ ในผู้เข้าร่วมวิจัยโรคลมจับโปงแห้งเข่า จำนวน 300 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 150 คน กลุ่มทดลองมีการนวดเข่าร่วมกับการพอกยาสมุนไพร ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบมีการนวดเข่าอย่างเดียว ให้การรักษาวันเว้นสองวัน จนครบ 5 ครั้ง ใน 2 สัปดาห์ ใช้แบบประเมิน WOMAC ในการประเมินผลการรักษาและมีการประเมินความปลอดภัยจากอาการไม่พึงประสงค์ วิเคราะห์ผลทางสถิติด้วย t-test และRepeated Measures ANOVA ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 60-69 ปี มีภาวะเข่าเสื่อมในระยะที่ 2-3 ผลการศึกษาพบว่าทั้งสองกลุ่ม มีอาการปวดและฝืดลดลง การใช้งานของข้อเข่าดีขึ้น โดยกลุ่มทดลองที่ได้รับการพอกยาสมุนไพรร่วมด้วย มีอาการทางคลินิกดีขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 โดยอาการด้านความปวดและด้านการใช้งานดีขึ้นต่างกันอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึง ครั้งที่ 5 ส่วนด้านความฝืดดีขึ้นต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่ครั้งที่ 4 และ 5 ทั้งสองกลุ่มไม่พบอาการข้างเคียงใด ๆ จากการนวดและพอกเข่า

อภิปรายผล: การนวดและกดจุดสัญญาณช่วยให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อคลายตัว ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อและลดการอักเสบเรื้อรังของข้อเข่า ในส่วนสมุนไพรที่ใช้พอกเข่า พบว่า ไพลมี

สรรพคุณลดอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิผล จากการซึมผ่านผิวหนังและดูดซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังชั้นในของร่างกายด้วยฤทธิ์ของสมุนไพรในการลดอาการปวดและอักเสบของเนื้อเยื่อ เมื่อได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 5 ครั้ง อาการทางคลินิกจึงดีขึ้นอย่างชัดเจน

ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ: การนวดรักษาโรคลมจับโปงแห้งเข่าร่วมกับการพอกเข่า เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดอาการต่าง ๆ และเป็นการส่งเสริมการรักษาแบบประคับประคองความเสื่อมของข้อเข่า ช่วยให้การดำเนินชีวิต

ประจำวันเป็นไปได้ตามปกติ

คำสำคัญ : ประสิทธิผล , ความปลอดภัย , การนวดเข่า , การพอกด้วยสมุนไพร , โรคลมจับโปงแห้งเข่า (โรคข้อ เข่าเสื่อม)
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Effectiveness and Safety of Knee Massage and Herbal Poultice for Patients with Lom Jab Pong Haeng Khao (Osteoarthritis of the Knee)
Abstract :

Introduction and Objective: Knee osteoarthritis (KOA) is one of the most common health problems in the elderly. It is referred to in Thai traditional medicine as “Lom Jab Pong Khao”, consisting of two types: Lom Jab Pong Nam Khao and Lom Jab Pong Haeng Khao. This randomized controlled trial aimed to explore the efficacy of knee massage and herbal poultice by comparing clinical symptoms and safety. The research was approved by the Human Research Review Board, Department of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public

Health (No. 10/2020).

Methods: The study was conducted from January to February 2021 in nine healthcare facilities across Thailand, involving 300 KOA volunteers divided equally into two groups: the intervention group and the control group. The intervention group received massage followed by herbal poultice, while the control group received only massage. Both groups received the treatments five times two days apart (five times in two weeks). The outcomes were evaluated using the Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis Index (WOMAC) and a safety

evaluation form. Data were statistically analyzed using t-test and repeated measures ANOVA.

Results: The majority of the volunteers were women, aged 60–69 years, with KOA stage 2 or 3. Both treatments were effective in reducing the pain and stiffness and improving knee function. In the intervention (massage and poultice) group, compared with the control (massage) group, significantly better improvements or relief were noted for clinical symptoms, knee pain relief and function (from the first to the fifth treatment), and knee stiffness (from the fourth to the fifth treatment) (p < 0.05). There were no adverse reactions or side effects in either group.

Discussion: The combination treatment of massage and herbal poultice can reduce all three clinical KOA symptoms. Massage helps relax tendons and muscles and improve blood circulation, resulting in reducing muscle pain, stiffness, and chronic inflammation of the knee joints. Additionally, the herbal poultice contains phlai (Zingibermontanum (J. Koenig) Link ex A. Dietr.) as the main ingredient that has been scientifically proved for effective pain relief. As the herbal poultice ingredients are absorbed through the skin, they can reduce pain and inflammation

of surrounding tissues of the knee. Various inner tissues also receive medicine from the herbal ingredients that penetrate the skin, thus reducing pain and inflammation when treated continuously for up to five times. Therefore, the treatment helps reduce such symptoms.

Conclusion and recommendation: The KOA treatment with massage and herbal poultice is an alternative way for relieving such symptoms such as pain and inflammation, and improving knee functional ability. It can also enhance palliative care for such an illness and improve the patient’s activities of daily living.

Keyword : effectiveness, safety, massage, herbal poultice, knee osteoarthritis
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงปริมาณ
ประเภทงานวิจัย : การพัฒนาทดลอง
สาขางานวิจัย : สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมด้านการวิจัย
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์สิริรัตน์ จันทรมะโน
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะพยาบาลศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
15 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2564
1/1/2564 ถึง 28/2/2564
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
30 เมษายน 2567
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 
ฉบับที่ : ปีที่ 22 ฉบับที่ 1
หน้า : 7-18
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023